เสโต มัจฉินทรนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสโต มัจฉินทรนาถ
सेतो मच्छिन्द्रनाथ
เสโต มัจฉินทรนาถภายในชนพหา
จำพวกอวโลกิเตศวร
นับถือในเนปาล
ศาสนา/ลัทธิฮินดู-พุทธ

เสโต มัจฉินทรนาถ (เนปาล: सेतो मच्छिन्द्रनाथ) หรือ มัจฉินทรนาถขาว เป็นเทพในคติฮินดู-พุทธในกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล[1] ถูกประดิษฐานภายในวัดชนพหา (บ้างเรียกมัจฉินทรนาถพหา) ย่านอินทรโจกใจกลางกรุงกาฐมาณฑุซึ่งก่อสร้างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ทั้งนี้เสโต มัจฉินทรนาถถือเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรรูปแบบหนึ่ง[2][3]

ทุกปีจะมีเทศกาลเสโต มัจฉินทรนาถโก รถยาตรา จะมีการนำรูปเคารพของเสโต มัจฉินทรนาถประทับบนราชรถแล้วแห่แหนรอบกรุงกาฐมาณฑุ[1] โดยนำรูปเคารพไปสรงน้ำและทาสีใหม่ พิธีกรรมดังกล่าวถือเป็นสัญลักษณ์การเปลี่ยนแปลงของชีวิต[4] ซึ่งในช่วงพิธีกรรมนี้วัดจะปิดมิให้คนเข้าชม[5][6]

นอกจากนี้ยังมีเทพอีกองค์หนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกันคือราโต มัจฉินทรนาถหรือมัจฉินทรนาถแดงที่เมืองปาฏัน ถือเป็นเทพแห่งฝนในศาสนาพุทธแบบเนวาร[7][8]

ประวัติ[แก้]

ในรัชสมัยพระเจ้ายักศยะแห่งราชวงศ์มัลละและชาวเมืองกานติปุรีอาบน้ำในลำน้ำศักดิ์สิทธิ์และขึ้นไปสักการะสวยัมภูนาถเพื่อขอพรให้พวกเขาขึ้นสวรรค์เมื่อตาย เมื่อยมราชทราบเรื่องจึงเดินทางมายังสวยัมภูนาถ แต่กลับถูกพระเจ้ายักศยะและคุรุตันตระกุมตัวไว้และขอพรให้ชีวิตเป็นอมตะหากไม่ให้พรนี้ก็จะมิให้ยมราชเสด็จออกไป ยมราชจึงอธิษฐานถึงอารยอวโลกิเตศวร (คือเสโต มัจฉินทรนาถ) ให้ช่วยตน ทันที่ที่ได้รับคำอธิษฐาน อารยอวโลกิเตศวรจึงปรากฏพระองค์ขึ้นจากน้ำ วรองค์มีสีขาว ดวงเนตรเหลือบมองต่ำ มีโองการให้พระราชาสร้างวิหารที่กาลมตีและพาคมตี พร้อมกับให้จัดเทศกาลแห่แหนรูปเคารพเทพเจ้าด้วยราชรถไปรอบ ๆ เมือง เทพเจ้าจะอวยพรให้ประชาชนทุกคนประสบแต่ความสุขและมีชีวิตที่ยืนยาว[9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Bajracharya, Munindra Ratna (n.d.). "The Chariot Festival Of White Karunamaya". The Rising Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2013. สืบค้นเมื่อ 23 April 2013.
  2. Gurung, Roshan (April 2007). "Seto Machhendranath". ECS Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-18. สืบค้นเมื่อ 23 April 2013.
  3. Anisha. "Seto Machhendranath Temple". bossnepal.com.
  4. "Bathing ceremony of Janabahaa Dyo". The Himalayan Times. January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-30. สืบค้นเมื่อ 23 April 2013.
  5. Locke, S.J., John K. "Newar Buddhist Initiation Rites". INAS Journal. p. 2. สืบค้นเมื่อ 18 April 2013.
  6. Yoshizaki, Kazumi (2006). "The Kathmandu Valley as a Water Pot: Abstracts of research papers on Newar Buddhism in Nepal". p. 5. สืบค้นเมื่อ 18 April 2013.
  7. Locke, John Kerr (1973). Rato Masyendranath of Patan and Bungamati. Institute of Nepal and Asian Studies. p. 81. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
  8. Vajracharya, Munindraratna (1998). "Karunamaya Jatra in Newar Buddhist Culture". Aioiyama. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
  9. Tandukar, Sabina (n.d.). "The chariot festival of SETO MACHENDRANATH". www.spacesnepal.com. สืบค้นเมื่อ 23 April 2013.
  10. Shakya, Sagar (August 2012). "Rato Vs. Seto Machindranath". สืบค้นเมื่อ 23 April 2013.