ข้ามไปเนื้อหา

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือ YP-505 เป็นเรือฝึกตรวจการณ์ ประจำการที่โรงเรียนนายเรือสหรัฐ, แอนแนโพลิส

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ (อังกฤษ: Hull classification symbol) คือสัญลักษณ์ในการจัดประเภทของเรือ (บางครั้งถูกเรียกว่า รหัสตัวเรือ หรือ หมายเลขตัวเรือ) ถูกใช้งานโดยกองทัพเรือสหรัฐ หน่วยยามฝั่งสหรัฐ และองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เพื่อระบุเรือตามประเภทของเรือและภารกิจย่อยของเรือประเภทนั้น ๆ ระบบนี้คล้ายคลึงกับระบบหมายเลขชายธงที่ราชนาวีอังกฤษและกองทัพเรือในยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพใช้งาน

ประวัติ

[แก้]

กองทัพเรือสหรัฐ

[แก้]

กองทัพเรือสหรัฐฯ เริ่มกำหนดหมายเลขประจำตัวทะเบียนเรือ (Naval Registry Identification Numbers) ให้กับเรือรบของตนในทศวรรษที่ 1890 เป็นระบบที่เรือแต่ละลำ จะได้รับหมายเลขซึ่งต่อท้ายประเภทเรือ สะกดชื่อแบบเต็ม และเพิ่มวงเล็บหลังชื่อเรือเมื่อเห็นว่าจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนระหว่างเรือ

ตัวอย่างชื่อเรือในระบบนี้ เช่น

  • เรือประจัญบานอินเดียน่า คือ ยูเอสเอส อินเดียน่า (เรือเรือประจัญบาน หมายเลข 1) (USS Indiana (Battleship No.1))
  • เรือลาดตระเวนโอลิมเปีย คือ ยูเอสเอส โอลิมเปีย (เรือลาดตระเวน หมายเลข 6) (USS Olympia (Cruiser No. 6))

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 เรือบางลำยังถูกเรียกอีกทางหนึ่งด้วยรหัสตัวอักษรเดี่ยว หรือรหัสสามตัวอักษร ตัวอย่างเช่น ยูเอสเอส อินเดียน่า (เรือประจัญบาน หมายเลข 1) อาจเรียกว่า ยูเอสเอส อินเดียน่า (B-1) และ ยูเอสเอส โอลิมเปีย (เรือลาดตระเวน หมายเลข 6) อาจเรียกว่า ยูเอสเอส โอลิมเปีย (C-6) ในขณะที่ ยูเอสเอส เพนซิลเวเนีย (เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะ หมายเลข 4) อาจเรียกว่า ยูเอสเอส เพนซิลเวเนีย (ACR-4) อย่างไรก็ตาม แทนที่จะมีการใช้งานระบบรหัสใหม่แทนที่ของเก่า รหัสเหล่านี้กลับยังถูกใช้ร่วมกันและถูกใช้สลับกัน จนกระทั่งระบบแบบใหม่ถูกคิดและใช้งานขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2463[1]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ซื้อเรือและเรือพาณิชย์และเรือส่วนตัวจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้เป็นเรือลาดตระเวน เรือสงครามทุ่นระเบิด และเรือช่วยรบในการสนับสนุนเรือรบต่าง ๆ บางลำมีชื่อเหมือนกัน เพื่อง่ายต่อการติดตามเรือเหล่านั้นทั้งหมด กองทัพเรือสหรัฐได้กำหนดหมายเลขประจำตัวเฉพาะให้กับเรือเหล่านั้น เรือที่เห็นว่าเหมาะสมสำหรับงานลาดตระเวนจะได้รับหมายเลขส่วนการลาดตระเวน (Section patrol: SP) ในขณะที่เรือที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอื่น ๆ จะได้รับ "หมายเลขประจำตัว" โดยทั่วไปจะใช้ตัวย่อว่า "หมายเลขรหัส" หรือ "รหัส" เรือและพาหนะทางน้ำบางลำเปลี่ยนจาก SP เป็นหมายเลขรหัส หรือจากหมายเลขรหัสเปลี่ยนเป็น SP โดยไม่มีการเปลี่ยนเลขเฉพาะของตัวเรือเอง และเรือและพาหนะทางน้ำบางลำที่ได้รับการกำหนดหมายเลข เพื่อรอการเข้าประจำการทางเรือแต่กลับไม่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐ การกำหนดหมายเลข SP และเลขรหัสนั้น เป็นการกำหนดจากส่วนกลางและเป็นการกำหนดแบบรันต่อเนื่องกันโดยไม่ใช้ร่วมกันในทั้ง 2 รูปแบบ ตัวอย่างเช่น ทั้ง "SP-435" และ "Id No. 435" หมายเลข SP และรหัส จะถูกใช้ในวงเล็บหลังชื่อเรือแต่ละลำซึ่งเป็นคนละลำเพื่อใช้ระบุตัวตน แม้ว่าระบบนี้จะใช้การลงวันที่ล่วงหน้าเช่นเดียวกับระบบการจัดประเภทลำเรือสมัยใหม่ แต่หมายเลขของมันไม่ได้ถูกเรียกในขณะนั้นว่า "รหัสตัวเรือ" หรือ "หมายเลขตัวเรือ" แต่ก็มีการใช้งานในลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับระบบปัจจุบันและถือได้ว่าเป็นต้นแบบของระบบเหล่านั้น[2]

กองเรือรัษฎากรสหรัฐและยามฝั่งสหรัฐ

[แก้]

กองเรือรัษฎากรสหรัฐ (United States Revenue Cutter Service) ได้รวมเข้ากับ หน่วยช่วยชีวิตของสหรัฐ (United States Lifesaving Service) ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2458 เพื่อก่อตั้งหน่วยยามฝั่งสหรัฐที่ทันสมัย โดยเปลี่ยนแปลงภายหลังที่กองทัพเรือได้เริ่มกำหนดหมายเลขประจำตัวทะเบียนเรือรบในทศวรรษ 1890 โดยเรือของยามฝั่งสหรัฐแบบคัตเตอร์มีหมายเลขในวงเล็บเรียกว่าหมายเลขประจำตัวทะเบียนเรือตามหลังชื่อ เช่น (Cutter No. 1) ฯลฯ ระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ จนกระทั่งระบบการจัดประเภทตัวเรือที่ทันสมัยของกองทัพเรือสหรัฐเริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2463 ซึ่งรวมถึงเรือยามฝั่งและพาหนะทางน้ำอื่น ๆ ของหน่วย

หน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ของสหรัฐ

[แก้]

