ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3
ภาพหน้าปกแสดงตัวมาริโอ ตัวละครเอก บินอยู่โดยใช้หูและหางทะนุกิ ได้มาจากไอเทม "ซูเปอร์ใบไม้" ชิ้นใหม่
ผู้พัฒนาNintendo R&D4
ผู้จัดจำหน่ายนินเทนโด
กำกับชิเงรุ มิยาโมโตะ
ทาคาชิ เทซุกะ
อำนวยการผลิตชิเงรุ มิยาโมโตะ
แต่งเพลงโคจิ คอนโด
ชุดซูเปอร์มาริโอ
เครื่องเล่นNintendo Entertainment System, PlayChoice-10, Game Boy Advance, Virtual Console
วางจำหน่าย'NES/Famicom'Virtual Console
WiiNintendo 3DSWii U
แนวเกมแพลตฟอร์ม
รูปแบบเล่นคนเดียว, เล่นหลายคน

ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 (ญี่ปุ่น: スーパーマリオブラザーズ3 ; อังกฤษ: Super Mario Bros. 3) เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์มที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกมแฟมิคอม เป็นภาคต่อของเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 2 ของปี 1988 และเป็นเกมลำดับที่สามของเกมชุดซูเปอร์มาริโอ เกมออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 เกมนำเสนอมุมมองบุคคลที่สามแบบสองมิติที่ผู้เล่นสามารถควบคุมตัวละครเอกในจอ (มาริโอ หรือลุยจิ ตัวใดตัวหนึ่ง) เกมมีกลไกคล้ายกับเกมภาคก่อนหน้า ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์: เดอะลอสเลเวล และซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 2 แต่มีสิ่งของใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย นอกจากจะวิ่งและกระโดดได้อย่างแต่ก่อน ผู้เล่นสามารถบินและลอยได้ด้วยไอเทมช่วยเหลือต่าง ๆ สามารถลื่นลงทางลาดชัน และกระโดดท่าใหม่ ๆ ได้

เช่นเดียวกับเกมภาคก่อนหน้า การพัฒนาเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 ใช้เวลา 2 ปีและดูแลจัดการโดยหน่วยพัฒนาและวิเคราะห์ของนินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Nintendo Entertainment Analysis & Development) นำทีมโดยชิเงรุ มิยาโมโตะ ซึ่งเป็นผู้กำกับเกมร่วมกับทาคาชิ เทซุกะ มิยาโมโตะทำงานด้วยกันอย่างใกล้ชิดกับนักออกแบบและโปรแกรมเมอร์ในระหว่างขั้นสร้างมโนทัศน์จนถึงขั้นตอนสุดท้าย โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกันและกันอย่างอิสระ เนื้อเรื่องของเกมให้ความสำคัญที่ตัวละครมาริโอ และน้องชาย ลุยจิ ช่างประปาสองคนที่ออกเดินทางเพื่อช่วยเจ้าหญิงพีช และผู้ปกครองอาณาจักรทั้งเจ็ดจากตัวร้ายหลักของเกม บาวเซอร์ และเด็ก ๆ ของมัน คุปปะลิงส์

ก่อนออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือ มีการแสดงรูปแบบการเล่นเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 ปรากฏในภาพยนตร์ของยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เรื่อง เดอะวิซาร์ด ที่จุดเชื้อเพลิงทำให้แฟนเกมมีความคาดหวังกับเกม แม้ว่าเกมจะสามารถหาเล่นได้ในตู้เกม เพลย์ช้อยส์-10 อยู่แล้วในขณะนั้น เมื่อออกจำหน่าย เกมประสบความสำเร็จทันที กลายเป็นหนึ่งในเกมที่ขายดีที่สุดตลอดกาล เกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 ยังเป็นที่สรรเสริญของเหล่านักวิจารณ์และได้อยู่ในอันดับสูงสุดในการจัดอันดับ "เกมที่ดีที่สุดตลอดกาล" จากความนิยมของเกมทำให้เกิดรายการโทรทัศน์แอนิเมชันในช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกพ่วงเข้ากับเครื่องเล่นเกมต่อมาของนินเทนโดอีกหลาย ๆ เกม ที่โดดเด่นคือเป็นส่วนหนึ่งของเกมมาริโอออลสตาร์ ของเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม ที่เป็นเวอร์ชันใหม่และต่อมาได้มาอยู่ในเกมซูเปอร์มาริโอแอดวานซ์ 4:ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 ด้วย เกมถูกจำหน่ายซ้ำบนเครื่องเล่นคอนโซลเสมือนของวี ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 บนเครื่องเล่นนินเทนโด 3ดีเอส และวียู วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2014 และเป็นรางวัลที่ผู้เล่นจากชมรมนินเทนโดสามารถใช้เหรียญแลกได้สำหรับเครืองเล่นวีเวอร์ชวลคอนโซลในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2013

