เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมชั้นมิสทราล
![]() เรือวางแผนและบัญชาการดิกซ์มูเดอ ในอ่าวจูนิเย ประเทศเลบานอน ค.ศ. 2012
| |
ภาพรวมชั้น | |
---|---|
ชื่อ: | ชั้นมิสทราล |
ผู้สร้าง: | |
ผู้ใช้งาน: | |
ก่อนหน้าโดย: | ชั้นโฟเดรอ |
ราคา: | 451.6 ล้านยูโร[2] (ปีงบประมาณ ค.ศ. 2012) (ประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
ในประจำการ: | ธันวาคม ค.ศ. 2005 – ปัจจุบัน |
วางแผน: | 5 ลำ |
ใช้การอยู่: | 5 ลำ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือยกพลขึ้นบกจู่โจม |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
|
ความยาว: | 199 ม. (653 ฟุต) |
ความกว้าง: | 32 ม. (105 ฟุต) |
กินน้ำลึก: | 6.3 ม. (21 ฟุต) |
ระบบพลังงาน: | 3 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลวาร์ตซีลา 16 วี32 (6.2 เมกะวัตต์) + 1 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรองวาร์ตซีลา วาซา 18วี200 (3 เมกะวัตต์) |
ระบบขับเคลื่อน: | 2 แอซิมัททรัสเตอร์โรลส์-รอยซ์ เมอร์เมด (2 × 7 เมกะวัตต์), 2 ใบพัดห้าใบมีด |
ความเร็ว: | 18.8 นอต (35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) |
พิสัยเชื้อเพลิง: |
|
จำนวนเรือและอากาศยาน: |
|
ความจุ: | ยานพาหนะ 59 คัน (รวมถึงรถถังอาแอมอิกซ์ เลอแกลร์ก 13 คัน) หรือกองทัพรถถังเลอแกลร์กที่แข็งแกร่ง 40 คัน |
กำลังพล: |
|
อัตราเต็มที่: | ทหารชั้นสัญญาบัตร 20 นาย, ทหารเรือชั้นจ่า 80 นาย, นายกราบ 60 นาย |
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: |
|
ยุทโธปกรณ์: |
|
อากาศยาน: | เฮลิคอปเตอร์ขนาดหนัก 16 ลำ หรือขนาดเบา 35 ลำ |
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: | จุดจอดเฮลิคอปเตอร์ 6 จุด |
ชั้นมิสทราล (ฝรั่งเศส: Classe Mistral) เป็นชั้นของเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม หรือที่รู้จักกันในฐานะเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ซึ่งเรียกว่า "เรือวางแผนและบัญชาการ" (ฝรั่งเศส: bâtiments de projection et de commandement; อักษรย่อ: BPC) เรือชั้นมิสทราลนั้นสามารถขนส่งและกรีธาพลเฮลิคอปเตอร์แอนอาช90 หรือไทเกอร์ 16 ลำ, เรือบาร์จยกพลขึ้นบกสี่ลำ, ยานพาหนะมากถึง 70 คัน รวมถึงรถถังอาแอมอิกซ์ เลอแกลร์ก 13 คัน หรือกองทัพรถถังเลอแกลร์กที่แข็งแกร่ง 40 คัน[4] และทหาร 450 นาย เรือนี้มีการติดตั้งเตียงผู้ป่วย 69 เตียง และสามารถเข้าประจำการในฐานะส่วนหนึ่งของกองกำลังตอบโต้เนโท หรือกับกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติและสหภาพยุโรป
เรือสามลำของชั้นดังกล่าวที่ประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศส ได้แก่ มิสทราล, ตอนแนร์ และดิกซ์มูเดอ ส่วนข้อตกลงของเรือสองลำสำหรับกองทัพเรือรัสเซียได้รับการประกาศโดยนีกอลา ซาร์กอซี ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในขณะนั้น ณ วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2010 และลงนามโดยรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย อีกอร์ เซชิน กับรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส อาแล็ง ฌูเป ต่อหน้าซาร์กอซีเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2011 ส่วนวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2014 ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ฟร็องซัว ออล็องด์ ได้ประกาศเลื่อนการส่งมอบเรือรบลำแรก วลาดีวอสตอค เนื่องจากวิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน กระทั่งวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ประธานาธิบดี ฟร็องซัว ออล็องด์ และประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ประกาศว่าฝรั่งเศสจะจ่ายเงินคืน และเก็บเรือทั้งสองลำที่ผลิตสำหรับกองทัพเรือรัสเซียในตอนแรก ซึ่งต่อมาได้ขายเรือสองลำให้แก่ประเทศอียิปต์แทน[5]
ประวัติ[แก้]
หลักนิยมของฝรั่งเศสเกี่ยวกับปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกใน ค.ศ. 1997[แก้]