เช่นเดียวกับกองทัพเรือสหรัฐฯ หน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการเดินเรือในนามของรัฐบาลสหรัฐ และเป็นหน่วยงานก่อนหน้าของ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ได้ใช้ระบบหมายเลขตัวเรือสำหรับกองเรือของตนในศตวรรษที่ 20 เรือที่ใหญ่ที่สุดซึ่งเป็นเรือสำรวจสมุทรศาสตร์ "หมวดที่ 1" ถูกจัดประเภทเป็น "เรือสำรวจสมุทรศาสตร์" และได้รับการตั้งชื่อว่า "OSS" สำหรับเรือสำรวจสมุทรศาสตร์ "หมวดที่ 2" ได้รับการกำหนด "MSS" โดยใช้สำหรับ "เรือสำรวจขนาดกลาง" และเรือสำรวจสมุทรศาสตร์ "หมวดที่ 3" มีขนาดเรือที่เล็กกว่า ได้รับการจัดเป็นประเภท "CSS" และหมวดที่ 4 "เรือสำรวจชายฝั่ง" นั้นใช้ชื่อว่า "ASV" สำหรับ "เรือเสริมในการสำรวจ" รวมถึงเรือที่มีขนาดเล็กกว่าด้วย

ในแต่ละกรณี เรือแต่ละลำจะได้รับการกำหนดหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน ตามหมวดหมู่ของการจัดประเภท และหมายเลขลำเรือที่ไม่ซ้ำกันซึ่งคั่นด้วยช่องว่างแทนที่จะเป็นเครื่องหมายขีด ตัวอย่างเช่น

เรือสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ลำที่สามชื่อ Pioneer เป็นเรือสำรวจมหาสมุทรที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการในชื่อ USC&GS Pioneer (OSS 31)[3][4] ซึ่งภายหลังการก่อตั้ง NOAA ระบบการใช้ชื่อแบบของหน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ยังคงมีอยู่ และมีอำนาจการดูแลเหนือกองเรือสำรวจเดิมเหล่านั้น จนกระทั่งในภายหลัง NOAA ได้เปลี่ยนเป็นระบบการจัดประเภทตัวเรือที่ทันสมัยอย่างในปัจจุบัน

องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ

[แก้]

หน่วยบริหารปลาและสัตว์ป่า ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 และจัดโครงสร้างใหม่เป็นองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ (USFWS) ในปี พ.ศ. 2499 ใช้ระบบหมายเลขตัวเรือสำหรับเรือวิจัยการประมงและเรือลาดตระเวน ประกอบด้วย "FWS" ตามด้วยหมายเลขระบุเฉพาะ ในปี พ.ศ. 2513 NOAA เข้าควบคุมเรือเดินทะเลของสำนักงานประมงพาณิชย์ของ USFWS โดยในฐานะที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือ NOAA ท้ายที่สุดกองเรือเดิมเหล่านั้นก็ได้รับการจัดประเภทใหม่ภายใต้ระบบหมายเลขตัวเรือของ NOAA

ระบบการจัดประเภทตัวเรือสมัยใหม่

[แก้]

กองทัพเรือสหรัฐ

[แก้]

กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้คิดค้นและใช้งานระบบการจัดประเภทลำเรือที่สมัยใหม่ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 โดยยกเลิกหมายเลขหมวดลาดตระเวน "หมายเลขประจำตัว" และระบบหมายเลขอื่น ๆ ที่อธิบายไว้ข้างต้น ในระบบใหม่ สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือทั้งหมดต้องมีตัวอักษรอย่างน้อยสองตัว โดยในประเภทพื้นฐาน สัญลักษณ์ คืออักษรตัวแรกของชื่อประเภท สองตัว ยกเว้นในเรือบรรทุกเครื่องบิน

การรวมกันของสัญลักษณ์และหมายเลขตัวเรือ ระบุถึงเรือของกองทัพเรือสมัยใหม่ที่ไม่เหมือนใคร เรือที่ได้รับการปรับแต่งซ่อมบำรุงอย่างหนักหรือดัดแปลงใหม่อาจจะได้รับสัญลักษณ์ใหม่แต่ยังคงหมายเลขลำเรือไว้ หรือได้รับสัญลักษณ์ใหม่ทั้งชุด ตัวอย่างเช่น เรือลาดตระเวนปืนหนัก ยูเอสเอส บอสตัน (CA-69) ถูกแปลงให้กลายเป็นเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถี โดยเปลี่ยนหมายเลขตัวเรือเป็น CAG-1 นอกจากนี้ ระบบของสัญลักษณ์ยังมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งทั้งตั้งแต่เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2450 จนกระทั่งระบบสมัยใหม่เริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2463 ดังนั้น ในบางครั้งสัญลักษณ์ของเรือจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ได้ดำเนินการปรับแต่งหรือติดตั้งอะไรเพิ่มเติมกับตัวเรือรบจริง ๆ[5]

หมายเลขตัวเรือจะกำหนดขึ้นตามการจัดประเภทตัวเรือ โดยสามารถใช้หมายเลขซ้ำได้ในระหว่างประเภท อาทิ CV-1 คือเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส แลงลีย์ และ BB-1 เป็นเรือประจัญบาน ยูเอสเอส อินเดียน่า

ประเภทของเรือและการจัดประเภทของเรือมีการใช้งานและหายไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสัญลักษณ์ต่างๆ จำนวนมากด้านล่างนี้ที่ไม่ได้ถูกใช้งานในปัจจุบัน ทะเบียนเรือของกองทัพเรือสหรัฐได้เก็บรักษาข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์ของเรือในกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งแสดงสัญลักษณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปี พ.ศ. 2518 กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้กำหนดให้ "เรือฟริเกต" เป็นเรือรบผิวน้ำประเภทหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเรือพิฆาตและเล็กกว่าเรือลาดตระเวน ในกองทัพเรืออื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วเรือดังกล่าวจะเรียกว่า "เรือบัญชาการ" (Flotilla leader) หรือ "เรือคุ้มกันเรือพิฆาต" (Destroyer leader) ด้วยเหตุนี้ กองทัพเรือสหรัฐฯ จึงใช้ "DL" สำหรับ "เรือฟริเกต" ในช่วงก่อนปี 1975

ในขณะที่ "เรือฟริเกต" ในกองทัพเรืออื่นๆ มีขนาดเล็กกว่าเรือพิฆาต และคล้ายกับสิ่งที่กองทัพเรือสหรัฐฯ เรียกว่า "เรือพิฆาตคุ้มกัน" (Destroyer escort) และ "เรือคุ้มกันมหาสมุทร" (Ocean escort) หรือ "DE"

ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการจัดประเภทเรือใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยเรือลาดตระเวน เรือฟริเกต และเรือคุ้มกันมหาสมุทร ถูกนำมาจัดประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับการจัดประเภทของประเทศอื่น ๆ เพื่อความเข้าใจที่ง่ายและชัดเจนขึ้นของชื่อเรียก และช่วยลด "ช่องว่างของเรือลาดตระเวน" กับกองทัพเรือโซเวียต ด้วยการกำหนดใหม่ให้เรือที่แต่เดิมถูกกำหนดให้เป็น "เรือฟริเกต" เปลี่ยนเป็น "เรือลาดตระเวน"

กองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ

[แก้]

หากสัญลักษณ์การจัดประเภทลำเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ ขึ้นต้นด้วย "T-" แสดงว่าเป็นส่วนหนึ่งของกองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ (Military Sealift Command) มีลูกเรือส่วนใหญ่เป็นพลเรือน และเป็นเรือ "เรือเดินสมุทรสหรัฐ" (United States Naval Ship: USNS) ที่ไม่ได้อยู่ในกองเรือประจำการ ตรงข้ามกับ "เรือรบสหรัฐ" (United States Ship: USS) ที่มีลูกเรือเป็นทหารทั้งหมด

