พายุไต้ฝุ่นเชบี (พ.ศ. 2561)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นเชบี (ไมไม)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุเชบีขณะมีกำลังแรงสูงสุดทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
พายุเชบีขณะมีกำลังแรงสูงสุดทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
พายุเชบีขณะมีกำลังแรงสูงสุดทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ก่อตัว 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561
สลายตัว 7 กันยายน พ.ศ. 2561
(เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังวันที่ 4 กันยายน)
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
280 กม./ชม. (175 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต 17 คน
ความเสียหาย อย่างน้อย 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2018)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
หมู่เกาะมาเรียนา, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561

เชบี (เกาหลี: 제비, แปลว่า "นกนางแอ่น") หรือที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า ไมไม (ตากาล็อก: Maymay) เป็นพายุที่มีกำลังแรงที่สุดในรอบ 25 ปีที่พัดเข้าญี่ปุ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซประกาศปิดชั่วคราวระหว่างวันที่ 5–6 กันยายน พ.ศ. 2561 เนื่องจากน้ำท่วมท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และสะพานที่เชื่อมระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติคันไซกับแผ่นดินใหญ่นั้นได้รับความเสียหายจากเหตุเรือบรรทุกน้ำมันซึ่งถูกคลื่นซัดชนเข้ากับสะพาน จึงทำให้สะพานที่เชื่อมระหว่างชายฝั่งญี่ปุ่นกับสนามบินคันไซยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เจ้าหน้าที่ได้อพยพผู้โดยสารที่ตกค้างที่ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซราว 3,000 คน สวนสนุกยูนิเวอร์แซลสตูดิโอแจแปนประกาศปิดทำการชั่วคราว นอกจากนั้นไฟฟ้าดับ 1.6 ล้านหลังคาเรือน[1] ในพื้นที่จังหวัดเกียวโตและจังหวัดโอซากะ สถานีรถไฟเกียวโตถูกลมพัดจนได้รับความเสียหาย [2]

ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานชินชิโตเซะประกาศปิดชั่วคราว มีการยกเลิกเที่ยวบินรวมกว่า 700 เที่ยวบิน มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บกว่า 600 ราย[3] มีการสั่งอพยพกว่า 1 ล้านคน[4] ลดจำนวนรถไฟความเร็วสูง ปิดโรงเรียนและสวนสนุก รัฐบาลประกาศเตือนให้ประชาชนอยู่ในบ้าน ส่วนความเสียหายปัจจุบันอยู่ในระหว่างประเมิน[5] ที่ไต้หวันมีผู้เสียชีวิตรวม 6 ราย[6][7] โดย 5 ราย[8] เสียชีวิตที่อี๋หลาน สาเหตุจากคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าชายหาดระหว่างวันที่ 2–3 กันยายน รวมมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 17 ราย[9]

อ้างอิง[แก้]