ใน ค.ศ. 1997 บริษัทเดเซแอนแอ็ส เริ่มการศึกษาสำหรับเรือแทรกแซงอเนกประสงค์ (ฝรั่งเศส: bâtiment d'intervention polyvalent; อักษรย่อ: BIP) ในเวลาเดียวกัน หลักนิยมของฝรั่งเศสเกี่ยวกับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้รับการพัฒนา และกำหนดให้เป็นการออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก (ฝรั่งเศส: Concept national des opérations amphibies; อักษรย่อ: CNOA)[6] เรือแทรกแซงอเนกประสงค์คือการทำใหม่และเพิ่มขีดความสามารถสะเทินน้ำสะเทินบกของกองทัพเรือฝรั่งเศส ซึ่งในเวลานั้นประกอบไปด้วยเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่แบบอู่ลอยชั้นโฟเดรอสองลำ และชั้นอูรากองสองลำ
การออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกคือการยืนยันความสามารถของกองทัพเรือฝรั่งเศสในการทำการรบสะเทินน้ำสะเทินบก, การถอนตัว, การแสดงแสนยานุภาพ และการตีโฉบฉวย สิ่งนี้จะทำให้กองทัพเรือฝรั่งเศสสามารถบูรณาการเข้ากับกรอบหลักนิยมตามที่อธิบายโดยบรรณสารยุทธวิธีของพันธมิตรสหรัฐ 8บี (ATP8) ของเนโท และกรอบความร่วมมือสะเทินน้ำสะเทินบกยุโรป ในขณะที่การออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกให้ความสำคัญกับความสามารถของอากาศเป็นสำคัญ มันยังมอบการเพิ่มจำนวนยานพาหนะและบุคลากรที่สามารถขนส่งและกรีธาพล;[7] การออกแบบระดับชาติสำหรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้กำหนดจุดมุ่งหมายของโครงการในการสร้างกองกำลังที่ประกอบไปด้วยสี่กองร้อยต่อสู้ (1,400 นาย, ยานพาหนะ 280 คัน และเฮลิคอปเตอร์ 30 ลำ) เป็นเวลาสิบวัน ในระยะลึก 100 กิโลเมตร กองกำลังนี้น่าจะสามารถเข้าไปแทรกแซงได้ไม่ว่าที่ไหนก็ตามภายในระยะ 5,000 กิโลเมตรจากแผ่นดินใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส หรือเพื่อสนับสนุนดินแดนโพ้นทะเลหรือพันธมิตรของฝรั่งเศส[6] รวมถึงปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังเนโทและสหภาพยุโรป เรือที่เสนอใด ๆ จะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติการระหว่างประจำการกับกองพันทรูเปสเดอมารีนของกองทัพบกฝรั่งเศส[8]
วิวัฒนาการของแนวคิด[แก้]
การศึกษาเกี่ยวกับเรือแทรกแซงอเนกประสงค์ (ฝรั่งเศส: bâtiment d'intervention polyvalent; อักษรย่อ: BIP) ได้เริ่มขึ้นในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกำลังเตรียมปรับโครงสร้างและบูรณาการ เรือแทรกแซงอเนกประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการออกแบบแบบแยกส่วนที่ปรับขนาดได้ซึ่งสามารถใช้ได้กับประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปและสร้างขึ้นโดยร่วมมือกัน[9] แต่ประเด็นทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการแบ่งสัญญาใหม่ ทำให้การรวมชาติในยุโรปที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเรือล้มเหลว และโครงการ BIP ได้เปลี่ยนจากการเป็นแนวคิดทั่วยุโรปไปเป็นกิจการของฝรั่งเศส
ใน ค.ศ. 1997 มีการเปิดเผยการออกแบบเรือทั่วไปที่เรียกว่าเรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่ (ฝรั่งเศส: nouveau transport de chalands de débarquement; อักษรย่อ: NTCD) โดยอิงจากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์พลังงานนิวเคลียร์เปอาช 75 ที่ถูกยกเลิกอย่างหลวม ๆ ที่ใหญ่ที่สุดคือเบอีเป-19 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพื้นฐานของชั้นมิสทราล การออกแบบเบอีเป-19 รวมถึงดาดฟ้ายาวตลอดลำเรือ 190 เมตร (620 ฟุต) พร้อมความกว้างของตัวเรือ 26.5 เมตร (87 ฟุต), กินน้ำลึก 6.5 เมตร (21 ฟุต) และระวางขับน้ำ 19,000 ตัน; ซึ่งมีมิติข้อมูลเหนือกว่าข้อกำหนดของแนวคิดเรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยการออกแบบเรือขนาดเล็กสามแบบ โดยใช้การออกแบบเบอีเป-19 รุ่นลดขนาด และมีความกว้างของตัวเรือทั่วไป 23 เมตร (75 ฟุต) ได้แก่ เบอีเป-13 (13,000 ตัน, 151 เมตร (495 ฟุต)), เบอีเป-10 (10,000 ตัน, 125 เมตร (410 ฟุต)) และเบอีเป-8 (8,000 ตัน, 102 เมตร (335 ฟุต)) ซึ่งเบอีเป-8 ได้รวมเอาคุณสมบัติของเรือลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกซันจอร์โจของอิตาลี แต่ได้รวมโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์