ยามฝั่งสหรัฐ

[แก้]

หากสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือขึ้นต้นด้วย "W" แสดงว่าเป็นเรือคัตเตอร์ในประจำการของหน่วยยามฝั่งของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 หน่วยยามฝั่งใช้รูปแบบรหัสการจัดประเภทตัวเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยขึ้นต้นด้วย "W" ในปี พ.ศ. 2508 หน่วยยามฝั่งสหรัฐได้ยกเลิกการจำแนกประเภทตามภารกิจของกองทัพเรือเนื่องจากไม่ตรงกับภารกิจของตัวเอง และพัฒนารูปแบบประเภทใหม่ของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง WHEC สำหรับ "เรือคัตเตอร์ความทนทานสูง" และ WMEC สำหรับ "เรือคัตเตอร์ความทนทานปานกลาง"

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ

[แก้]

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รวมถึง National Oceanic and Atmospheric Administration Commissioned Officer Corps (หรือ "NOAA Corps") ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดของหน่วยงานบริการในเครื่องแบบของสหรัฐอเมริกา และ ดำเนินการเกี่ยวกับเรือวิจัยและสำรวจทางทะเล กองเรือของ NOAA ยังใช้ระบบสัญลักษณ์จัดประเภทตัวเรือ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "หมายเลขตัวเรือเรือ" สำหรับเรือของตน

หลังจาก NOAA เข้ารับช่วงดูแลเรือของหน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ของสหรัฐ และ สำนักประมงพาณิชย์ องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2513 หน่วยงานก็ได้นำระบบการจัดประเภทเรือแบบใหม่มาใช้ โดยในระบบนี้ กองเรือ NOAA แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ เรือวิจัย และเรือสำรวจ

เรือวิจัย ซึ่งรวมถึงเรือวิจัยสมุทรศาสตร์และการประมง จะได้รับหมายเลขตัวเรือที่ขึ้นต้นด้วย "R" ในขณะที่เรือสำรวจ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นเรือสำรวจอุทกศาสตร์ จะได้รับหมายเลขตัวเรือที่ขึ้นต้นด้วย "S" โดยตัวอักษรนั้น จะถูกตามด้วยตัวเลขจำนวนสามหลัก ตัวเลขหลักแรกระบุ "ชั้น" (เช่น ขนาด) ของเรือ NOAA ซึ่งแบ่งตามน้ำหนักรวมและแรงม้าของเรือ ในขณะที่ตัวเลขสองหลักถัดไป จะถูกรันต่อจากหลักแรกเพื่อสร้างหมายเลขระบุตัวตนสามหลักที่ไม่ซ้ำกัน

โดยทั่วไป หมายเลขตัวเรือของ NOAA แต่ละหมายเลขจะถูกเขียนและเว้นช่องว่างระหว่างตัวอักษรและตัวเลขสามหลัก เช่น NOAAS Nancy Foster (R 352) หรือ NOAAS Thomas Jefferson (S 222)[6]

แตกต่างกับในระบบของกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อเรือ NOAA รุ่นเก่าปลดจากประจำการ เรือที่ใหม่กว่าจะได้รับหมายเลขตัวเรือเดียวกัน ตัวอย่างเช่น "S 222" ถูกกำหนดให้กับ NOAAS Mount Mitchell (S 222) จากนั้นมอบหมายให้ NOAAS Thomas Jefferson (S 222) ซึ่งเข้าประจำการ NOAA หลังจากที่ Mount Mitchell ถูกเลิกใช้งาน

รหัสการจัดประเภทตัวเรือของกองทัพเรือสหรัฐ

[แก้]

ระบบการกำหนดชื่อเรือแบบตัวอักษรและตัวเลขของกองทัพเรือสหรัฐฯพร้อมกับหมายเลขลำเรือ เป็นการพยายามที่จะการกำหนดอัตลักษณ์เพื่อจัดหมวดหมู่เรือทุกประเภทมาเป็นเวลาหลายสิบปี อาทิ เรือผิวน้ำ เรือช่วยรบ และเรือลากจูง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและขยายรูปแบบออกไปมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ระบบนี้ยังคงมีการใช้งานที่คงเดิมมาตั้งแต่เริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2463 โดยมันยังคงเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการและใช้ระบุตัวตนสำหรับการติดตามเรือรบเหล่านี้ในทะเล และยังถูกใช้เป็นหมายเลขสำหรับติดแสดงบริเวณหัวเรือ (และในหลายลำที่ติดอยู่ในบริเวณท้ายเรือ) ของเรือส่วนใหญ่ในกองทัพเรือสหรัฐ

การกำหนดชื่อเรือและระบบหมายเลขตัวเรือนั้นต้องย้อนกลับไปถึงช่วงปลายทศวรรษ 1880 เมื่อหมายเลขประจำประเภทเรือได้ถูกกำหนดให้กับเรือรบที่สร้างใหม่ส่วนใหญ่ของ "สตีลนาวี" รุ่นใหม่ ซึ่งในช่วงสามสิบปีต่อมา หมายเลขเดียวกันนี้ถูกรวมเข้ากับรหัสการจัดเก็บข้อมูลเรือที่เจ้าหน้าที่ธุรการของกองทัพเรือใช้เพื่อสร้างระบบการจัดประเภทตัวเรือในเวอร์ชันที่ยังไม่เป็นทางการซึ่งจะถูกเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2463 โดยการใช้หมายเลขเฉพาะของเรือนั้นมีจุดเริ่มต้นที่ต้องย้อนกลับไปจนถึงยุคที่โด่งดังที่สุดอย่าง เรือปืน "Jeffersonian" ในช่วงต้นทศวรรษ 1800 และเรือปืน "Tinclad" ของกองเรือมิสซิสซิปปีในสงครามกลางเมือง

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ต้องเข้าใจว่าตัวอักษรและตัวเลขบนตัวเรือนั้นไม่ใช่ตัวย่อ และไม่ควรที่จะถือเป็นตัวย่อในการจำแนกประเภทของเรือ ดังนั้น "DD" จึงไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่า "Destroyer (เรือพิฆาต)" "SS" หมายถึง "Submarine (เรือดำน้ำ)" และ "FF" คือรหัสประเภทที่ถูกกำหนดขึ้นหลังปี พ.ศ. 2518 สำหรับ "Frigate (เรือฟริเกต)"[7]

รหัสการจัดประเภทตัวเรือสำหรับเรือที่เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐนั้น อยู่ภายใต้คำสั่งเลขานุการกองทัพเรือ 5030.8B[8]

เรือรบ

[แก้]

เรือรบนั้นถูกออกแบบมาสำหรับเข้าร่วมปฏิบัติการในการรบ โดยที่มาของสองตัวอักษรนั้นมาจากความต้องการในการจัดประเภทย่อย ๆ ของเรือลาดตระเวนแบบต่าง ๆ

ประเภทของเรือ ประเภทย่อยของเรือ รหัสประเภทตัวเรือ
เรือประจัญบาน เรือติดอาวุธหนัก (–2505) BB
เรือลาดตระเวน เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะ (2464–2474)

