เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในปี พ.ศ. 2548
ภาพรวมชั้น
ผู้สร้าง: อู่ต่อเรือเอวอนเดล, เวสต์เวโก, ลุยเซียนา, สหรัฐ
ผู้ใช้งาน:
ก่อนหน้าโดย: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา
ตามหลังโดย: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร
สร้างเมื่อ: พ.ศ. 2512–2517
ในประจำการ: พ.ศ. 2537–2560
ปลดประจำการ: 2 ลำ
เก็บรักษา: 2 ลำ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือฟริเกต
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
  • 4,065 ลองตัน (4,130 ตัน) (ปกติ)
  • 4,260 ลองตัน (4,328 ตัน) (เต็มกำลัง)
ความยาว:
ความกว้าง: 46 ฟุต 9 นิ้ว (14.25 เมตร)
กินน้ำลึก: 24 ฟุต 9 นิ้ว (7.54 เมตร)
ระบบพลังงาน:
  • 2 × หม้อต้มไอน้ำ ความดัน 1,200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (8,300 กิโลปาสกาล)
  • 1 × เครื่องจักรใหญ่กังหันไอน้ำ กำลัง 35,000 แรงม้า (26,000 กิโลวัตต์)
ระบบขับเคลื่อน:
  • 1 × กังหันไอน้ำแบบเฟือง
  • 1 × เพลา
ความเร็ว: 27 นอต (50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 31 ไมล์ต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: 250 นายทหารและพลประจำเรือ
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • 1 × เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ SPS-40B 2-D
  • 1 × เรดาร์ควบคุมการยิง SPG-53
  • 1 × โซนาร์หัวเรือ SQS-26CX
  • 1 × โซนาร์ลากท้าย SQR-18
  • 1 × ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ SLQ-32 (V) 1 passive intercept
ยุทโธปกรณ์:
  • 1 × ปืนใหญ่เรือขนาด 5 นิ้ว/54 คาลิเบอร์ Mark 45
  • 1 × ฟาลังซ์ ซีวิซขนาด 20 มม.
  • 8 × แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ ASROC
  • 4 × ระบบขีปนาวุธเอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน
  • 4 × ท่อยิงตอร์ปิโดแบบ Mark 32 พร้อมด้วยตอร์ปิโด Mark 44
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ และโรงเก็บ

เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (อังกฤษ: Phutthayotfa Chulalok-class frigate) เป็นส่วนหนึ่งของเรือฟริเกตชั้นน็อกซ์เดิมจำนวนสองลำ จากทั้งหมดสี่สิบหกลำที่ประจำการในกองทัพเรือสหรัฐในฐานะเรือคุ้มกันมหาสมุทร (เรือพิฆาตคุ้มกัน) ซึ่งในภายหลังถูกกำหนดประเภทใหม่เป็นเรือฟริเกตเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2518 และเปลี่ยนสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือจาก DE เป็น FF และมอบให้กองทัพเรือไทยในช่วงปี พ.ศ. 2537 ถึงปี พ.ศ. 2539

รายละเอียด[แก้]

เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีความยาวรวม 134 เมตร (438 ฟุต) และความยาวระดับน้ำ 126 เมตร (415 ฟุต) ความกว้าง 14.25 เมตร (46 ฟุต 9 นิ้ว) กินน้ำลึก 7.54 เมตร (24 ฟุต 9 นิ้ว) ระวางขับน้ำปกติ 4,065 ลองตัน (4,130 ตัน) และระวางขับน้ำสูงสุด 4,260 ลองตัน (4,328 ตัน) ใช้หม้อต้มไอน้ำ Combustion Engineering จำนวน 2 เครื่อง แต่ละเครื่องประกอบไปด้วยระบบอัดอากาศแรงดันสูง (ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์) แรงดัน 1,200 psi (8,300 kPa) และให้ความร้อน 1,000 องศาฟาเรนไฮต์ (538 องศาเซลเซียส) ให้กำลัง 35,000 แรงม้า (26,000 กิโลวัตต์) สำหรับขับเคลื่อนเครื่องจักรใหญ่กังหันไอน้ำ Westinghouse เชื่อมต่อกับเพลาและใบพัด ให้ความเร็ว 27 นอต (50 กิโลเมตร/ชั่วโมง, 31 ไมล์/ชั่วโมง) [1][2]

หลังจากสร้างเสร็จ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ติดตั้งปืนใหญ่เรือ Mk.42 ขนาด 127 มม./54 คาลิเบอร์ บริเวณหัวเรือ แท่นยิง ASROC จำนวน 8 แท่น (พร้อมขีปนาวุธ 16 ลูก) อยู่หลังปืนใหญ่เรือและหน้าสะพานเดินเรือ พร้อมกับท่อยิงตอร์ปิโดแบบ Mark 32 ขนาด 12.75 นิ้ว (324 มม.) แบบประจำที่ 4 แท่น ดาดฟ้าบินและโรงเก็บเครื่องบินสำหรับการปฏิบัติการของโดรนปราบเรือดำน้ำ (DASH) บริเวณท้ายเรือ[3][4] ต่อมาพื้นที่ดาดฟ้าบินและโรงเก็บเครื่องบินได้รับการปรับปรุงและขยายพื้นที่ในปี พ.ศ. 2513 เพื่อรองรับเฮลิคอปเตอร์แบบ Kaman SH-2D Seasprite ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถรอบรังการขนส่งบุคคลได้[5]

ประวัติการประจำการ[แก้]

