เอสรา 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสรา 2
หนังสือหนังสือเอสรา
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์15

เอสรา 2 (อังกฤษ: Ezra 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือเอสราของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1]หรือของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์ในคัมภีร์ฮีบรูซึ่งถือว่าหนังสือเอสราและหนังสือเนหะมีย์เป็นหนังสือเล่มเดียวกัน[2] ธรรมเนียมของศาสนายูดาห์ระบุว่าเอสราเป็นผู้เขียนของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์รวมถึงหนังสือพงศาวดาร[3] แต่นักวิชาการสมัยโดยทั่วไปเชื่อว่าผู้เรียบเรียงจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (ที่เรียกว่า "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร") เป็นผู้เขียนสุดท้ายของหนังสือเหล่านี้[4] ตอนที่ประกอบด้วยบทที่ 1 ถึง 6 เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก่อนการมาถึงของเอสราในผ่นดินยูดาห์[5][6] เมื่อ 468 ปีก่อนคริสตกาล[7] บทที่ 2 ของหนังสือเอสราประกอบด้วยรายนามที่เรียกว่า "รายนามโกลาห์" (Golah List)[8] ของผู้คนที่กลับจากบาบิโลนมายังยูดาห์ตามพระราชกฤษฎีกาของไซรัส "ตามลำดับพงศ์พันธ์ ครอบครัว และที่อยู่"[5]

ต้นฉบับ[แก้]

หน้าของต้นฉบับภาษาละตินของ 2 พงศาวดาร (ส่วนจบ) และเอสรา 1:1–4:3 ในฉบับกีกัส (Codex Gigas) สำเนาต้นฉบับในยุคกลางที่หลงเหลืออยู่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (จากศตวรรษที่ 13)

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 70 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[9] หนังสือเอสรา-เนหะมีย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[10]

ยังมีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[11][a]

หนังสือกรีกโบราณที่เรียกว่า 1 เอสดราส (Greek: Ἔσδρας Αʹ) ประกอบด้วยเนื้อหาบางส่วนของ 2 พงศาวดาร, เอสรา และเนหะมีย์ รวมอยู่ในฉบับส่วนใหญ่ของเซปทัวจินต์ และอยู่ในลำดับก่อนหนังสือเดี่ยวของเอสรา–เนหะมีย์ (ซึ่งมีชื่อในภาษากรีกว่า Ἔσδρας Βʹ) 1 เอสดราส 5:7–46 เทียบเท่ากับเอสรา 2 (รายนามเชลยที่กลับ)[15][16]

ชุมนุมชน (2:1–63)[แก้]

ทั้งหมด (2:64–67)[แก้]

ของถวายแก่พระวิหาร (2:68–69)[แก้]

การตั้งรกรากใหม่ (2:70)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่มีเพียงเนื้อหาในเอสรา 9:9–10:44[12][13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. Halley 1965, p. 232.
  2. Grabbe 2003, p. 313.
  3. Babylonian Talmud Baba Bathra 15a, apud Fensham 1982, p. 2
  4. Fensham 1982, pp. 2–4.
  5. 5.0 5.1 Grabbe 2003, p. 314.
  6. Fensham 1982, p. 4.
  7. Davies, G. I., Introduction to the Pentateuch in Barton, J. and Muddiman, J. (2001), The Oxford Bible Commentary เก็บถาวร 2017-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 19
  8. Smith-Christopher 2007, p. 311.
  9. Würthwein 1995, pp. 36–37.
  10. P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
  11. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  12. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
  13. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
  14. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
  15. Catholic Encyclopedia: Esdras: THE BOOKS OF ESDRAS: III Esdras
  16. Jewish Encyclopedia: Esdras, Books of: I Esdras

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]