เวิลด์คอมแบต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวิลด์คอมแบต
ชายคนหนึ่งเล่นวอร์เซด ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ผู้พัฒนาโคนามิ
ผู้จัดจำหน่ายโคนามิ
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่าย1 เมษายน ค.ศ. 2003
แนวเกมยิงที่ไม่ต้องเดิน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

เวิลด์คอมแบต (อังกฤษ: World Combat; ญี่ปุ่น: ワールドコンバット) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม วอร์เซด (อังกฤษ: Warzaid) เป็นเกมยิงที่ไม่ต้องเดินโดยใช้ไลค์กันมุมมองบุคคลที่หนึ่งในธีมการทหาร[1] เกมอาร์เคดมีตู้ให้เลือกสองแบบ ได้แก่ แบบสำหรับผู้เล่นสี่คน และแบบสำหรับผู้เล่นสองคน เกมดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันหลายประการกับซีรีส์ไทม์ไครซิสของนัมโค ซึ่งต้องใช้ความสามารถของผู้เล่นอยู่ไม่น้อยเพื่อให้ครอบคลุม ตัวละครของผู้เล่นแต่ละคนมาพร้อมกับโล่โลหะขนาดใหญ่แบบพกพาที่สามารถป้องกันกระสุนวิถีที่เข้ามา อย่างไรก็ตาม ก็มีส่วนต่างจากเกมไทม์ไครซิส โล่นี้ไม่ได้เปิดใช้งานโดยแป้นเหยียบ แต่เป็นการเล็งปืนออกไปนอกจอ (เหมือนกับเกมยิงที่ไม่ต้องเดินมุมมองบุคคลที่หนึ่งที่เป็นรูปแบบดั้งเดิมหลายเกม โดยการยิงนอกจอจะบรรจุกระสุนของผู้เล่นใหม่) เกมดังกล่าวยังมีกลไกที่คล้ายคลึงกับ "ไครซิสไซติง" (Crisis Sighting) ของไทม์ไครซิส ที่กระสุนวิถีของศัตรูส่วนใหญ่พลาดโดยผู้เล่นไม่เป็นอันตราย แต่สิ่งที่เป็นการคุกคามโดยกระทันหันนั้นจะช้าลงและใหญ่กว่าปกติมาก ซึ่งเมื่อผู้เล่นถูกโจมตี จะมีภาพของพวกเขาที่ได้รับบาดเจ็บ[2]

แม้ว่าเกมจะเป็นแบบร่วมมือกัน แต่ก็มีองค์ประกอบการแข่งขันอยู่เล็กน้อย สำหรับสิ่งหนึ่ง ผู้เล่นเริ่มต้นในพลทหารอันดับรองและยอมให้เลื่อนยศ (ไปตลอดทางจนถึงจอมพล) ในตอนท้ายของแต่ละภารกิจ[1] โดยขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเล่นได้ดีเพียงใด ผู้เล่นที่มียศสูงสุด (หรือคะแนนสูงสุด หากยศเท่ากัน) ได้รับการเรียกว่า "หัวหน้า" และได้รับรางวัลชีวิตพิเศษ[2]

ผู้เล่นแต่ละคนควบคุมทหารที่เกี่ยวข้องในการสู้รบกับกองทัพอันเดดที่มีอาวุธทันสมัย เกมดังกล่าวมีศัตรู เช่น โครงกระดูกที่ชอบพกปืนไรเฟิล, รถถัง, เครื่องบินไอพ่น และเฮลิคอปเตอร์ อาวุธประกอบด้วยปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติซึ่งเป็นอาวุธเริ่มต้นของผู้เล่น รวมถึงปืนกล และเครื่องยิงจรวด[2]

นอกจากนี้ โคนามิยังได้เปิดตัวเกมที่ติดตามมาคือวอร์ทรานทรูเปอส์ ใน ค.ศ. 2004[1]

การตอบรับ[แก้]

เว็บไซต์เกมแฟคส์ ให้คะแนนโดยรวมที่ 8 เต็ม 10 โดยระบุว่าแม้เกมจะมีข้อบกพร่องอยู่บางส่วน แต่วอร์เซดก็ยังเป็นเกมไลต์กันที่ยอดเยี่ยม ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดเดิม และคุ้มค่าต่อการเล่น[2]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]