แม่พระฉวีดำ
แม่พระฉวีดำ (อังกฤษ: Black Madonna) หรือพระนางพรหมจารีฉวีดำ (Black Virgin) เป็นประติมากรรมหรือจิตรกรรมของพระแม่มารีย์ที่มีพระฉวีเป็นสีคล้ำหรือดำ โดยเฉพาะที่ทำในยุโรปในยุคกลางหรือก่อนหน้านั้น ฉะนั้นในบริบทนี้ “แม่พระฉวีดำ” จึงมิได้หมายถึงรูปเคารพของพระแม่มารีย์ที่สร้างเป็นคนผิวดำอย่างจงใจในแอฟริกาที่เป็นที่นิยมกันในแอฟริกาเอง และภูมิภาคที่ผู้คนเป็นชนผิวดำอยู่หนาแน่นเช่นในสหรัฐอเมริกา
ประติมากรรมบางชิ้นเป็นสีดำเพราะวัสดุที่ใช้ในการสร้าง เช่น ตะโกหรือไม้สีดำชนิดอื่น แต่ก็มีการโต้แย้งกันว่าการเลือกวัสดุสีดำนั้นมีความสำคัญอย่างไรหรือไม่ บ้างก็ว่าเดิมงานเป็นสีอ่อนแต่ค่อยคร่ำลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่นอาจจะจากเขม่าเทียนที่ใช้ในการสักการะ คำอธิบายนี้เป็นคำอธิบายที่นิยมให้กับรูปเคารพของพระแม่มารีย์ที่เป็นสีดำที่ทำในยุคกลาง แต่ทฤษฎีดังกล่าวก็ได้รับการคัดค้านโดยผู้ที่เชื่อว่าเป็นสีดำมาแต่เดิม ที่ผู้สร้างแฝงความหมายอันไม่อาจจะอธิบายได้
“แม่พระฉวีดำ” มักจะเป็นรูปเคารพที่พบในโบสถ์โรมันคาทอลิก ประติมากรรมส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้และบางครั้งก็จะเป็นหินที่มักจะทาสีสูงไปจนถึงราว 75 เซนติเมตร โดยทั่วไปแล้วจะสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ประติมากรรมแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ: ประติมากรรมยืน และ ประติมากรรมนั่งบนบัลลังก์ ถ้าเป็นภาพก็จะเป็นลักษณะของศิลปะที่เป็นแบบไบแซนไทน์ที่มักจะสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในอิตาลี พระพักตร์จะเป็นแบบยุโรป
ในยุโรปมี “แม่พระฉวีดำ” อยู่ราว 450 ถึง 500 องค์ ในฝรั่งเศสมี “Vierges Noires” อยู่ราว 180 องค์ นอกจากนั้นก็ยังมีงานก็อปปีภายหลังยุคกลางอีกหลายร้อยองค์ งานบางชิ้นก็เป็นของพิพิธภัณฑ์ แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงตั้งอยู่ในคริสต์ศาสนสถานให้ประชาชนได้สักการะ รูปสัญลักษณ์บางรูปก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ที่ทำให้เป็นที่ดึงดูดของผู้แสวงบุญ[1]
ทฤษฎีเกี่ยวกับแม่พระฉวีดำ
[แก้]นักเทววิทยาและนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ของสีที่คร่ำอาจจะมีสาเหตุมาจากสีธรรมชาติของไม้ที่ใช้ในการสร้างงานหรือการเปลี่ยนแปลงของสีตามกาลเวลา และกล่าวเพิ่มเติมว่างานที่ทำด้วยอะลาบาสเทอร์สีอ่อนเป็นงานที่ทำขึ้นหลังยุคกลาง ผู้ที่ค้านกับทฤษฎีดังกล่าวชี้ให้เห็นเครื่องทรงที่เป็นสีสดใสบนรูปสัญลักษณ์บางรูปที่พระพักตร์และพระกรเป็นสีดำ
การศึกษาเกี่ยวกับพระแม่มารีดำมาฟื้นฟูกันอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิชาการด้านศาสนาเปรียบเทียบบางท่านโดยเฉพาะผู้มีพื้นฐานเป็นนัก Afrocentrism, นักสตรีนิยม และผู้นับถือลัทธิเพกันใหม่ ตั้งข้อเสนอว่าแม่พระฉวีดำเป็นการสร้างรูปเคารพที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะก่อนสมัยคริสเตียนที่เกี่ยวกับพระแม่ธรณีต่างๆ[2][3] (earth goddess) ที่มักจะเน้นเทพีไอสิสว่าเป็นต้นตอสำคัญ[4][5] นักจิตวิทยาบางท่านก็เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับแม่แบบ (archetype) ของความเป็นสตรีและความเป็นแม่ที่มาจากทฤษฎีของของนักจิตวิทยาคาร์ล ยุง และในบริบทของแสดงความมีอำนาจของสตรีที่แสดงออกมาในรูปแบบของการสร้างแม่พระฉวีดำ[6][7] แม้ว่าทฤษฎีต่างๆ ดังกล่าวจะมีพื้นฐานมาจากความสนใจทางด้านความรู้ทางสถาบัน แต่ก็มิได้เป็นทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปที่เกี่ยวกับแรงบันดาลใจของการสร้างงานดังกล่าวในยุคกลาง
