ข้ามไปเนื้อหา

เรือยกพลขึ้นบกจู่โจม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Juan Carlos I (L-61)

เรือยกพลขึ้นบกจู่โจม (อังกฤษ: amphibious assault ship) หรือ เรือบรรทุกหน่วยจู่โจม (อังกฤษ: commando carrier)[note 1] เป็นเรือการสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกแบบหนึ่งที่ใช้ในการยกพลขึ้นบกและสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดินในดินแดนของศัตรูโดยการจู่โจมแบบสะเทินน้ำสะเทินบก[1] การออกแบบพัฒนามาจากเรือบรรทุกอากาศยานที่ดัดแปลงเพื่อใช้เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (และด้วยเหตุนี้จึงมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเรือบรรทุกอากาศยานปีกคงที่ทั่วไป) เรือสมัยใหม่รองรับเรือระบายพล โดยการออกแบบส่วนใหญ่รวมถึงอู่เรือภายใน หรืออย่างเต็มเปี่ยม เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมบางลำยังรองรับอากาศยานปีกคงที่ขึ้นลงในแนวดิ่งและระยะสั้น ซึ่งตอนนี้มีบทบาทรองในฐานะเรือบรรทุกอากาศยาน[2][3]

บทบาทของเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมนั้นแตกต่างจากเรือบรรทุกอากาศยานทั่วไป กล่าวคือ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบินมีหน้าที่หลักในการรองรับเฮลิคอปเตอร์เพื่อสนับสนุนกองกำลังขึ้นฝั่งแทนที่จะสนับสนุนอากาศยานจู่โจม อย่างไรก็ตาม บางลำมีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมทางทะเล, การจัดเครื่องบินลงเรือ เช่น แฮริเออร์หรือรุ่นเอฟ-35บี ของเครื่องบินขับไล่ไลท์นิง 2 สำหรับการบินลาดตระเวนรบ และเฮลิคอปเตอร์สำหรับการสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ หรือปฏิบัติการเป็นฐานที่ปลอดภัยสำหรับเครื่องบินขับไล่รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่งจำนวนมากที่ทำการสนับสนุนทางอากาศสำหรับหน่วยปฏิบัติการขึ้นฝั่งนอกประเทศ เรือเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังสามารถบรรทุกหรือสนับสนุนเรือระบายพลได้ เช่น ยานเบาะอากาศระบายพล (เรือโฮเวอร์คราฟต์) หรือเรือระบายพลขนาดใหญ่

กองเรือประเภทนี้ที่ใหญ่ที่สุดปฏิบัติการโดยกองทัพเรือสหรัฐ รวมถึงชั้นวอสป์ย้อนหลังไปถึงปี ค.ศ. 1989 และเรือชั้นอเมริกาที่คล้ายกันมากซึ่งเปิดตัวในปี ค.ศ. 2014 เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมยังปฏิบัติการโดยกองทัพเรือฝรั่งเศส, กองทัพเรืออิตาลี, กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี, กองทัพเรือออสเตรเลีย, กองทัพเรือบราซิล, กองทัพเรือสเปน และกองทัพเรืออียิปต์

คำว่าเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมมักใช้แทนกันได้กับการจัดชั้นเรืออื่น ๆ ซึ่งประยุกต์ใช้กับเรือการสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกดาดฟ้าเรือขนาดใหญ่ทุกลำ เช่น เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ยกพลขึ้นบก (LPH), เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (LHA) และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (LHD)[4]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในการใช้งานตามประวัติศาสตร์ เรือบรรทุกหน่วยจู่โจมไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการเรือระบายพล เช่น การแปลงเรือบรรทุกอากาศยานของอังกฤษ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Amphibious Assault Ships - LHA/LHD/LHA(R)". United States Navy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  2. "HMS Theseus". Britains-smallwars.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-06. สืบค้นเมื่อ 2013-09-03.
  3. "Juan Carlos I Landing Helicopter Dock". Naval Technology. 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-03.
  4. "The Amphibious Ready Group". United States Navy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Akimoto, Minoru (May 1994). "Aircraft carriers of Imperial Japanese Army". Ships of the World. Kaijin-sha (481): 178–181.
  • Gardiner, Robert (1980). Conway's All the World's Fighting Ships 1922-1946. Naval Institute Press. ISBN 978-0870219139.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]