เวรียเมีย
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
เวรียเมีย | |
---|---|
ประเภท | ข่าว สถานการณ์ปัจจุบัน |
พิธีกร | ดูผู้ประกาศข่าวข้างล่าง |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | Time, Forward! โดยเกออร์กี สวีรีดอฟ, Patrioticheskaya Pesnya โดยมิฮาอิล กลินคา (1984–1986), เพลงไม่มีชื่อ โดยอันเดรย์ เปตรอฟ (1970–1979) |
ประเทศแหล่งกำเนิด | สหภาพโซเวียต (1968–1991) รัสเซีย (1994–ปัจจุบัน) |
ภาษาต้นฉบับ | รัสเซีย |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | Ostankino Technical Center, มอสโก ประเทศรัสเซีย |
กล้อง | กล้องหลายตัว |
ความยาวตอน | 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง (ทั่วไป) 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที (วันอาทิตย์) |
บริษัทผู้ผลิต | ช่องหนึ่งรัสเซีย |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องหนึ่ง |
ออกอากาศ | 1 มกราคม ค.ศ. 1968 (รัสเซีย) – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
อาร์ทีนิวส์ |
เวรียเมีย (รัสเซีย: Вре́мя แปลว่า "เวลา") หรือเรียกว่า Программа Время เป็นรายการข่าวของช่องหนึ่งรัสเซียและสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสหภาพโซเวียต (Центральное телевидение СССР, ЦТ СССР) รายการนี้ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1968 (ยุติการออกอากาศตั้งแต่สิงหาคม ค.ศ. 1991 ถึงธันวาคม ค.ศ. 1994) และ ออกอากาศด้วยระบบภาพสี ตั้งแต่ ค.ศ. 1974
รูปแบบรายการ
[แก้]เวรียเมียออกอากาศเวลา 21.00 น. ตามเวลามอสโก ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต โปลิตบูโร การทำงานของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต และช่วงสมัยกลัสนอสต์ของกอร์บาชอฟทำให้เวรียเมียต้องทำข่าวต่างประเทศมากขึ้น และในช่วงการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 ก็มีการทำข่าวการเรียกร้องในยุโรปตะวันออกด้วย[1]
เพลงเปิดตัว
[แก้]เวรียเมียมีเพลงเปิดตัวคือเพลง Time, Forward! (Время вперед) ของ Georgy Sviridov ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1981 ถึงปัจจุบัน โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 เป็นต้นมา มีการทำดนตรีใหม่ถึง 2 ครั้ง เพื่อให้มีความทันสมัยโดยคงเอกลักษณ์เดิมของเพลงนี้ไว้
การยุติการออกอากาศ
[แก้]เวรียเมียออกอากาศครั้งสุดท้ายในสหภาพโซเวียตวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991[2] เนื่องจากในช่วงความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 เวรียเมียกลายเป็นกระบอกเสียงในกับคณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐจนหลังเหตุการณ์ความพยายามรัฐประหารประธานาธิบดีรัสเซียบอริส เยลต์ซิน สั่งยุติการออกอากาศรวมถึงสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสหภาพโซเวียตด้วยเหตุว่าเป็นกระบอกเสียงพรรคคอมมิวนิสต์
ช่วงยุติการออกอากาศ
[แก้]การยุติสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสหภาพโซเวียตทำให้มีการเปลี่ยนช่องเป็นช่องหนึ่งอัสตานกินะและแทนที่รายการเวรียเมียด้วยรายการข่าวชื่อว่า ทีวีอินฟอร์ม (ТВ-Информ) โนวัสติอัสตานกินะ (Новости Останкино) และไอทีเอ โนวัสติ (ИТА Новости)
การกลับมาออกอากาศ