ในขั้นตอนการออกแบบ แนวคิดของเรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่มีลิฟต์อากาศยานที่ฝั่งกราบซ้าย (เหมือนกันกับชั้นตาราวาของสหรัฐ), อีกตัวหนึ่งอยู่ทางฝั่งกราบขวา, ตัวหนึ่งอยู่ตรงกลางลานบิน และตัวหนึ่งข้างหน้าของโครงสร้างส่วนบนเกาะกลาง สิ่งเหล่านี้ถูกลดจำนวนลงในเวลาต่อมาและย้ายตำแหน่ง โดยลิฟต์หลักย้ายไปทางท้ายเรือซึ่งเดิมตั้งอยู่ทางกราบขวา แต่จากนั้นก็ย้ายไปอยู่ตรงกลาง และลิฟต์เสริมที่อยู่ด้านหลังโครงสร้างส่วนบนเกาะกลาง[10] ภาพวาดแนวความคิดและคำอธิบายที่สร้างขึ้นโดยดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ล (DCN) หนึ่งในสองผู้ต่อเรือที่เกี่ยวข้องในโครงการนี้ ได้แสดงให้เห็นคุณสมบัติคล้ายเรือบรรทุกอากาศยานหลายแบบ รวมถึงทางลาดแบบสกีจัมป์สำหรับอากาศยานสโตบาร์ (อนุญาตให้ใช้อากาศยานเอวี-8บี แฮริเออร์ II และเอฟ-35 ไลท์นิง II-บี ปฏิบัติการ), จุดจอดเฮลิคอปเตอร์สี่หรือห้าจุด (รวมถึงหนึ่งจุดที่เสริมความแข็งแกร่งเพื่อรองรับเฮลิคอปเตอร์วี-22 ออสเปร หรือซีเอช-53อี ซูเปอร์สตัลเลียน) และดาดฟ้าตอนที่มีฝาอับเฉาที่สามารถรองรับเรือระบายพลชั้นซาเบรอ หรือเรือโฮเวอร์คราฟต์แอลแค็ก[11] จากการทบทวนโดยวุฒิสภาฝรั่งเศสได้สรุปว่าอากาศยานสโตบาร์อยู่นอกขอบเขตของศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศแห่งชาติ ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบ[12]
เรือบาร์จขนส่งยกพลชึ้นบกแบบใหม่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์แทรกแซง" (ฝรั่งเศส: Porte-hélicoptères d'intervention; PHI) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ก่อนที่จะได้รับการตั้งชื่อว่าเรือวางแผนและบัญชาการ (ฝรั่งเศส: Bâtiment de projection et de commandement; อักษรย่อ: BPC) ในที่สุด เพื่อเน้นด้านสะเทินน้ำสะเทินบกและลักษณะการบังคับบัญชาของแนวคิด[13]
การออกแบบและการสร้าง[แก้]
ที่งานยูโรเนแวล ค.ศ. 1998 ทางฝรั่งเศสยืนยันว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะสร้างชุดเรือตามแนวคิดเรือแทรกแซงอเนกประสงค์-19 อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับการอนุมัติสำหรับการสร้างเรือสองลำคือมิสทราลและตอนแนร์จนถึงวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2000 สัญญาสำหรับการสร้างได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม และหลังจากได้รับการอนุมัติจากสหภาพผู้จัดซื้อ (ฝรั่งเศส: Union des groupements d'achats publics; อักษรย่อ: UGAP) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ก็ได้ตัดสินมอบแก่ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ล (DCN) และชองติเยร์เดอลัตล็องติกเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ทีมออกแบบทางวิศวกรรมได้รับการสถาปนาขึ้นที่แซ็ง-นาแซร์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2001 และหลังจากการปรึกษาหารือระหว่างดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลรวมถึงคณะผู้แทนทั่วไปสำหรับยุทโธปกรณ์ (ฝรั่งเศส: Délégation Générale pour l'Armement; อักษรย่อ: DGA) ก็ได้เริ่มศึกษาและปรับเปลี่ยนการออกแบบเรือแทรกแซงอเนกประสงค์-19 ในทำนองเดียวกัน แนวคิดทั่วไปได้รับการขัดเกลาโดยคณะผู้แทนทั่วไปสำหรับยุทโธปกรณ์, ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ล, เสนาธิการกลาโหม และชองติเยร์เดอลัตล็องติก ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบและการตรวจสอบความถูกต้อง ได้มีการสร้างและทดสอบแบบจำลองขนาด 1/120 ในอุโมงค์ลม โดยเผยให้เห็นว่าในลมปะทะที่รุนแรง ความสูงของเรือและด้านบนของดาดฟ้าเรือที่ยืดออกได้สร้างความปั่นป่วนไปตามดาดฟ้าขึ้นลงของอากาศยานบนเรือ ซึ่งการออกแบบดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดผลกระทบเหล่านี้ให้น้อยที่สุด และให้เงื่อนไขที่ดีขึ้นสำหรับปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์[14]