กองทัพเรือไทยได้เช่าเรือ USS Truett จากสหรัฐในปี พ.ศ. 2537 หลังจากเรือเข้ารับการปรับปรุงและยืดอายุการใช้งานด้วยงบประมาณ 14 ล้านดอลลาร์ และได้ซื้อเรือ USS Ouellet และ USS Truett มือสองจากสหรัฐในปี พ.ศ. 2539 และ 2542 และกำหนดชื่อให้เรือทั้งสอง โดยเรือ USS Truett กำหนดชื่อว่า เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (FFG-461) และเรือ USS Ouellet กำหนดชื่อว่า เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย (FFG-462) [6][1][2]

ปัจจุบัน เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปลดประจำการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560[7][8] และ เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ปลดประจำการในปี พ.ศ. 2560[9][10]

จากนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 กองทัพเรือได้นำเรือ เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย มาทอดสมออยู่ในบริเวณกลางอ่าวสัตหีบและเปิดให้ประชาชนได้ขึ้นชมในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์เรือ บนเรือประกอบไปด้วยนิทรรศการ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ รวมถึงทิวทัศน์ของอ่าวสัตหีบ เรือหลวงจักรีนฤเบศร และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชที่จอดเทียบท่าอยู่ เปิดให้เข้าชมในวันจันทร์ - ศุกร์ วันละ 1 เที่ยว และวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ วันละ 2 รอบ เสียค่าใช้จ่ายเพียงแค่ค่าเรือจากฝั่งไปยังเรือเท่านั้น[11]

ต่อมาในต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 กองทัพเรือได้หยุดการให้เข้าชม เนื่องจากมีการทักท้วงจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกองทัพเรือ เนื่องจากเรือทั้งสองลำนั้นเคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐมา ก่อนจะปลดประจำการมาใช้งานในกองทัพเรือไทยผ่านการขายในรูปแบบการช่วยเหลือทางการทหาร การจะดำเนินการใด ๆ กับตัวเรือจะต้องแจ้งและขออนุญาตไปทางสหรัฐตามระเบียบและขั้นตอน[11]

เรือในชุด[แก้]

ชื่อเดิม ชื่อใหม่ หมายเลขใหม่ สร้างโดย ปล่อยลงน้ำ ประจำการ ทร.สหรัฐ ปลดประจำการ ทร.สหรัฐ ทร.ไทย จัดซื้อ ปลดประจำการจาก ทร.ไทย
USS Truett (FF-1095) เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก FFG-461 อู่ต่อเรือเอวอนเดล, เวสต์เวโก, ลุยเซียนา 27 เมษายน 2515 1 มิถุนายน 2517 30 กรกฎาคม 2537 9 ธันวาคม 2542 28 กันยายน 2560[8][7]
USS Ouellet (FF-1077) เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย FFG-462 15 มกราคม 2512 12 ธันวาคม 2513 6 สิงหาคม 2536 27 พฤศจิกายน 2539 2560

เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก[แก้]

เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (อังกฤษ: HTMS Phutthayotfa Chulalok) ตั้งชื่อตามปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งกองทัพเรือไทยเช่าเรือลำนี้จากกองทัพเรือสหรัฐครั้งแรกหลังจากถูกปลดประจำการเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และซื้อเรือลำนี้มาประจำการในกองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2542

เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย[แก้]

เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย (อังกฤษ: HTMS Phutthaloetla Naphalai) ตั้งชื่อตามกษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งกองทัพเรือไทยซื้อต่อจากกองทัพเรือสหรัฐหลังปลดประจำการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2536 และทำการซ่อมแซมครั้งใหญ่ภายใต้งบประมาณ 14 ล้านเหรียญสหรัฐที่อู่ต่อเรือ Cascade General เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน และเดินทางมายังประเทศไทยในปี พ.ศ. 2541[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Navsource Ouellet 2017.
  2. 2.0 2.1 Navsource Truett 2017.
  3. Blackman 1971, p. 481.
  4. Gardiner & Chumbley 1995, pp. 598–599.
  5. Moore 1985, p. 717.
  6. Military-Today.
  7. 7.0 7.1 "แข็งแกร่ง ล้ำสมัย! ยลโฉม "ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช" เขี้ยวเล็บลำใหม่ทัพเรือไทย (คลิป)". www.thairath.co.th. 2019-04-26.
  8. 8.0 8.1 "ทัพเรือ เตรียม ขอ สหรัฐฯ จม 2 เรือรบโบราณ "เรือพุทธยอดฟ้าฯ-เรือพุทธเลิศหล้าฯ"หลังค่าใช้จ่าย ในการทำเป็น พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ ไม่คุ้มค่า". LLpch.news - LapLuangPrangChannel.com. 2021-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-12. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  9. "ทร.เปิดแหล่งเรียนรู้เชิงท่องเที่ยว "เรือพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" ให้ชมแล้ว". www.thairath.co.th. 2020-09-22.
  10. "เปิดเหตุผลชะลอขึ้นชม "ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" กลางอ่าวสัตหีบ". Thai PBS.
  11. 11.0 11.1 "เปิดเหตุผลชะลอขึ้นชม "ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" กลางอ่าวสัตหีบ". Thai PBS.
  12. Cascade.

บรรณานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Friedman, Norman (1997). The Naval Institute Guide to World Naval Weapon Systems 1997–1998. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 1-55750-268-4.
  • Prézelin, Bernard; Baker III, A.D., บ.ก. (1990). The Naval Institute Guide to Combat Fleets of the World 1990/91:Their Ships, Aircraft and Armament. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 0-87021-250-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Photo gallery of USS Truett (DE 1095) at NavSource Naval History Photo gallery of USS Ouellet (DE 1077) at NavSource Naval History