[แก้]เวรียเมียกลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1994 โดยส่วนใหญ่ออกอากาศเกียวกับสงครามเชชเนียครั้งที่หนึ่งและสงครามเชชเนียครั้งที่สองและออกอากาศจนถึงปัจจุบัน โดยมีสถานะเทียบเท่าข่าวภาคดึกของทางช่องหนึ่งรัสเซียเอง นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 2003 เพิ่มการออกอากาศในวันอาทิตย์ ในชื่อ ซันเดย์เวรียเมีย (Воскресное Время, Voskresnoe Vremja, Sunday Time). โดยใช้เพลงประกอบแยกต่างหาก แต่มีบางส่วนของเพลง Time, Forward! อยู่ด้วย ส่วนกราฟิกเข้ารายการเป็นแบบเดียวกับเวรียเมียที่ออกอากาศในวันจันทร์–เสาร์
ผู้ประกาศข่าว
[แก้]สมัยสหภาพโซเวียต
[แก้]- Vera Shebeko (Вера Шебеко)
- Igor Kirilov (Игорь Кириллов) - พิธีกรหลักและผู้รายงานในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น พิธีจัตุรัสแดง และการเสียชีวิตของผู้นำสหภาพโซเวียต จนถึงยุคปลายปี 1980
- Maya Sidrova (Майя Сидорова)
- Evgeny Suslov (Евгений Суслов)
- Gennady Chetrov (Геннадий Чертов)
- Evgeny Kochergin (Евгений Кочергин)
- Inna Ermilova (Инна Ермилова)
- Elena Kovalenko (Елена Коваленко)
- Anna Shatilova (Анна Шатилова)
- Yuri Kovelenov (Юрий Федотов)
- Tatyana Sudets (Татьяна Судец)
- Victor Balashov (Виктор Балашов)
- Aza Lihitchenko (Аза Лихитченко)
- Galina Zimenkova (Галина Зименкова)
- Nonna Bedrova (Нонна Бодрова)
- Sergey Medvedev (Сергей Медведев)
- Leonid Elin (Леонид Чучаев)
สมัยรัสเซีย
[แก้]- Igor Vykhuholev (Игорь Выхухолев) : ค.ศ. 1994–2003
- Nelly Petkova (Нелли Петкова) : ค.ศ. 1994–1996
- Tatiana Komarova (Татьяна Котельская) : ค.ศ. 1994–1995
- Igor Gmyza (Игорь Гмыза) : ค.ศ. 1995–1999
- Alexandra Buratayeva (Александра Буратаева) : ค.ศ. 1995–1999
- Arina Sharapova (Арина Шарапова) : ค.ศ. 1996–1998
- Sergey Dorenko (Сергей Доренко) : ค.ศ. 1997–1999 (รายการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร "VREMYA with Sergey Dorenko")
- Kirill Kleimyonov (Кири́лл Клеименов) : ค.ศ. 1998–2005
- Ekatherina Andreeva (Екатери́на Андреева) : ค.ศ. 1995–ปัจจุบัน
- Zhanna Agalakova (Жа́нна Агала́кова) : ค.ศ. 1998–2007
- Pavel Sheremet (Павел Шеремет) : ค.ศ. 1999–2001 (รายการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร "VREMYA", วันเสาร์)
- Andrey Baturin (Андреем Батуриным) : ค.ศ. 2003–2005: ("VREMYA" ยามค่ำคืน)
- Pyotr Marchenko (Пётр Марченко) : ค.ศ. 2003–2005
- Vitaly Eliseev (Виталий Елисеев) : ค.ศ. 2007–ปัจจุบัน
- Olga Kokorekina (Ольга Кокорекина) : ค.ศ. 2002–2007
- Pyotr Tolstoy (Пётр Толстой) : ค.ศ. 2005–2012 (รายการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร "Sunday VREMYA")
- Maxim Sharafutdinov (Максим Шарафутдинов) : ค.ศ. 2007–ปัจจุบัน
- Dmitry Borisov (Дми́трий Бори́сов) : ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน [3]
- Irada Zeinalova (Ирада Зейналова) : ค.ศ. 2012–ปัจจุบัน (รายการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร "Sunday VREMYA")
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Soviet news program comes to public TV". Gainesville Sun. 20 กุมภาพันธ์ 1990. p. 6A.
- ↑ "1991/08/28 — ТВ ИНФОРМ. 1 канал. 28 августа 1991 г. [1/4]". สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2014.
- ↑ Первый канал. Официальный сайт. Лица
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The U.S. Naval Academy Collection of Soviet & Russian TV
- Time, Forward! (Vremya, vpered! เก็บถาวร 2 มกราคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), เพลงประจำรายการที่มีชื่อเสียงโดย Georgy Sviridov