เนื้อหา[แก้]

เนื้อหาและระบบของเกมในภาคนี้ ยังคงคล้ายคลึงกับ ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ ภาคก่อนหน้า แต่ส่วนที่แตกต่างออกไปคือ ในภาคนี้ คุปปะ ไม่ได้เข้ารุกราน นครเห็ด แต่กลับเป็นนครอื่นๆ จำนวน 7 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งนับเป็น 1 สเตจ โดย 2 พี่น้อง มาริโอและลุยจิ จะต้องตะลุยผ่านสเตจทั้ง 7 แห่งไปให้ถึง นครแห่งความมืด สเตจสุดท้าย ซึ่งเป็นที่มั่นของคุปป้า และช่วย เจ้าหญิงพีช ที่ถูกคุปป้าลักพาตัวไประหว่างทางกลับมาให้ได้

ความแตกต่างกับภาคก่อนหน้า[แก้]

หากเทียบกับ ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 2 ซึ่งเป็นภาคก่อนหน้า ถือว่าลดระดับความยากลงมาพอสมควร แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถเคลียร์เกมได้อย่างง่ายๆ เพราะไอเท็มต่างๆ และตัวละครศัตรู ถูกเพิ่มเติมเข้ามาหลากหลายชนิด สเตจที่จำเป็นต้องตะลุยให้ผ่านก็มีจำนวนมากขึ้น กับดักต่างๆ ก็มีหลากหลายรูปแบบ ส่วนกราฟิกก็พัฒนาให้มีความสวยงามและน่ารักขึ้นมาก

นอกจากนี้ ตัวมาริโอ ยังเพิ่มความสามารถในด้านอื่นๆ ให้มากขึ้นได้ด้วยไอเท็มต่างๆ

มาริโอจะแปลงร่างเป็นมาริโอมีหางได้ด้วยซูเปอร์ใบไม้ โดยจะมีหูงอกออกมาจากหมวก และมีหางแร็คคูนงอกออกมาจากก้น ซึ่งหางนี้สามารถใช้ตวัดทำลายศัตรูและบล็อกอิฐได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อวิ่งจนเกจพลังเต็ม และกดกระโดดย้ำๆ ก็จะใช้หางบินขึ้นไปบนอากาศได้ในเวลาจำกัด
เมื่อสวมชุดทานุกิ มาริโอก็จะกลายเป็นทานุกิมาริโอ ความสามารถหลักๆ จะเหมือนกับมาริโอมีหาง แต่จะพิเศษกว่าตรงที่เมื่อกดปุ่ม ↓ พร้อมปุ่ม B ค้างไว้ จะสามารถแปลงกายเป็นพระพุทธรูปได้ โดยในขณะที่เป็นพระพุทธรูป ศัตรูจะทำอะไรมาริโอไม่ได้ และถ้ากระโดดเหยียบศัตรูในสภาพของพระพุทธรูป ก็จะสามารถทำลายศัตรูที่มาริโอในร่างปกติทำลายไม่ได้ด้วย
เมื่อสวมชุดกบ มาริโอก็จะกลายเป็นกบมาริโอ ซึ่งจะเคลื่อนไหวในน้ำได้อย่างอิสระ ไม่ต้องกดปุ่ม A ย้ำๆ เพื่อให้มาริโอตีขาว่ายน้ำเหมือนในร่างปกติ แต่ถ้าหากสวมชุดกบขณะอยู่บนพื้นดิน มาริโอจะเคลื่อนที่ได้ด้วยการกระโดดอย่างเดียว ไม่สามารถวิ่งได้ (จะวิ่งได้ก็ต่อเมื่อถือกระดองเต่าเอาไว้)
เมื่อสวมชุดแฮมเมอร์ (ชุดค้อน) มาริโอก็จะจะกลายเป็นแฮมเมอร์มาริโอ หรือ มาริโอขว้างค้อน โดยจะขว้างค้อนทำลายศัตรูได้ และเวลานั่งยองๆ หมวกที่สวมหัวและกระดองที่หลังก็จะกลายเป็นเกราะที่สามารถป้องกันลูกไฟจากดอกไม้พ่นไฟได้ แต่เวลาวิ่งลงเนินจะไม่ค่อยสะดวกนัก

สเตจ[แก้]

สเตจในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 จะมีทั้งหมด 9 สเตจ หรือ 9 เวิลด์ด้วยกัน