-
การเปรียบเทียบระหว่างเรือวางแผนและบัญชาการ กับประเภทเรือบาร์จขนส่งยกพลขึ้นบกก่อนหน้า
-
ดิกซ์มูเดอ เคียงข้างเรือฟริเกตล่องหน เซอร์กูฟ ที่จอดอยู่ในตูลง
เรือจะต้องได้รับการสร้างขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ในสององค์ประกอบหลักและส่วนประกอบย่อยหลายส่วน ซึ่งจะรวมกันเมื่อเสร็จสิ้น ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าฝ่ายก่อสร้างและรับผิดชอบ 60 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการก่อสร้าง และ 55 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทำงาน ได้ประกอบเครื่องยนต์ในโลเรียนท์, ระบบการต่อสู้ในตูลง และครึ่งหลังของเรือ รวมถึงโครงสร้างส่วนบนเกาะในแบร็สต์ ส่วนเอสทีเอกซ์ ยุโรป ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการต่อเรือเอสทีเอกซ์ ชิปบิลดิง ของประเทศเกาหลีใต้ ได้สร้างส่วนหน้าของเรือแต่ละลำในแซ็ง-นาแซร์ และรับผิดชอบในการขนส่งไปยังอู่ต่อเรือของดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลในแบร็สต์ เพื่อดำเนินการประกอบขั้นสุดท้าย[1] ส่วนบริษัทอื่น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้าง ได้แก่ งานก่อสร้างบางส่วนได้รับมอบหมายจากสทอซเนียเรมอนโตวาเดอกดัญสก์ ขณะที่บริษัทตาเลสเป็นผู้จัดหาเรดาร์และระบบสื่อสาร คาดการณ์ว่าเรือแต่ละลำจะใช้เวลา 34 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยมีการออกแบบและก่อสร้างสำหรับเรือทั้งสองลำราคา 685 ล้านยูโร (ค่าใช้จ่ายโดยประมาณเท่ากันสำหรับเรือลำเดียวที่อิงจากเรือหลวงโอเชียน หรือยูเอสเอส แซนแอนโทนีโอ และประมาณราคาเดียวกันกับเรือสะเทินน้ำสะเทินบกชั้นโฟเดรอรุ่นก่อน ซึ่งแทนที่ครึ่งหนึ่งของขนาดของเรือชั้นมิสทราล และใช้เวลา 46.5 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ)[15]
เริ่มจากเรือดิกซ์มูเดอ, ชั้นมิสทราลส่วนที่เหลือของฝรั่งเศส และชั้นมิสทราลของรัสเซียสองลำแรกได้รับการสร้างขึ้นในแซ็ง-นาแซร์ โดยเอสทีเอกซ์ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันโดยเอสทีเอกซ์ ยุโรป, อัลสตอม และรัฐบาลฝรั่งเศส โดยเอสทีเอกซ์ ยุโรป ถือหุ้นใหญ่ ส่วนบริษัทเดเซแอนแอ็สจะจัดหาระบบการรบของเรือ[1] ทั้งนี้ ท้ายเรือของรัสเซียได้รับการสร้างขึ้นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยอู่ต่อเรือบอลติก
-
การประกอบส่วนท้ายของชั้นมิสทราล ในแบร็สต์ เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003
-
การมาถึงของส่วนหน้าของชั้นมิสทราล ในแบร็สต์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2004
ดีเรกชงเดกงสตุชชงนาแว็ลวางกระดูกงูสำหรับส่วนท้ายของเรือทั้งสองลำโดยมิสทราล วันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 และตอนแนร์ วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2002[16] ส่วนชองติเยร์เดอลัตล็องติกวางกระดูกงูส่วนหน้าของมิสทราล เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2003 และของตอนแนร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2004[17] บล็อกแรกที่ด้านหลังของตอนแนร์ได้รับการขึ้นแท่นในอู่แห้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ต.ศ. 2003 และของมิสทราลเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ส่วนท้ายเรือทั้งสองส่วนได้รับการประกอบเข้าด้วยกันในท่าเทียบเรือแห้งเดียวกัน ส่วนหน้าของมิสทราลออกจากแซ็ง-นาแซร์ ภายใต้การลากจูงเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 และมาถึงแบร็สต์เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม การรวมกันของสองส่วนผ่านกระบวนการที่คล้ายกับเทคนิคการขยายขนาดเรือได้เริ่มขึ้นที่ท่าเรือหมายเลข 9 ทั้งนี้ ส่วนหน้าของตอนแนร์มาถึงแบร็สต์เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 และดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกัน

เรือมิสทราล ได้รับการเปิดตัวตามกำหนดวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ขณะที่เรือตอนแนร์ ได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2005[18] การส่งมอบเรือมีกำหนดส่งในช่วงปลาย ค.ศ. 2005 และต้น ค.ศ. 2006 ตามลำดับ แต่ถูกเลื่อนออกไปนานกว่าหนึ่งปีเนื่องจากปัญหากับระบบเซ็นเซอร์เซนิต 9 และการเสื่อมสภาพของดาดฟ้าเสื่อน้ำมันที่ปกคลุมส่วนหน้า พวกมันได้ประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2006 และ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ตามลำดับ[18]
หมายเหตุและอ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Mistral Construction Program". Globalsecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2010.
- ↑ "Projet de loi de finances pour 2013 : Défense : équipement des forces" (ภาษาฝรั่งเศส). Senate of France. 22 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2014.
Dixmude cost France €451.6m at FY2012 prices
- ↑ "NARWHAL®". Nexter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017.
- ↑ "BPC Mistral". netmarine.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2011.
- ↑ "France Says Egypt To Buy Mistral Warships". Defense News. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2016.
- ↑ 6.0 6.1 Arnault (เมษายน 2005). Veyrat, Jean-Marie (บ.ก.). "The national concept of amphibious operations" (PDF). Objectif Doctrine. Metz: Ministry of Defence (36). ISSN 1267-7787. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 ธันวาคม 2008.
- ↑ Bulletin d'études de la Marine (PDF). มีนาคม 2006. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006.
- ↑ Terre information magazine. no. 184. พฤษภาคม 2007. ISSN 0995-6999.
- ↑ "The Future Of The Maritime Industry In Europe - The Sea Is The Future" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Fédération européenne des métallurgistes. 8 มิถุนายน 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012.
- ↑ "Navy painter André Lambert". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
- ↑ "TCD classe NTCD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2004.
- ↑ "Avis du Sénat français no 90 du 22 novembre 2001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
- ↑ "Histoire du BPC Mistral (2000 - 2006)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
- ↑ Cécile Michaut (1 มิถุนายน 2007). "Air streams on the water". Office national d'études et de recherches aérospatiales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "Marines : Mistral Shows Up LPD 17". Strategy Page. 29 พฤษภาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2008.
- ↑ "Découpe de la première tôle du Tonnerre" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2014.
- ↑ "Mistral Class – Amphibious Assault, France". naval-technology.com. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2014.
- ↑ 18.0 18.1 Saunders, Stephen, บ.ก. (2008). Jane's Fighting Ships 2008-2009. Jane's Fighting Ships (111th ed.). Coulsdon: Jane's Information Group. p. 255. ISBN 978-0-7106-2845-9. OCLC 225431774.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- Mistral class (Navy recognition). navyrecognition.com
- French Marine Nationale – Le BPC, un navire nouvelle génération
- Mistral. globalsecurity.org
- Mistral LHD. DCN.fr
- Avec le Liban, la marine valide le concept du BPC. Meretmarine.com
- Mistral LHD, A chameleon on the seas of the world. DCNS