ข้อเสนออีกข้อหนึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างแม่พระฉวีดำของยุคกลางของยุโรป และ ธรรมเนียม/ประเพณีเพกันโบราณและรูปสัญลักษณ์ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานของความเกี่ยวข้องกันโดยตรงทางประวัติศาสตร์หรืออิทธิพลทางศิลปะก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางเทววิทยาศาสนคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่สนับสนุนโดยตรง แต่ก็มีนักเขียนบางท่านที่เสนอว่าการสักการะแม่พระฉวีดำในยุคกลางเป็นการกระทำที่เป็นผลมาจากเนื้อความในใน “เพลงซาโลมอน 1:5” ในพันธสัญญาเดิมในบรรทัดที่ว่า “โอ บุตรสาวแห่งเยรูซาเล็มเอ๋ย ดิฉันผิวดำๆ แต่ว่าดำขำ ดังเต็นท์ของพวกเคดาร์ ดังวิสูตรของซาโลมอน”[8] เนื้อหาดังว่าได้รับการบรรยายอย่างยืดยาวในบทเทศนาของนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โว แต่ในกรณีนี้นักบุญแบร์นาร์มิได้กล่าวถึงพระแม่มารีแต่เป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก[9] งาน “แม่พระฉวีดำ” หลายชิ้นที่ยังคงมีอยู่มีคำจารึกดังกล่าว แม้ว่าบางครั้งจะมาเพิ่มเติมเอาภายหลังก็ตาม
นักเขียนผู้เสนอทฤษฎีของความลึกลับของความหมายมักจะรวมองค์ประกอบของสาเหตุข้างล่างบางข้อในบทสันนิษฐาน:
- บางทฤษฎีกล่าวว่าแม่พระฉวีดำเป็นศิลปะที่มีต้นตอมาจากการสร้างงานศิลปะเกี่ยวกับแม่พระปฐพีที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยคริสเตียน ผิวที่เป็นสีดำอาจจะเป็นเพราะสีดั้งเดิมของรูปสัญลักษณ์เหล่านี้ และ อาจจะเป็นนัยยะของสีของปฐพีอันอุดมสมบูรณ์ หรือบางที่ก็จะเกี่ยวข้องการค้นพบองค์พระแม่มารีในบริเวณที่เป็นธรรมชาติ เช่นบนต้นไม้ หรือ ข้างน้ำพุธรรมชาติ นอกจากนั้นก็ยังกล่าวกันว่าชาเปลคริสเตียนมักจะตั้งบนที่ที่เดิมเป็นเทวสถานของเทพีไซเบเลซึ่งเป็นเทพีฟริเจียนที่เทียบเท่ากับพระแม่ธรณี และ เทพีไดแอนาแห่งเอเฟซัส
- บางทฤษฎีกล่าวว่าพระแม่มารีดำมาจากเทพีของอียิปต์ไอซิส พระฉวีที่เป็นสีดำอาจจะมาจากแม่แบบของรูปสัญลักษณ์ของแม่แอฟริกา ศาสตราจารย์สตีเฟน เบงโคอ้างว่ารูปสัญลักษณ์ของคริสเตียนตอนต้นของแม่ที่นั่งกับบุตรได้รับอิทธิพลมาจากภาพของเทพีไอซิสและเทพฮอรัส และ ถึงกับกล่าวต่อไปว่ารอยบากบนพระปรางของ “แม่พระฉวีดำแห่งเชสโตโชวา” เป็นเครื่องหมาย “พระเนตรฮอรัส”
- บางทฤษฎีกล่าวว่าแม่พระฉวีดำเป็นภาพสีพระฉวีดั้งเดิมของพระแม่มารี ซึ่งเท่ากับเป็นการจัดพระองค์ในบริบททางประวัติศาสตร์ เพราะครอบครัวของพระเยซูคงจะมีที่มาจากชนที่เซไมท์จากตะวันออกกลางที่มีผิวสีคล้ำกว่าชาวยุโรป
- บางทฤษฎีกล่าวว่าแม่พระฉวีดำเป็นงานที่แสดงความมีอำนาจของสตรีที่ไม่อาจจะเทียบได้กับพระแม่มารีที่มีพระฉวีสีอ่อนซึ่งเป็นสีที่เป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนน้อม การเชื่อฟัง และ ความบริสุทธิ์ การใช้สัญลักษณ์ที่แสดง “อำนาจของสตรี” บางครั้งก็เชื่อมโยงกับความเป็นสตรีเชิงเพศ (Human female sexuality) ที่กล่าวกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกเก็บกดโดยศาสนจักรในยุคกลาง
- บางทฤษฎีกล่าวว่าพระแม่มารีดำมีความเกี่ยวข้องกับอัศวินเทมพลาร์ และนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โว เอียน เบกก์เสนอว่าแม่พระฉวีดำเป็นที่สักการะของลัทธินิยมลึกลับที่เกี่ยวข้องกับอัศวินเทมพลาร์และลัทธิคาธาร์ แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีดังกล่าว และกับทฤษฎีที่เชื่อมโยงกับมารีย์ชาวมักดาลา และ ลัทธิไญยนิยม (Gnosticism)
ระเบียงภาพ
[แก้]-
แม่พระแห่ง Argeme โกเรีย ประเทศสเปน
-
ก็อปปีของ “แม่พระฉวีดำอัลท์เทิททิง”
ของเยอรมัน
สหรัฐอเมริกา -
“แม่พระฉวีดำคัมโปรแวง”
สเปน -
“แม่พระฉวีดำมาเซย์”
ฝรั่งเศส -