เป็นเวิลด์ที่เต็มไปด้วยทุ่งหญ้าและต้นไม้ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่จะมี ขลุ่ย ซ่อนอยู่ในฉากที่ 3 และในปราสาทย่อย
เป็นเวิลด์ที่มีแต่ทะเลทราย นอกจากนี้ยังมีพายุหมุน ทรายดูด และพีระมิดด้วย เป็นอีกเวิลด์หนึ่งที่มี ขลุ่ย ซ่อนอยู่
ฉากในเวิลด์นี้จะเป็นฉากในทะเลเสียส่วนใหญ่ แต่บางฉากก็มีพื้นดินลอยอยู่เหนือทะเลเช่นกัน
เป็นเวิลด์ที่ศัตรูและอิฐบล็อกต่างๆ จะมีขนาดใหญ่ยักษ์เกินธรรมดา
เป็นเวิลด์ที่มีฉากส่วนหนึ่งอยู่บนพื้นดิน และอีกส่วนหนึ่งอยู่บนเมฆ
เป็นเวิลด์ที่มีพื้นผิวส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง ทำให้เวลาเดินหรือวิ่ง จะลื่นได้ง่าย
เป็นเวิลด์ที่เต็มไปด้วยท่อ ทั้งในฉากแผนที่และฉากตะลุย ศัตรูที่อยู่ในท่ออย่างดอกไม้พ่นไฟและดอกไม้กินคน จึงมีมากไปด้วย
ที่มั่นของคุปป้า แต่ละฉากมีทั้งรถถังและเรือรบ มีความยากมากกว่าเวิลด์อื่นๆ
  • เวิลด์ 9 : วาร์ปโซน (ญี่ปุ่น: ワールド9:ワープゾーンโรมาจิWārudo 9 : Wāpu zōn ทับศัพท์จาก Warp Zone)
เป็นที่สำหรับใช้วาร์ปไปเวิลด์อื่นด้วย ขลุ่ย ในเวิลด์นี้จะไม่มีศัตรูปรากฏ

ศัตรู[แก้]

ศัตรูทั่วไป[แก้]

  • คุริโบ(Goomba)
  • คุริโบบิน(Flying Goomba)
  • มาเมะคุริโบ
  • คุริโบขว้างอิฐ
  • คุริโบใส่บูธ(Booth Goomba)
  • โนโกะโนโกะ (เต่า)(Koopa Troopa)
  • ปาตะปาตะ (เต่าบิน)(Flying Koopa)
  • เก็สโซ (ปลาหมึก)(Blooper)
  • เม็ต
  • เม็ตกลับหัว
  • ลิฟต์เม็ต
  • เม็ตบิน
  • จูเกม
  • ไบโบ
  • โทเงะโซ (เม่น)
  • โทเงะโซกลับหัว
  • ปุคุปุคุ (ปักเป้า)(Cheep Cheep)
  • ปุคุปุคุยักษ์(Huge Cheep Cheep)
  • ปุคุหนาม
  • คารอน (เต่ากระดูก)(Dry Bones)
  • แฮมเมอร์บรอส (เต่าขว้างค้อน)(Hammer Bros.)
  • บูมเมอร์แรงบรอส (เต่าขว้างบูมเมอแรง)(Boomerang Bros.)
  • ไฟเออร์บรอส (เต่าพ่นไฟ)(Fire Bros.)
  • ฮิมังบรอส (เต่ายักษ์ขว้างค้อน)(Sledge Bros

.)

  • งูไฟ(Fire Snack)
  • ด๊อสเซิน
  • เทเรซ่า
  • วันวัน
  • บับเบิ้ล
  • คุกกี้(Kookie)
  • เน็ตจี้
  • วอล์ค
  • ดอกไม้กินคน
  • ดอกไม้พ่นไฟ
  • ดอกไม้เป่าลูกเหล็ก
  • ดอกไม้จิ๋ว
  • ดอกไม้ดำ
  • กองทหารบอมบ์(Bob-omb)
  • กาบอง
  • คิลเลอร์
  • ยูเทิร์นคิลเลอร์
  • แมงกะพรุนเหน็บชา
  • พระอาทิตย์
  • บู(Boo)
  • กระสุนปืนใหญ่
  • เบิร์นเนอร์ (ปืนไฟ)

หัวหน้า[แก้]

ไอเท็ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Wii U Super Mario Bros. 3". Nintendo. สืบค้นเมื่อ June 28, 2014.
  2. "Super Mario Bros. 3". IGN. สืบค้นเมื่อ June 28, 2014.
  3. "Super Mario Bros. 3 International Releases". Giant Bomb. สืบค้นเมื่อ June 28, 2014.
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GS-Wii
  5. 5.0 5.1 5.2 "Super Mario Bros. 3". Nintendo. สืบค้นเมื่อ June 28, 2014.
  6. 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wiiu3ds