เรือลาดตระเวนหนัก (2474–2518)

CA
เรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ (–2490) CB
เรือลาดตระเวนประจัญบาน

เรือลาดตระเวนบัญชาการ (–2504)

CC
เรือลาดตระเวนเบา (–2493) CL
เรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบิน CV
เรือพิฆาต เรือพิฆาต DD
เรือพิฆาตคุ้มกัน DE

ประเภทเรือบรรทุกเครื่องบิน

[แก้]

เรือบรรทุกเครื่องบินเป็นเรือที่ออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติการรบโดยอากาศยาน ซึ่งทำการโจมตีเป้าหมายทางอากาศ ผิวน้ำ ใต้ผิวน้ำ และชายฝั่ง โดยมีความเชื่อว่าการจัดประเภทตัวเรือ "CV" มาจากคำว่า "Carrier vessel (เรือขนส่ง)" ซึ่งอันที่จริง "CV" มาจากการตั้งชื่อตามประเภทเรือลาดตระเวน โดยมีทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับความนิยมว่า V มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า voler แปลว่า "บิน (to fly)" แต่ทฤษฎีนี้ไม่เคยผ่านการพิสูจน์อย่างแน่ชัด[9][10] ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ใช้อักษร V มานานแล้วสำหรับอากาศยานประเภทหนักกว่าอากาศ[11] (Heavier-than-air Aircraft) และอาจมาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า volplane ที่แปลว่าการบินร่อน[12][13] เรือบรรทุกเครื่องบินถูกกำหนดรหัสการจัดประเภทตัวเรือเป็นสองลำดับ: ลำดับแรกเริ่มจาก CV-1 ยูเอสเอส แลงลีย์ ไปจนถึงเรือลำล่าสุด และลำดับที่สอง "CVE" สำหรับเรือบรรทุกคุ้มกัน เริ่มจาก CVE-1 ยูเอสเอส ลองไอส์แลนด์ ไปจนถึง CVE-127 ยูเอสเอส โอกินาวา ก่อนที่จะถูกยกเลิก

  • เรือยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์ ฟอร์ด (CVN-78) เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์
    AV: เรือพี่เลี้ยงอากาศยานหนักกว่าอากาศ, ต่อมาเปลี่ยนเป็น เรือพี่เลี้ยงเครื่องบินทะเล (เลิกใช้งาน)
  • AVD: เรือพิฆาตพี่เลี้ยงเครื่องบินทะเล (เลิกใช้งาน)[14]
  • AVP: เรือพี่เลี้ยงเครื่องบินทะเลขนาดเล็ก (เลิกใช้งาน)
  • AZ: เรือพี่เลี้ยงอากาศยานเบากว่าอากาศ, ใช้กับเรือเหาะ (เลิกใช้งาน) (2463–2466)[A 1]
  • AVG: เรือพี่เลี้ยงอากาศยานอเนกประสงค์ (นำไปดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน) (2484–2485)
  • AVT (i) เรือขนส่งอากาศยานสนับสนุน (เลิกใช้งาน)
  • AVT (ii) เรือฝึกลงจอดอากาศยานสนับสนุน (เลิกใช้งาน)
  • ACV: เรือบรรทุกเครื่องบินสนับสนุน (เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน, ถูกแทนที่โดย CVE) (2485)
  • CV: เรือบรรทุกเครื่องบินประจำกองเรือ (2464–2518), เรือบรรทุกเครื่องบินอเนกประสงค์ (2518–ปัจจุบัน)
  • CVA: เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี (รวมเป็นหมวดหมู่ CV, 30 มิถุนายน 2518)
  • CV (N) : เรือบรรทุกเครื่องบินกลางคืน (ดาดฟ้าพร้อมไฟส่องสว่างและนักบินที่ได้รับการฝึกฝนสำหรับการต่อสู้ในเวลากลางคืน) (2487) (เลิกใช้งาน)
  • CVAN: เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ (รวมเป็นหมวดหมู่ CVN, 30 มิถุนายน 2518)
  • CVB: เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ (ชั้น ยูเอสเอส มิดเวย์ เดิม, รวมเป็นหมวดหมู่ CVA, 2495)
  • CVE: เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน (เลิกใช้งาน) (2486–ยกเลิกใช้งานประเภท)
  • CVHA: เรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์จู่โจม (เลิกใช้งาน โดยมีหลายลำเปลี่ยนไปใช้รหัสตัวเรือ LH ของเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม)
  • CVHE: เรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์คุ้มกัน (เลิกใช้งาน)
  • CVL: เรือบรรทุกเครื่องบินเบา หรือ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก (เลิกใช้งาน)[15][16][17]
  • CVN: เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์
  • CVS: เรือบรรทุกเครื่องบินต่อต้านเรือดำน้ำ (เลิกใช้งาน)
  • CVT: เรือบรรทุกเครื่องบินฝึก (เปลี่ยนเป็น AVT (ช่วยรบ))
  • CVU: เรือบรรทุกเครื่องบินอเนกประสงค์ (เลิกใช้งาน)
  • CVG: เรือบรรทุกเครื่องบินติดอาวุธปล่อยนำวิถี (เลิกใช้งาน)
  • CF: เรือลาดตระเวนดาดฟ้าบิน (ประมาณปี 2473, เลิกใช้งาน ไม่ได้ใช้งาน)
  • CVV:[18] เรือบรรทุกเครื่องบินอเนกประสงค์ขนาดกลาง (เลิกใช้งาน ไม่ได้ใช้งาน)

ประเภทเรือผิวน้ำ

[แก้]

เรือผิวน้ำคือเรือที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับกองกำลังของข้าศึกในทะเลเปิดเป็นหลัก เรือผิวน้ำหลัก ๆ ได้แก่ เรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน และเรือพิฆาต เรือประจัญบานมีอาวุธหนักและเกราะที่หนามาก เรือลาดตระเวนมีอาวุธและเกราะพอสมควร ส่วนเรือพิฆาตและเรือรบขนาดเล็กมีอาวุธและเกราะน้อยกว่าสองประเภทข้างต้น ก่อนปี พ.ศ. 2463 เรือถูกเรียกว่า "<type> no. X" (<ประเภท> หมายเลข X) โดยประเภทจะอ่านออกเสียงแบบเต็มประโยค ซึ่งประเภทมักถูกย่อในรายการเรือ เป็น "B-X", "C-X", "D-X" และอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ก่อนปี 2463 ยูเอสเอส มินนิโซตา (BB-22) จะถูกเรียกว่า "ยูเอสเอส มินนิโซตา, เรือประจัญบาน หมายเลข 22" ด้วยการอ่าน และ "ยูเอสเอส มินนิโซตา บี-22" ด้วยการเขียนหรือพิมพ์แบบลายลักษณ์อักษร หลังปี 2463 ชื่อเรือจะถูกเขียนและอ่านว่า "ยูเอสเอส มินนิโซตา (บี-22)" โดยการลดขนาดชื่อเรียกนั้น จะแบ่งเป็นประเภทคือ:

  • เรือยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) เป็นเรือประจัญบาน
    ACR: เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะ (ก่อนปี 2463)
  • AFSB: เรือฐานทัพเรือลอยน้ำส่วนหน้า (เปลี่ยนเป็น MLP (เรือขนส่งกำลังยกพลขึ้นบก), ESD และ ESB))
  • B: เรือประจัญบาน (ก่อนปี 2463)
  • BB: เรือประจัญบาน
  • BBG: เรือประจัญบานติดอาวุธปล่อยนำวิถี หรือ เรือ arsenal ship (ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน)[A 2]
  • BM: เรือมอนิเตอร์ (2463–ปลดระวาง)
  • C: เรือลาดตระเวน (ก่อนปี 2463 คือเรือลาดตระเวนคุ้มกัน และเรือลาดตระเวนเพื่อสันติ)
  • CA: (ชุดแรก) เรือลาดตะเวนหุ้มเกราะ (เลิกใช้งานแล้ว ประกอบด้วยเรือลาดตะเวนหุ้มเกราะและลาดตระเวนป้องกันทั้งหมดที่ยังหลงเหลืออยู่ก่อนปี 2463)
  • CA: (ชุดที่สอง) เรือลาดตระเวนหนัก, ชื่อต่อมาคือเรือลาดตระเวนปืน (เลิกใช้งาน)
  • CAG: เรือลาดตระเวนหนักติดอาวุธปล่อยนำวิถี (เลิกใช้งาน)
  • CB: เรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ (เลิกใช้งาน)[A 3]
  • CBC: เรือลาดตระเวนบัญชาการขนาดใหญ่ (ไม่เคยใช้งานจริง)[A 4]
  • CC: (ใช้งานครั้งแรก) เรือลาดตระเวนประจัญบาน (ไม่เคยใช้งานจริง)[A 5]
  • CC: (ใช้งานครั้งที่สอง) เรือลาดตระเวนบัญชาการ (เลิกใช้งาน)
  • CLC: เรือลาดตระเวนเบาบัญชาการ (เลิกใช้งาน)[A 6]
  • CG: เรือลาดตระเวนติดอาวุธปล่อยนำวิถี
  • CGN: เรือลาดตระเวนติดอาวุธปล่อยนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์: ยูเอสเอส ลองบีช (CGN-9) และ ยูเอสเอส เบนบริดจ์ (CGN-25)
  • CL: เรือลาดตระเวนเบา (เลิกใช้งาน)
  • CLAA: เรือลาดตระเวนเบาต่อต้านอากาศยาน (เลิกใช้งาน)
  • CLD: เรือลาดตระเวนเบาพิฆาต (ไม่เคยใช้งานจริง)
  • CLG: เรือลาดตระเวนเบาติดอาวุธปล่อยนำวิถี (เลิกใช้งาน)
  • CLGN: เรือลาดตระเวนเบาติดอาวุธปล่อยนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์ (ไม่เคยใช้งานจริง)
  • CLK: เรือลาดตระเวนล่าและปราบเรือดำน้ำ (ไม่เคยใช้งานจริง)[A 7]
  • CM: เรือลาดตระเวนทุ่นระเบิด (เลิกใช้งาน)
  • CS: เรือลาดตระเวนตรวจการณ์ (เลิกใช้งาน)
  • CSGN: เรือลาดตระเวนโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์ (ไม่เคยใช้งานจริง)
  • D: เรือพิฆาต (ก่อนปี 2463)
  • DD: เรือพิฆาต
  • DDC: เรือคอร์เวต (มีการเสนอ ในช่วงสั้น ๆ กลางทศวรรษที่ 1950)[19]
  • DDE: เรือพิฆาตคุ้มกัน, เรือพิฆาต (DD) ที่ดัดแปลงสำหรับสงครามปราบเรือดำน้ำ – รหัสประเภทถูกยกเลิกในปี 1962 (อย่าสับสนกับเรือพิฆาตคุ้มกัน DE)
  • DDG: เรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี
  • DDK: เรือพิฆาตล่าและปราบเรือดำน้ำ (รหัสประเภทรวมเข้ากับ DDE,เมื่อ 4 มีนาคม 2493)
  • DDR: เรือพิฆาตเรดาร์เตือนภัย (เลิกใช้งาน)
  • DE: เรือพิฆาตคุ้มกัน (ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาปรับเป็น เรือคุ้มกันมหาสมุทร)
  • DE: เรือคุ้มกันมหาสมุทร (ถูกยกเลิกเมื่อ 30 มิถุนายน 2518)
  • DEG: เรือคุ้มกันมหาสมุทรติดอาวุธปล่อยนำวิถี (ถูกยกเลิกเมื่อ 30 มิถุนายน 2518)
  • DER: เรือพิฆาตคุ้มกันเรดาร์เตือนภัย (ถูกยกเลิกเมื่อ 30 มิถุนายน 2518)
  • DL: เรือคุ้มกันเรือพิฆาต (ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต) (เลิกใช้งาน)
  • DLG: เรือคุ้มกันเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี (ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต) (ยกเลิกเมื่อ 30 มิถุนายน 2518)
  • DLGN: เรือคุ้มกันเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต) (ยกเลิกเมื่อ 30 มิถุนายน 2518) รหัสประเภท DL เริ่มใช้งานเมื่อปี 2494 โดยมีการยกเลิกรหัสประเภท CLK โดย CLK 1 กลายเป็น DL 1 และ DD 927–930 กลายเป็น DL 2–5 ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 คำว่าเรือคุ้มกันเรือพิฆาตได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นเรือฟริเกตแทน ส่วน DLG และ DLGN ส่วนใหญ่ถูกจัดประเภทใหม่เป็น CG และ CGN เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ส่วนรหัสประเภท DLG 6–15 นั้นปรับเป็น DDG 37–46 ซึ่งรหัส DL ได้ถูกยกเลิกการใช้งานไปแล้ว เหลือใช้เพียงกับ ยูเอสเอส เบนบริดจ์ (DLGN-25) เท่านั้น
  • DM: เรือพิฆาตทุ่นระเบิด (เลิกใช้งาน)
  • DMS: เรือพิฆาตกวาดทุ่นระเบิด (เลิกใช้งาน)
  • FF: เรือฟริเกต
  • PF: เรือฟริเกตตรวจการณ์ (เลิกใช้งาน)
  • เรือยูเอสเอส อินเกรแฮม (FFG-61) เป็นเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี
    FFG: เรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี
  • FFH: เรือฟริเกตเฮลิคอปเตอร์[20]
  • FFL: เรือฟริเกตเบา
  • FFR: เรือฟริเกตเรดาร์เตือนภัย (เลิกใช้งาน)
  • FFT: เรือฟริเกต (สำรองฝึก) (เลิกใช้งาน) รหัสประเภท FF, FFG และ FFR เริ่มต้นใช้งานเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2518 โดยเป็นสัญลักษณ์ชนิดใหม่สำหรับ ex-DEs, DEGs และ DERs โดยเรือที่ต่อขึ้นใหม่ลำแรกที่ใช้ชื่อ FF/FFG คือเรือฟริเกตชั้น โอลิเวอร์ แฮซาร์ด เพร์รี
  • PG: เรือตรวจการณ์ปืน (เลิกใช้งาน)
  • PCH: เรือตรวจการณ์ไฮโดรฟอยล์ (เลิกใช้งาน)
  • PHM: เรือตรวจการณ์ไฮโดรฟอยล์ติดขีปนาวุธ (เลิกใช้งาน)
  • K: เรือคอร์เวต (เลิกใช้งาน)
  • LCS: เรือโจมตีชายฝั่ง[21] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 กองทัพเรือประกาศว่า LCS ที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพปืนใหญ่เรือ จะถูกจัดประเภทใหม่เป็นเรือฟริเกต เนื่องจากข้อกำหนดของหน่วยเฉพาะกิจเรือผิวน้ำขนาดเล็ก คือการอัพเกรดเรือให้มีความสามารถเหมือนกับเรือฟริเกต โดยจะเริ่มปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีให้กับ LCS ที่มีอยู่เดิม และอยู่ระหว่างการก่อสร้างภายในปี 2562[22]
  • LSES: เรือเบาะลมสองท้องเรือขนาดใหญ่
  • M: เรือมอนิเตอร์ (ประมาณปี 2423–2463)
  • SES: เรือเบาะลมสองท้องเรือ
  • TB: เรือตอร์ปิโด

