ปฏิบัติการมาร์กบาร์ซาร์มาชาร์

พิกัด: 27°22′15″N 62°19′57″E / 27.37083°N 62.33250°E / 27.37083; 62.33250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการมาร์กบาร์ซาร์มาชาร์
ส่วนหนึ่งของ การปะทะกันที่ชายแดนปากีสถาน–อิหร่าน
และการก่อความไม่สงบในบาโลชิสถาน
แซรอวอนตั้งอยู่ในประเทศอิหร่าน
แซรอวอน
แซรอวอน
ชนิดการโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยขีปนาวุธ
ตำแหน่งแซรอวอน จังหวัดซีสถานและบาโลชิสถาน อิหร่าน
27°22′15″N 62°19′57″E / 27.37083°N 62.33250°E / 27.37083; 62.33250
โดย ปากีสถาน
เป้าหมาย กองทัพปลดปล่อยบาโลชิสถาน
และแนวร่วมปลดปล่อยบาโลจ
วันที่18 มกราคม 2024
4:05 นาฬิกา[1] (UTC+03:30)
ผู้ลงมือ กองทัพปากีสถาน
ผู้สูญเสียเสียชีวิต 9 คน[2]
บาดเจ็บหลายคน

เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2024 ปากีสถานได้โจมตีทางอากาศและปืนใหญ่หลายครั้งในจังหวัดซีสถานและบาโลชิสถานของอิหร่าน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนบาโลจ ซึ่งมีชื่อว่า ปฏิบัติการมาร์กบาร์ซาร์มาชาร์ (อูรดู: آپریشن مرگ بر سرمچار, แปลตรงตัว'ความตายสู่ผู้ก่อความไม่สงบ') การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้การโจมตีด้วยขีปนาวุธของอิหร่านในแคว้นบาโลชิสถานของปากีสถานเมื่อสองวันก่อนหน้านั้น[3][2]

อิหร่านกล่าวว่ามีชาวต่างชาติ 9 คนถูกสังหารในการโจมตีครั้งนี้ กองทัพปลดปล่อยบาโลชิสถานยืนยันว่าสมาชิกในกองทัพเป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิต[4][5]

การโจมตีครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ทราบกันว่าเป็นการโจมตีอิหร่านนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามอิรัก-อิหร่านใน ค.ศ. 1988

ภูมิหลัง[แก้]

ตามข้อมูลของปากีสถาน การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้การโจมตีด้วยขีปนาวุธที่ดำเนินการโดยกองพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน ในพื้นที่ชายแดนแคว้นบาโลชิสถานของปากีสถาน การโจมตีของอิหร่านที่ถูกกล่าวหาว่ามุ่งเป้าไปที่กลุ่มติดอาวุธ ญัยชุลอัดล์ เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2024 ส่งผลให้มีเด็กเสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บ 4 ราย ตามรายงานของปากีสถาน[6]

การโจมตี[แก้]

เมื่อเวลา 4:05 นาฬิกาตามเวลาในประเทศอิหร่าน (UTC+03:30), กองทัพอากาศและกองทัพบกของปากีสถานได้เปิดการโจมตีโดยใช้โดรน เครื่องยิงจรวดหลายลำ อาวุธยุทโธปกรณ์ ณ สถานที่ 7 แห่งของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนบาโลจในเมืองแซรอวอน ในจังหวัดซีสถานและบาโลชิสถานของอิหร่าน[7][8]อิหร่านกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิต 9 รายระหว่างการโจมตี รวมถึงเด็ก 4 คน ผู้หญิง 3 คน และชาย 2 คนที่ไม่ใช่ชาวอิหร่าน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Seven killed in Pakistan attack on southeastern Iran". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
  2. 2.0 2.1 "Pakistan launches retaliatory airstrikes in Iran after an earlier attack by Tehran, killing 9 people". Associated Press. 18 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024. The Baluch Liberation Army, an ethnic separatist group that's operated in the region since 2000, said in a statement the strikes targeted and killed its people
  3. Masood, Salman (18 January 2024). "Pakistan Retaliates With Strikes Inside Iran as Tensions Spill Over". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
  4. "Pakistan Launches Retaliatory Airstrikes in Iran After an Earlier Attack by Tehran, Killing 9 People". US News. 18 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-18. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
  5. "Pakistan Unleashes Retaliatory Strikes in Iran, Killing Nine". The Daily Beast. 18 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024. The Baluch Liberation Army, an ethnic separatist group, said the strikes had killed its members. "Pakistan will have to pay a price for it," the organization said
  6. "Pakistan condemns deadly Iranian missile strike on its territory as tensions spike across region". CNN. 17 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
  7. "Inter Services Public Relations Pakistan". ispr.gov.pk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-18. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
  8. Umar, Baba. "Pakistan strikes 'seven locations' of BLA terror group inside Iran". Pakistan strikes 'seven locations' of BLA terror group inside Iran. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-18. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
  9. Shahzad, Asif; Naiyyar Peshimam, Gibran (18 January 2024). "Pakistan strikes inside Iran against militant targets, stokes regional tension". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2024. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.