อินทรโจก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดอากาศไภรพ
ตลาดรากี

อินทรโจก (เนปาล: इन्द्रचोक) หรือ วังฆะ (เนวาร์: वंघः) เป็นจัตุรัสสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ย่านตลาด และเส้นทางที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ในอดีตย่านอินทรโจก ย่านมรุ จัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์ ชนพหา และย่านอสัน ถือเป็นจุดหมายตาในเส้นทางการค้าระหว่างอินเดีย-ทิเบต ปัจจุบันเป็นย่านการค้าที่มีชีวิตชีวา[1]

มีถนนหกสายบรรจบที่จัตุรัสอินทรโจก เชื่อมโยงกับจัตุรัสอื่น ๆ ในกาฐมาณฑุ เป็นเส้นทางที่มีวัดวาอารามและตลาดหลายแห่ง ดึงดูดผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จัตุรัสแห่งนี้ตั้งชื่อตามพระอินทร์ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • อากาศไภรพ เป็นสัญลักษณ์ของอินทรโจก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจัตุรัส วิหารแห่งนี้ประดิษฐานรูปเคารพอากาศไภรพ ด้านล่างของวิหารมีร้านค้าตั้งอยู่จำนวนหนึ่ง[2]
  • วัดศิวะ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจัตุรัส เดิมเป็นที่ตั้งของเจดีย์ทว่าถูกทำลายลงหลังเกิดแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 1934 ภายหลังได้สร้างศาลรูปโดมขนาดน้อยแทนที่[3]
  • ตลาดรากี เป็นตรอกคดเคี้ยวที่เต็มไปด้วยร้านรวงต่าง ๆ จำหน่ายสร้อยลูกแก้ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจัตุรัส บรรพบุรุษของพ่อค้าแม่ค้าที่นี่เชื่อว่าอพยพมาจากอิรักยุคกลาง จึงเรียกตลาดนี้ว่า "รากี" มาจากคำว่า "อิรัก"[4]
  • ถนนศุกระ เป็นถนนที่ทอดยาวจากทางใต้ของจัตุรัสไปยังถนนใหม่ เรียงรายไปด้วยบ้านเรือนสีขาวที่ถูกสร้างใหม่หลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 1934 ถนนนี้ตั้งตามนามศุกรราช ศาสตรี ถือเป็นย่านการค้าสำคัญของกาฐมาณฑุ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Proksch, Andreas; Baidya, Huta Ram; Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit, Urban Development Through Local Efforts Project (1995). Images of a century: The changing townscapes of the Kathmandu Valley. Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit. Page 58.
  2. "Indra Chowk". Lonely Planet. สืบค้นเมื่อ 13 September 2012.
  3. Changing Faces of Nepal – The Glory of Asia's Past (PDF). Ratna Pustak Bhandar for the UNESCO Division of Cultural Heritage and HimalAsia. December 1997. p. 53. สืบค้นเมื่อ 13 September 2012.
  4. Shrestha, Hiranya Lal (13 January 2011). "Every layer of civilizations in Pakistani land has relationship and interaction with Nepal". Telegraphnepal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 September 2012. Page 2.
  5. "Addressed Road Network Map". Kathmandu Metropolitan City. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2011. สืบค้นเมื่อ 13 September 2012.