ประเภทเรือดำน้ำ

[แก้]

เรือดำน้ำหมายถึงเรือประเภทดำน้ำที่ขับเคลื่อนได้ตัวเองทั้งหมด (โดยปกติแล้วจะเริ่มต้นด้วย SS) โดยให้ความหมายความรวมทั้งเรือดำน้ำที่ในการรบ การสนับสนุน หรือการวิจัยและพัฒนาซึ่งแทบจะไม่มีขีดความสามารถในการรบเลยก็ตาม แม้ว่าเรือดำน้ำบางประเภท รวมถึงเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าทั้งหมดที่เคยมีอยู่จะเลิกใช้งานจากกองทัพเรือสหรัฐแล้วก็ตาม แต่กองทัพเรือประเทศอื่น ๆ ยังคงใช้เรืองานเรือดำน้ำที่ใช้รหัสประเภท SS, SSA, SSAN, SSB, SSC, SSG, SSM และ SST อยู่ โดยเฉพาะหลังจากเกิดระบบ AIP (ระบบขับเคลื่อนที่ไม่ใช้อากาศจากภายนอก; Air Independent Propulsion) แบบใหม่ขึ้นมา ทั้งรหัสประเภท SSI และ SSP ถูกนำมาใช้เพื่อแยกแยะประเภทภายในกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งในภายหลังได้เลือกใช้รหัสประเภทSSP ส่วนรหัสประเภท SSK ที่ถูกเลิกใช้งานโดยกองทัพเรือสหรัฐยังคงใช้เรียกขานและเรียกแทนความหมายเดียวกับ SS โดยใช้สำหรับเรือดำน้ำโจมตี/ลาดตระเวนด้วยไฟฟ้าดีเซลภายในกองทัพเรือสหรัฐ และถูกใช้อย่างเป็นทางการโดยกองทัพเรือสหราชอาณาจักรและ บริษัทอังกฤษ เช่น Jane's Information Group

  • เรือดำน้ำยูเอสเอส เวอร์จิเนีย (SSN-774) คือเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์
    SC: เรือดำน้ำลาดตระเวน (เลิกใช้งาน)
  • SF: เรือดำน้ำประจำกองเรือ (เลิกใช้งาน)
  • SM: เรือดำน้ำวางทุ่นระเบิด (เลิกใช้งาน)
  • SS: เรือดำน้ำ, เรือดำน้ำโจมตี[23]
  • SSA: เรือดำน้ำสนับสนุน, เรือดำน้ำสนับสนุน/บรรทุกสินค้า
  • SSAN: เรือดำน้ำสนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์, เรือดำน้ำสนับสนุน/บรรทุกสินค้าพลังงานนิวเคลียร์
  • SSB: เรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธทิ้งตัว, เรือดำน้ำทางยุทธศาสตร์
  • SSBN: เรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธทิ้งตัวพลังงานนิวเคลียร์
  • SSC: เรือดำนํ้าชายฝั่ง, ระวางขับน้ำมากกว่า 150 ตัน
  • SSG: เรือดำน้ำติดอาวุธปล่อยนำวิถี
  • SSGN: เรือดำน้ำติดอาวุธปล่อยนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์[A 8]
  • SSI: เรือดำน้ำโจมตี (เครื่องดีเซลระบบ AIP)[24]
  • SSK: เรือดำน้ำล่าและทำลาย/ปราบเรือดำน้ำ (เครื่องยนต์ดีเซลไฟฟ้า) (เลิกใช้งาน)[25]
  • SSKN: เรือดำน้ำล่าและทำลาย/ปราบเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ (เลิกใช้งาน)
  • SSM: เรือดำน้ำจิ๋ว, ระวางขับน้ำน้อยกว่า 150 ตัน
  • SSN: เรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์
  • SSNR: เรือดำน้ำโจมตีปฏิบัติการพิเศษพลังงานนิวเคลียร์ [note 1]
  • SSO: เรือดำน้ำบรรทุกน้ำมัน (เลิกใช้งาน)[A 9]
  • SSP: เรือดำน้ำโจมตี (เครื่องยนต์ดีเซลไฟฟ้า) (ใช้งานทางเลือก), เดิมคือเรือดำน้ำขนส่ง
  • SSQ: เรือดำน้ำสนับสนุนและสื่อสาร (เลิกใช้งาน)
  • SSQN: เรือดำน้ำสนับสนุนและสื่อสารพลังงานนิวเคลียร์ (เลิกใช้งาน)[26]
  • SSR: เรือดำน้ำเรดาร์เตือนภัย (เลิกใช้งาน)
  • SSRN: เรือดำน้ำเรดาร์เตือนภัยพลังงานนิวเคลียร์ (เลิกใช้งาน)[A 10]
  • SST: เรือดำน้ำฝึก
  • AGSS: เรือดำน้ำสนับสนุน
  • AOSS: เรือดำน้ำบรรทุกน้ำมัน (เลิกใช้งาน)
  • ASSP: เรือดำน้ำขนส่ง (เลิกใช้งาน)
  • APSS: เรือดำน้ำขนส่ง (เลิกใช้งาน)
  • LPSS: เรือดำน้ำขนส่งสะเทินน้ำสะเทินบก (เลิกใช้งาน)
  • SSLP: เรือดำน้ำขนส่ง (เลิกใช้งาน)
SSP, ASSP, APSS และ LPSS เป็นเรือประเภทเดียวกันทั้งหมด แต่ถูกกำหนดรหัสประเภทต่างปีกัน
  • X: เรือดำน้ำจิ๋ว[A 11]
  • IXSS: เรือดำน้ำอื่น ๆ ที่ไม่เข้าประเภท
  • MTS: เรือฝึกจอดเทียบท่า (รูปแบบการฝึกของโรงเรียนพลังงานนิวเคลียร์; สำหรับฝึกก่อนเข้าประจำการบนเรือแบบ SSBN และ SSN)

