แบเรียมซัลเฟต
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แบเรียมซัลเฟต | |
เลขทะเบียน CAS [7727-43-7] |
ATC Code V08BA01 |
สูตรโมเลกุล | BaSO4 |
มวลโมเลกุล | 233.43 |
ความถ่วงจำเพาะ | 4.5 |
ชีวปริมาณออกฤทธิ์ | negligible orally |
จุดหลอมเหลว | 1580?C |
ความหนาแน่น และ เฟส | 4.5 g/cm3 |
การละลาย ใน น้ำ | 0.00115 g/L (18?C) |
RTECS number | CR0600000 |
แบเรียมซัลเฟต (อังกฤษ: Barium sulfate หรือ barium sulphate) เป็นสารประกอบไอออนิกใช้ในทางการแพทย์ เป็นสารทึบแสงหรือเรดิโอคอนทราสต์ (radiocontrast) สำหรับแสงเอกซ์ (X-ray) เพื่อการถ่ายภาพทางการแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคในช่องท้องและทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract) ซึ่งจะรู้จักกันในชื่อที่คุ้นเคยว่าอาหารแบเรียม (Barium meal) และนำเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยโดยการรับประทานหรือสวนทางทวารหนัก (enema) แบเรียมซัลเฟตจะอยู่ในรูปซัสเพนชัน (suspension) ของผงละเอียดที่กระจายตัวในสารละลายน้ำ ถึงแม้ว่าแบเรียมจะเป็นโลหะหนักที่สารประกอบของมันเมื่อละลายน้ำถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเป็นพิษสูง แต่เนื่องจากแบเรียมซัลเฟตละลายน้ำได้น้อยมากคนไข้จึงไม่ได้รับอันตรายจากพิษของมัน
ประโยชน์
[แก้]นอกจากประโยชน์ทางการแพทย์แล้วแบเรียมซัลเฟตยังมีประโยชน์ทางอื่นอีกดังนี้
- ส่วนผสมของแบเรียมซัลเฟตใช้เป็นพื้นสีขาวสำหรับการผลิตสี โดยถ้าผสมกับซิงค์ออกไซด์ (ZnO) จะถูกเรียกว่าลิโทโพน (lithopone) และผสมกับโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) เรียกว่าบลังฟิกซ์ (blanc fixe)
- ใช้เป็นตัวฟิลเลอร์ (filler) ในการทำพลาสติก
- เป็นส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้ของเหลวที่ใช้ขุดเจาะน้ำมันในบ่อน้ำมัน (oil well)
- เป็นตัวออกซิไดเซอร์สำหรับสูตรทำดอกไม้ไฟโดยตัวของมันเองจะให้แสงสีเขียว
แบเรียมซัลเฟตที่พบในธรรมชาติจะอยู่ในรูปของแร่แบเรียมชื่อแบไรต์ (barite)