“แม่พระฉวีดำมูแลงส์”
ฝรั่งเศส -
“แม่พระฉวีดำ”
ออสเตรีย -
“แม่พระฉวีดำมารีดำ”
เยอรมนี -
“แม่พระฉวีดำออสเซียค”
ออสเตรีย -
“แม่พระฉวีดำ”
เยอรมนี -
“แม่พระฉวีดำ”
รัสเซีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ramm, Benjamin (2017-09-01). "A Controversial Restoration That Wipes Away the Past". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-09-15.
- ↑ Moss, 2005
- ↑ Benko, 1993
- ↑ Redd, V. 6
- ↑ McKinney-Johnson, V. 6
- ↑ Gustafson, 1990
- ↑ Begg, 1985
- ↑ Holy Zone for Christ: เพลงซาโลมอน 1:5[ลิงก์เสีย]
- ↑ St. Bernard of Clairvaux, "Sermon 25 on the Song of Songs: Why the Bride is Black but Beautiful"[1]
บรรณานุกรม
[แก้]- Begg, Ean The Cult of the Black Virgin (1985)
- Benko, Stephen Virgin Goddess: Studies in the Pagan and Christian Roots of Mariology (1993)
- Chiavola Birnbaum, Lucia Black Madonnas: Feminism, Religion, and Politics in Italy (2000)
- Gustafson, Fred The Black Madonna (1990)
- Gustafson, Fred The black madonna of Einsiedeln : a psychological perspective (1975)
- Hale, Susan Elizabeth Sacred Space, Sacred Sound: The Acoustic Mysteries of Holy Places Quest Books (2007) ISBN 0835608565
- Knight, Jennie S Remythologizing the Divine Feminine in Religion and Popular Culture in America ed. Forbes and Mahan (University of California, 2005)
- LeMieux, Raymond W. The Black Madonnas of France (1991)
- McKinney-Johnson, Eloise Egypt's Isis: the Original Black Madonna in Black Women in Antiquity (Journal of African Civilizations ; V. 6) edited by Ivan van Sertima
- Moser, Mary Beth Honoring darkness: exploring the power of black madonnas in Italy (2005)
- Moss, Leonard In Quest of the Black Virgin: She Is Black Because She Is Black in Mother Worship:Themes and Variations (1982) edited by James Preston
- Redd, Danita Black madonnas of Europe: diffusion of the African Isis in Black Women in Antiquity (Journal of African Civilizations ; V. 6) edited by Ivan van Sertima
- Ralls, Karen Knights Templar Encyclopedia, Career Press (2007) ISBN 1564149269
- Scheer, Monique From Majesty to Mystery: Change in the Meanings of Black Madonnas from the: Sixteenth to Nineteenth Centuries. The American Historical Review 107.5 (2002)
- Schmid, Margrit Rosa Schwarz bin ich und schön ([SJW] Schweizerisches Jugendschriftenwerk 2002)
- Schmid, Margrit Rosa Die Wallfahrt zur schwarzen Madonna Documentary film, 30 minutes (Margrit R. Schmid Zurich 2003)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แม่พระฉวีดำ
- Index of Black Madonnas
- Black Virgin Sites in France
- Black Madonnas - Michael P. Duricy
- Black Madonnas and other Mysteries of Mary - Ella Rozett เก็บถาวร 2010-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Black Virgin - Karen Ralls เก็บถาวร 2013-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Montserrat
- Pilgrimage
- Travels in France with the Dark Madonna
- Jasna Góra Monastery
- Black Madonna gallery by Canon Jim Irvine, New Brunswick, Canada
- The Black Madonna "The work of God"
- Nuestra Señora de Atocha
- Black Madonna Pilgrimage to Central France
- Black Madonna photo collection on Flickr