ประเภทเรือตรวจการณ์ผิวน้ำ

[แก้]

เรือตรวจการณ์ผิวน้ำ คือเรือที่มีภารกิจครอบคลุมลึกออกไปจากชายฝั่งเข้าไปในพื้นที่ทะเลหลวง โดยมีคุณสมบัติในการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องและมีความคงทนทะเลสูง ทำให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการในทะเลได้เกินกว่า 48 ชั่วโมงโดยไม่ต้องรับการสนับสนุน ซึ่งรวมไปถึงการสงครามแม่น้ำในช่วงสงครามเวียดนาม ปัจจุบันเหลือประจำการอยู่เพียงไม่กี่ลำ

  • PBR: เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ (Patrol Boat, River), บราวน์-วอเตอร์เนวี (Pibber หรือ บราวน์-วอเตอร์เนวี เวียดนาม)
  • PC: เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (Coastal Patrol), เดิมคือเรือล่าเรือดำน้ำ
  • PCF: เรือเร็วตรวจการณ์ (Patrol Craft, Fast) ; เรือสวิฟต์, บราวน์-วอเตอร์เนวี (เวียดนาม)
  • PE: เรืออีเกิล สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
  • PF: เรือฟริเกตสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2, อิงแบบจากเรือสหราชอาณาจักร ชั้นริเวอร์
    • PFG: รหัสประเภทเดิมของ ยูเอสเอส โอลิเวอร์ แฮซาร์ด เพร์รี (FFG-7)
  • PG: เรือปืนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งต่อมาใช้เป็นเรือลาดตระเวนลาดตระเวน สามารถปฏิบัติการในแม่น้ำได้ รู้จักกันในชื่อเรือปืนแม่น้ำ
  • PGH: เรือตรวจการณ์ผิวน้ำไฮโดรฟอยล์ (Patrol Combatant, Hydrofoil) (USS High Point)
  • PHM: เรือตรวจการณ์ผิวน้ำไฮโดรฟอยล์ติดขีปนาวุธ (Patrol, Hydrofoil Missile) ( Pegasus-class hydrofoil)
  • PR: เรือตรวจการลำน้ำ (Patrol, River) อาทิ USS Panay|PR-5}}
  • PT: เรือตรวจการณ์ตอร์ปิโด (Patrol Torpedo Boat), สหรัฐอเมริกาใช้เรือยนต์ตอร์ปิโด (สงครามโลกครั้งที่ 2)
  • PTF: เรือเร็วตรวจการณ์ตอร์ปิโด (Patrol Torpedo Fast), บราวน์-วอเตอร์เนวี (เวียดนาม)
  • PTG/PTGB: เรือปืนตรวจการณ์ตอร์ปิโด (Patrol Torpedo Gunboat)
  • Monitor: เรือปืนลำน้ำติดอาวุธหนัก, บราวน์-วอเตอร์เนวี (เวียดนามและก่อนหน้านี้) ชื่อสำหรับ ยูเอสเอส มอนิเตอร์
  • ASPB: เรือตรวจการณ์สนับสนุนการจู่โจม (Assault Support Patrol Boat), "เรืออัลฟ่า", บราวน์-วอเตอร์เนวี; นอกจากนี้ยังใช้เป็นเรือกวาดทุ่นระเบิดในแม่น้ำ (เวียดนาม)
  • PACV: ยานเบาะอากาศตรวจการณ์ (Patrol Air Cushion Vehicle), เรือโฮเวอร์คราฟต์ที่เป็นส่วนหนึ่งของบราวน์-วอเตอร์เนวี (เวียดนาม)
  • SP: ส่วนลาดกระเวน (Section Patrol), ใช้สำหรับเรือตรวจการณ์ เรือสงครามทุ่นระเบิด และเรือประเภทอื่น ๆ บางประเภท (สงครามโลกครั้งที่ 1 ปลดประจำการ พ.ศ. 2463)

ประเภทสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก

[แก้]

เรือสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก หมายความรวมถึงเรือทุกลำที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก และมีลักษณะเฉพาะสำหรับการปฏิบัติการได้ยาวนานในพื้นที่ทะเลหลวง ประกอบไปด้วยสองรูปแบบคือ: เรือยกพลขึ้นบก สร้างขึ้นเพื่อเดินทางข้ามมหาสมุทร และ เรือระบายพล ออกแบบมาเพื่อการนำกำลังทหารจากเรือไปยังชายฝั่งเพื่อทำการบุก

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของกองทัพเรือสหรัฐสำหรับเรือที่มีดาดฟ้าเรือที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับอากาศยาน:

  • ยานเบาะอากาศระบายพล LCAC-27
    LSD: สำหรับเรือที่มีดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งสามารถถอดออกได้ในเรือรุ่นเก่า
  • LPD: สำหรับเรือที่มีโรงเก็บอากาศยานนอกเหนือไปจากดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์
  • LHD หรือ LHA (Landing ship, Helicopter, Assault) : สำหรับเรือที่มีดาดฟ้าบินเป็นเต็มความยาวของตัวเรือ[27]

เรือยกพลขึ้นบก

  • AKA: เรือโจมตีบรรทุกสินค้า (Attack Cargo Ship) (เปลี่ยนเป็นแบบ LKA ในปี พ.ศ. 2512)
  • APA: เรือขนส่งโจมตี (Attack Transport) (เปลี่ยนเป็นแบบ LPA ในปี พ.ศ. 2512)
  • APD: เรือขนส่งความเร็วสูง (High speed transport) (เป็นเรือพิฆาตหรือเรือพิฆาตคุ้มกันที่ถูกดัดแปลง) (เปลี่ยนเป็นแบบ LPR ในปี พ.ศ. 2512)
  • APM: เรือขนส่งยานยนต์ปืนใหญ่ (Mechanized Artillery Transports) (เปลี่ยนเป็นแบบ LSD)
  • AGC: เรือธงของกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious Force Flagship) (เปลี่ยนเป็นแบบ LCC ในปี พ.ศ. 2512)
  • LCC: (การใช้งานครั้งที่สอง) เรือบัญชาการสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious Command Ship)
  • LHA: เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมทั่วไป, หรือรู้จักกันในชื่อ Landing ship, Helicopter, Assault
  • LHD: เรือยกพลขึ้นบกจู่โจมอเนกประสงค์, หรือรู้จักกันในชื่อ Landing ship, Helicopter, Dock
  • LKA: เรือบรรทุกสินค้าสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious Cargo Ship) (ปลดประจำการหมดแล้ว)
  • LPA: เรือขนส่งสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious Transport)
  • LPD: เรืออู่ลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious transport dock), รู้จักกันในชื่อ Landing ship, Personnel, Dock
  • LPH: เรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเครื่องบิน (Landing ship, Personnel, Helicopter)[28]
  • LPR: เรือขนส่งความเร็วสูง (High speed transport)
  • LSD: เรืออู่ยกพลขึ้นบก[29] (Landing Ship, Dock)
  • LSH: เรือยกพลขนาดหนัก (Landing Ship, Heavy)
  • LSIL: เรือยกพลขนาดเล็ก[30] (Landing Ship, Infantry (Large)) (เดิมชื่อ LCIL)
  • LSL: เรือยกพลส่งกำลังบำรุง (Landing Ship, Logistics)
  • LSM: เรือยกพลขนาดกลาง[29] (Landing Ship, Medium)
    • LSM (R) : เรือยกพลขนาดกลางติดขีปนาวุธ (Landing Ship, Medium (Rocket))
  • LSSL: เรือสนับสนุนการยกพล[30] (Landing Ship, Support (Large)) (เดิมชื่อ LCSL)
  • LST: เรือยกพลขนาดใหญ่[30] (Landing Ship, Tank)
    • LST (H) : เรือยกพลขนาดใหญ่ (โรงพยาบาล) (Landing Ship, Tank (Hospital))
  • LSV: เรือยกพลยานพาหนะ (Landing Ship, Vehicle)

