แบเรียมเพอร์ออกไซด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบเรียมเพอร์ออกไซด์
ชื่อ
IUPAC name
barium peroxide
ชื่ออื่น
Barium binoxide,
Barium dioxide
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.013.754 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 215-128-4
RTECS number
  • CR0175000
UNII
UN number 1449
  • InChI=1S/Ba.O2/c;1-2/q+2;-2 checkY
    Key: ZJRXSAYFZMGQFP-UHFFFAOYSA-N checkY
  • InChI=1/Ba.O2/c;1-2/q+2;-2
    Key: ZJRXSAYFZMGQFP-UHFFFAOYAZ
  • [Ba+2].[O-][O-]
คุณสมบัติ
BaO2
มวลโมเลกุล 169.33 g/mol (anhydrous)
313.45 (octahydrate)
ลักษณะทางกายภาพ ผลึกสีเทาขาว (anhydrous)
ของแข็งไม่มีสี (octahydrate)
กลิ่น ไม่มีกลิ่น
ความหนาแน่น 5.68 g/cm3 (anhydrous) 2.292 g/cm3 (octahydrate)
จุดหลอมเหลว 450 องศาเซลเซียส (842 องศาฟาเรนไฮต์; 723 เคลวิน)
จุดเดือด 800 องศาเซลเซียส (1,470 องศาฟาเรนไฮต์; 1,070 เคลวิน) (สลายตัวเป็น BaO & O2.[1])
anhydrous
0.091 g/100 mL (20 °C)
octahydrate
0.168 g/cm3
ความสามารถละลายได้ ละลายด้วยการสลายตัวในกรด
-40.6·10−6 cm3/mol
โครงสร้าง
เหลี่ยม[2]
D174h, I4/mmm, tI6
6
ความอันตราย
GHS labelling:
GHS03: OxidizingThe exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
เตือน
H272, H302, H332
P210, P220, P221, P261, P264, P270, P271, P280, P301+P312, P304+P312, P304+P340, P312, P330, P370+P378, P501
NFPA 704 (fire diamond)
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

แบเรียมเพอร์ออกไซด์ (อังกฤษ: Barium peroxide) มีสูตรทางเคมีว่า BaO2 เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (ประกอบด้วยไอออน O2-2) พื้นฐานชนิดหนึ่ง มีสภาพเป็นของแข็งลักษณะผง สีขาวเหลือง ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติเป็นตัวออกซิไดซ์ มักนำมาใช้ในกระบวนการฟอกสี ใช้เป็นส่วนผสมของดอกไม้ไฟ ซึ่งให้สีเขียวสดใสเช่นเดียวกับสารประกอบแบเรียมทั้งหลาย[3] ในภาคอุตสาหกรรม สารชนิดนี้ใช้ในกระบวนการผลิตสารโครเมียม และใช้เป็นส่วนประกอบของขั้วแคโทดในหลอดฟลูออเรสเซนต์[4]

แบเรียมเพอร์ออกไซด์ในสถานะของแข็งจะมีโครงสร้างเหมือนกับแคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2) กล่าวคือมีลักษณะเป็นผลึกทรงเตตระโกนอล (Tetragonal)

แบเรียมเพอร์ออกไซด์เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ชนิดแรกที่ถูกค้นพบ โดยนักธรรมชาติวิทยาและนักสำรวจชาวเยอรมันนามว่า อเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลด์ (Alexander von Humboldt) เมื่อ ค.ศ. 1799[5]

การสังเคราะห์[แก้]

โครงสร้างรูปผลึก
__ Ba2+    __ O-

เราสามารถสังเคราะห์แบเรียมเพอร์ออกไซด์ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างแบเรียมออกไซด์และออกซิเจน ในทางกลับกัน เมื่อเพิ่มความดันและเพิ่มความร้อนให้กับแบเรียมเพอร์ออกไซด์ จนมีอุณหภูมิสูงประมาณ 700 °C สารดังกล่าวจะสลายตัวได้ผลิตภัณฑ์เป็นแบเรียมออกไซด์และออกซิเจน ซึ่งปฏิกิริยานี้เรียกว่า "กระบวนการบริน" (Brin process) เป็นการแยกเอาออกซิเจนออกจากบรรยากาศ แต่ไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน กระบวนการดังกล่าวมีสมการดังนี้

ซึ่งสามารถนำแบเรียมเพอร์ออกไซด์ไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเจือจางที่เย็นจัด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ได้[6] ดังสมการ

อันตราย[แก้]

ต่อสุขภาพ[แก้]

แบเรียมเพอร์ออกไซด์สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงต่อผู้สัมผัสได้ การหายใจเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ เจ็บคอ ไอ หายใจติดขัด ปวดศีรษะ มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก อักเสบ กล่องเสียง หลอดลม ปอดบวม และอาจมีน้ำท่วมปอด เมื่อสัมผัสผิวหนัง จะเกิดการระคายเคือง มีผื่นแดง รู้สึกปวดแสบปวดร้อน เมื่อรับประทานเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือก ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายไหล เวียนศีรษะ ปวดเสียดท้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ในกรณีป่วยหนัก จะเกิดภาวะการขับน้ำลายออกมามาก กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง แขนและขาอาจเป็นอัมพาตได้ ชีพจรเต้นช้าหรือเร็วเกินไป มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และไต โดยรวมแล้ว อวัยวะที่จะได้รับผลกระทบได้แก่ หัวใจ ระบบประสาท ไต ระบบทางเดินอาหาร ไขกระดูก ม้าม ตับ[4]

การปฐมพยาบาล

หากได้รับสารโดยการหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ หากรับประทานเข้าไป ถ้าผู้ป่วยยังมีสติอยู่ให้บ้วนปากด้วยน้ำ จากนั้นจึงนำส่งไปพบแพทย์ หากสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก ทำความสะอาดเสื้อผ้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ และทิ้งรองเท้าที่เปรอะเปื้อน และหากสัมผัสถูกดวงตาให้ล้างด้วยน้ำเช่นเดียวกับกรณีสัมผัสถูกผิวหนัง แต่ต้องนำส่งไปพบแพทย์[4]

ต่อสิ่งแวดล้อม[แก้]

แบเรียมเพอร์ออกไซด์เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ เช่น ในแหล่งน้ำต่าง ๆ จะเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งพืชและสัตว์

อ้างอิง[แก้]

  1. Accommodation of Excess Oxygen in Group II Monoxides - S.C. Middleburgh, R.W. Grimes and K.P.D. Lagerlof Journal of the American Ceramic Society 2013, Volume 96, pages 308–311. doi:10.1111/j.1551-2916.2012.05452.x
  2. Massalimov, I. A.; Kireeva, M. S.; Sangalov, Yu. A. (2002). "Structure and Properties of Mechanically Activated Barium Peroxide". Inorganic Materials. 38 (4): 363–366. doi:10.1023/A:1015105922260.
  3. "Data Sheet". Data Sheet. Hummel Croton Inc. สืบค้นเมื่อ 2007-02-01.
  4. 4.0 4.1 4.2 ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ เก็บถาวร 2007-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กรมควบคุมมลพิษ
  5. Winnacker Küchler, Chemische Technololgie เล่ม 1, 3. ปีที่พิมพ์ 1970, หน้า 514
  6. บุญยิ่ง จันทร์เปี่ยม, เคมีประยุกต์ในงานสิ่งทอ, วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม