เหตุโจมตีด้วยขีปนาวุธในประเทศปากีสถาน พ.ศ. 2567

พิกัด: 27°10′N 64°16′E / 27.167°N 64.267°E / 27.167; 64.267
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุโจมตีด้วยขีปนาวุธในประเทศปากีสถาน ค.ศ. 2024
ส่วนหนึ่งของ การก่อความไม่สงบในซีสถานและบาโลชิสถานและการปะทะกันที่ชายแดนปากีสถาน–อิหร่าน
โคเอซับซ์ตั้งอยู่ในแคว้นบาโลชิสถาน ประเทศปากีสถาน
โคเอซับซ์
โคเอซับซ์
โคเอซับซ์ตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
โคเอซับซ์
โคเอซับซ์
ชนิดการโจมตีด้วยขีปนาวุธและโดรน
ตำแหน่งโคเอซับซ์ เขตพันจ์กูร์ แคว้นบาโลชิสถาน ปากีสถาน
27°10′N 64°16′E / 27.167°N 64.267°E / 27.167; 64.267
โดย อิหร่าน
เป้าหมาย ญัยชุลอัดล์
วันที่16 มกราคม 2024
ผู้ลงมือ กองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม
ผู้สูญเสีย2 คน ถูกสังหาร
3–4 คน ได้รับบาดเจ็บ

เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2024 อิหร่านได้โจมตีด้วยขีปนาวุธและโดรนหลายครั้งภายในแคว้นบาโลชิสถานของปากีสถาน โดยอ้างว่าได้กำหนดเป้าหมายไปที่กลุ่มญัยชุลอัดล์ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธในอิหร่าน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่อิหร่านเปิดฉากโจมตีทางอากาศและโดรนหลายครั้งที่คล้ายกันในอิรักและซีเรีย โดยอ้างว่าได้กำหนดเป้าหมายไปที่สำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคของหน่วยข่าวกรองอิสราเอลและฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายหลายแห่งเพื่อตอบโต้เหตุระเบิดในเคร์มอนเมื่อวันที่ 3 มกราคม ซึ่งกลุ่มรัฐอิสลามอ้างความรับผิดชอบ รัฐบาลปากีสถานประณามการโจมตีดังกล่าวและระบุว่าอิหร่านได้สังหารเด็ก 2 คนและละเมิดน่านฟ้าปากีสถานโดยปราศจากการยั่วยุ

เมื่อวันที่ 18 มกราคม ปากีสถานดำเนินการโจมตีทางอากาศตอบโต้ในจังหวัดซีสถานและบาโลชิสถานของอิหร่าน โดยอ้างว่าได้โจมตีที่ซ่อนของกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนบาโลจซึ่งเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งกับปากีสถาน รัฐบาลอิหร่านระบุว่าพลเมืองต่างชาติ 7 คน รวมถึงผู้หญิง 3 คนและเด็ก 4 คน ถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศครั้งนี้

ภูมิหลัง[แก้]

การก่อความไม่สงบในซีสถานและบาโลชิสถาน[แก้]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา จังหวัดซีสถานและบาโลชิสถานทางตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่านได้พัวพันกับความขัดแย้งกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนบาโลจกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงกลุ่มญัยชุลอัดล์ด้วย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2023 การโจมตีของกลุ่มญัยชุลอัดล์ในเมืองรอสก์ของอิหร่านทำให้ตำรวจเสียชีวิต 11 นาย ตามรายงานของสื่ออิหร่าน และการโจมตีของกลุ่มนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 2019 โดยคร่าชีวิตสมาชิกกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามไป 27 นาย

การโจมตีโดยขีปนาวุธในอิรักและซีเรีย[แก้]

การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธในอิรักและซีเรีย โดยอ้างว่ามุ่งเป้าไปที่กลุ่มก่อการร้ายเพื่อตอบโต้เหตุระเบิดในเคร์มอนใน ค.ศ. 2024[1] เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเดียวกับที่อันวาร์ อุล ฮัก กาการ์ นายกรัฐมนตรีรักษาการของปากีสถาน และโฮเซย์น แอมีร์แอบโดลลอฮียอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน กำลังพบกันระหว่างการประชุมเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาโฟส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และในขณะที่กองทัพเรืออิหร่านและปากีสถานจัดการฝึกซ้อมร่วมกันในอ่าวเปอร์เซีย

การโจมตี[แก้]

สื่อโทรทัศน์แห่งรัฐอิหร่านกล่าวว่ากองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม[2] ได้ใช้ขีปนาวุธที่แม่นยำและการโจมตีด้วยโดรนเพื่อทำลายฐานที่มั่น 2 แห่งของกลุ่มญัยชุลอัดล์ในแคว้นบาโลชิสถานทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน การโจมตีมุ่งเป้าไปที่บ้านในหมู่บ้านโคเอซับซ์ในเขตพันจ์กูร์[3] จากชายแดนปากีสถาน–อิหร่าน ทางการปากีสถานกล่าวว่ามีเด็ก 2 คนเสียชีวิตจากการโจมตี และอีก 4 คนได้รับบาดเจ็บ[4] นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่ามีโดรนประมาณ 3 ถึง 4 ลำถูกปล่อยในพื้นที่ดังกล่าว โจมตีมัสยิด บ้าน และอาคารอื่น ๆ[2]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

วันรุ่งขึ้นหลังจากการโจมตี พันเอก โฮเซย์น แอลี จอแวดอนแฟร์ ของกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม ถูกมือปืนนิรนามลอบสังหารในจังหวัดซีสถานและบาโลชิสถาน[5][6] กลุ่มญัยชุลอัดล์ออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีดังกล่าวตามรายงานจากสื่ออิหร่าน[7]

การโจมตีของปากีสถานในอิหร่าน[แก้]

เมื่อวันที่ 18 มกราคม ปากีสถานได้โจมตีทางทหารในอิหร่าน โดยอ้างว่ามุ่งเป้าไปที่กลุ่มติดอาวุธบาโลจ สถานที่แห่งหนึ่งในเมืองแซรอวอนถูกโจมตี เจ้าหน้าที่อิหร่านอ้างว่ามีชาวต่างชาติเสียชีวิต 9 ราย รวมถึงผู้หญิง 3 คนและเด็ก 4 คน[8] กระทรวงการต่างประเทศปากีสถานเรียกปฏิบัติการทางทหารครั้งนี้ว่าปฏิบัติการมาร์กบาร์ซาร์มาชาร์[9][10]

กลุ่มญัยชุลอัดล์อ้างว่าโดรนและจรวด 6 ลูกโจมตีที่อยู่อาศัย ส่งผลให้มีเด็กเสียชีวิต 2 คน และผู้หญิงบาดเจ็บ 3 คน รวมถึงวัยรุ่น 1 คน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Malekian, Somayeh; Shalvey, Kevin (16 January 2024). "US condemns Iran for missile strikes in Iraq and Syria". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ahmed, Munir; Gambrell, Jon (17 January 2024). "Pakistan condemns Iran over bombing allegedly targeting militants that killed 2 people". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  3. Shahid, Saleem (17 January 2024). "Iran 'attacks militant bases in Panjgur'". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  4. Hallam, Jonny; Khan, Asim; Regan, Helen (17 January 2024). "Pakistan condemns deadly Iranian missile strike on its territory as an 'unprovoked violation'". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  5. Hallam, Jonny; Kham, Asim; Regan, Helen (17 January 2024). "Pakistan condemns deadly Iranian missile strike on its territory as tensions spike across region". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024.
  6. "IRGC colonel martyred in assassination move in SE Iran". Mehr. 17 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  7. "جیش الظلم مسئولیت ترور شهید جاودان‌فر را برعهده گرفت" [Jaish al-Zalum took responsibility for the assassination of Shaheed Javadanfar] (ภาษาPersian). ISNA. 17 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  8. Siddiqui, Usaid (18 January 2024). "Pakistan-Iran attacks live: At least 9 killed near Iran's southeast border". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
  9. Farmer, Ben (18 January 2024). "Pakistan carries out strikes on militant groups inside Iran". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
  10. "Operation Marg Bar Sarmachar". mofa.gov.pk. Ministry of Foreign Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.