แบไรต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบไรต์
Baryte crystals on dolomite
การจำแนก
ประเภทแร่ซัลเฟต
สูตรเคมีBaSO4
คุณสมบัติ
สีไม่มีสี, ขาว, ฟ้า, เหลือง, เทา, น้ำตาล
โครงสร้างผลึกออร์โธรอมบิก (2/m 2/m 2/m)
ความยืดหยุ่นเปราะ
ค่าความแข็ง3-3.5
ความวาววาวแบบแก้ว - ไข่มุก
ดรรชนีหักเหnα = 1.634–1.637
nβ = 1.636–1.638
nγ = 1.646–1.648
ค่าแสงหักเหสองแนว0.012
สีผงละเอียดสีขาว
ความถ่วงจำเพาะ4.3–5
ความหนาแน่น4.48 g/cm3[1]
สภาพละลายได้ต่ำ
ความโปร่งโปร่งใส - ทึบแสง
อ้างอิง: [2][3][4][5]

แบไรต์ (อังกฤษ: Barite) เป็นชื่อแร่ที่มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “หนัก” เนื่องจากเป็นแร่ที่มีความถ่วงจำเพาะสูง

รูปผลึกระบบออร์โทรอมบิก ผลึกมักเป็นแผ่นหนา ยาวขนานไปกับฐานของผลึกหรือรูปแท่งเหลี่ยมๆ หรือพบเป็นผลึกเกิดร่วมเป็นกลุ่มเหมือนดอกกุหลาบเรียก “Crested Barite” หรือ “Barite Roses” อาจพบเป็นแผ่นบางซ้อนกันค่อนข้างหนา หรือเป็นมวลเมล็ด หรือแบเนื้อด้านเหมือนดิน มีแนวแตกรียบเด่นสมบูรณ์แข็ง 3-3.5 ถ.พ. 4.5 (จัดเป็นแร่อโลหะที่หนักผิดปกติแร่หนึ่ง) วาวคล้ายแก้วหรือวาวคล้ายมุก อาจไม่มีสี สีขาว หรือมีสีออกน้ำเงิน เหลือง แดงอ่อนๆเนื้อแร่โปรงใสไปจนกระทั่งโปร่งแสง

มีสูตรเคมีคือ BaSo4 มี BaO 65.7% SO3 34.3% อาจมีธาตุสตรอนเชียมหรือตะกั่วเข้าแทนที่แบเรียมได้ ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ สังเกตเป็นแร่ที่หนักตึงมือรู้สึกได้ทันที ดูรูปลักษณะผลึกเป็นรูปแผ่นหนาและมีแนวแตกเรียบเด่นชัด มีดขีดเข้า

การเกิด[แก้]

มักจะพบเกิดเป็นกากแร่ในสายแร่โลหะ โดยเฉพาะมักเกิดร่วมกับเงิน ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง โคบอลต์ แมงกานิส และแอนทิโมนี บางครั้งอาจพบเกิดเป็นสายแร่ตัดผ่านหินปูนมีแคลไซต์ปะปน หรือพบเกิดเป็นก้อนแร่ตกค้าง (Residual messes) ในดินเหนียวที่ซ้อนอยู่บนหินปูน หรือเป็นวัตถุประสานในหินทราย

แหล่งที่พบ[แก้]

ประเทศไทยพบที่ จ.ชลบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ ลำปาง พิจิตร เพชรบูรณ์ เลยและอุดรธาณีต่างประเทศ เช่น พบแบบผลึกในประเทศ อังกฤษ โรมาเนีย โบฮีเมีย สหรัฐอเมริกา แบบเป็นมวลสารเนื้อแน่นและเกิดเป็นสายแร่ตัดดผ่านในหินปูนพบในสหรัฐอเมริกา เช่น ที่รัฐจอร์เจีย เทนเนสซี มิสซูรี

ประโยชน์[แก้]

มากกว่า 80% นำมาทำโคลนผง (Drilling mud) ซึ่งใช้ในการเจาะสำรวจน้ำมันหรือน้ำบาดาลใช้ในอุตสาหกรรมทำเม่สีและเนื้อสี อุตสาหกรรมทำแก้ว ทำยาง ผ้าน้ำมัน กระดาษน้ำมัน พรมน้ำมัน และพลาสติก ใช้บดทำยาสำหรับรับประทานก่อนที่จะทำการฉายเอกซเรย์เกี่ยวกับการตรวจกระเพาะ ลำไส้ ใช้ทำ filler ในอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ทำแป้งผัดหน้า

อ้างอิง[แก้]

  • หนังสือแร่ กรมทรัพยากรธรณี พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2543 หน้า 137
  1. Hanor, J. (2000). "Barite-celestine geochemistry and environments of formation". Reviews in Mineralogy. Washington, DC: Mineralogical Society of America. 40: 193–275. ISBN 0-939950-52-9.
  2. Dana, James Dwight; Ford, William Ebenezer (1915). Dana's Manual of Mineralogy for the Student of Elementary Mineralogy, the Mining Engineer, the Geologist, the Prospector, the Collector, Etc (13 ed.). John Wiley & Sons, Inc. pp. 299–300.
  3. Barite at Mindat
  4. Webmineral data for barite
  5. Baryte, Handbook of Mineralogy

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]