เรือระบายพล (Landing Craft)

  • LCA: เรือระบายพลจู่โจม (Landing Craft, Assault)
  • LCAC: ยานเบาะอากาศระบายพล (Landing Craft Air Cushion)
  • LCC: (ใช้งานครั้งแรก) เรือควบคุมการระบายพล (Landing Craft, Control)
  • LCFF: เรือธงของกองเรือระบายพล (Flotilla Flagship)
  • LCH: เรือระบายพลหนัก (Landing Craft, Heavy)
  • LCI: เรือระบายพลทหารราบ (Landing Craft, Infantry), ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการแยกประเภทย่อยอีก ดังนี้
    • (G) – เรือปืน
    • (L) – ขนาดใหญ่
    • (M) – ปืนครก
    • (R) – ขีปนาวุธ
  • LCL: เรือระบายพลส่งกำลังบำรุง (Landing Craft, Logistics) (UK)
  • LCM: เรือระบายพลขนาดกลาง[29] (Landing Craft, Mechanized)
  • LCP: เรือระบายพลกำลังพล (Landing Craft, Personnel)
  • LCP (L) : เรือระบายพลกำลังพลขนาดใหญ่ (Landing Craft, Personnel, Large)
  • LCP (R) : เรือระบายพลกำลังพลประกอบทางลาด (Landing Craft, Personnel, Ramped)
  • LCPA: ยานระบายพลกำลังพลเบาะอากาศ (Landing Craft, Personnel, Air-Cushioned)
  • LCS (L) : เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก (Landing Craft, Support (Large)) เปลี่ยนเป็น LSSL ในปี พ.ศ. 2492
  • LCT: เรือระบายพลรถถัง (Landing Craft, Tank) (สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง)
  • LCU: เรือระบายพลขนาดใหญ่[29] (Landing Craft, Utility)
  • LCVP: เรือระบายพลขนาดเล็ก[29] (Landing Craft, Vehicle and Personnel)
  • LSH: เรือระบายพลขนาดหนัก (Landing Ship Heavy) (กองทัพเรือออสเตรเลีย)

การสนับสนุนการรบนอกประเทศ

[แก้]

ดำเนินงานโดย กองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ มีคำนำหน้าเรือว่า "เรือเดินสมุทรสหรัฐ" (United States Naval Ship: USNS) สัญลักษณ์การจัดประเภทขึ้นต้นด้วย "T-"

  • เรือยูเอสเอส จอห์น เกล็นน์ (T-ESD-2) เป็นเรืออู่โอนย้ายสนับสนุนการรบนอนกประเทศ
    ESD: เรืออู่โอนย้ายสนับสนุนการรบนอนกประเทศ (Expeditionary Transfer Dock)
  • ESB: เรือฐานเคลื่อนที่สนับสนุนการรบนอนกประเทศ (Expeditionary Mobile Base) (รูปแบบหนึ่งของ ESD ในอดีตคือ AFSB)
  • EPF: เรือขนส่งด่วนสนับสนุนการรบนอนกประเทศ (Expeditionary fast transport)
  • MLP: เรืออู่ระบายพลเคลื่อนที่ (Mobile landing platform) (เปลี่ยนเป็น ESD)
  • JHSV: เรือความเร็วสูงปฏิบัติการร่วม (Joint high-speed vessel) (เปลี่ยนเป็น EPF)
  • HST: เรือขนส่งความเร็วสูง (High-speed transport) (คลายกลับแบบ JHSV เพื่อไม่ให้สับสนกับเรือขนส่งความเร็วสูง (APD) ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง)
  • HSV: เรือเร็ว (High-speed vessel)

ประเภทการสงครามทุ่นระเบิด

[แก้]

เรือสงครามทุ่นระเบิด คือเรือที่มีหน้าที่หลักในการสงครามทุ่นระเบิดในทะเลหลวง

  • ADG: เรือลบล้างอำนาจแม่เหล็กตัวเรือ (Degaussing ship)
  • AM: เรือกวาดทุ่นระเบิด (Minesweeper)
  • AMb: เรือกวาดทุ่นระเบิดท่าเรือ (Harbor minesweeper)
  • AMc: เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง (Coastal minesweeper)
  • AMCU: เรือระบุตำแหน่งทุ่นระเบิดใต้น้ำ (Underwater mine locater)
  • AMS: เรือกวาดทุ่นระเบิดขนาดเล็ก มักทำด้วยไม้ (Motor minesweeper)
  • CM: เรือลาดตระเวนวางทุ่นระเบิด (Cruiser minelayer)
  • CMc: เรือวางทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง (Coastal minelayer)
  • DM: เรือวางทุ่นระเบิดความเร็วสูง (High-speed minelayer) (เรือพิฆาตที่ถูกดัดแปลง)
  • DMS: เรือกวาดทุ่นระเบิดความเร็วสูง (High-speed minesweeper) (เรือพิฆาตที่ถูกดัดแปลง)
  • MCM: เรือต่อต้านทุ่นระเบิด[31] (Mine countermeasures ship)
  • MCS: เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด (Mine countermeasures support ship)
  • MH (C) (I) (O) (S) : เรือล่าทำลายทุ่นระเบิด (Minehunter), ใกล้ฝั่ง (coastal) ชายฝั่ง (inshore) มหาสมุทร (ocean) (แบบปกติคือล่าและกวาดทุ่นระเบิด)
  • MLC: เรือวางทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง (Coastal minelayer)
  • MSC: เรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง (Minesweeper, coastal)
  • MSF: เรือกวาดทุ่นระเบิด ตัวถังเหล็ก (Minesweeper, steel hulled)
  • MSO: เรือกวาดทุ่นระเบิดมหาสมุทร (Minesweeper, ocean)
  • PCS: เรือล่าเรือดำน้ำ (ไม้) ติดตั้งเครื่องมือกวาดทุ่นระเบิด[32]
  • YDG: เรือลบล้างอำนาจแม่เหล็กตัวเรือ (District degaussing vessel)

ประเภทป้องกันชายฝั่ง

[แก้]

เรือป้องกันชายฝั่ง คือเรือที่มีภารกิจในการลาดตระเวนและสกัดกั้นในบริเวณชายฝั่ง

  • FS: เรือคอร์เวต (Corvette)
  • PB: เรือตรวจการณ์ (Patrol boat)
  • PBR: เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ (Patrol boat, river)
  • PC: เรือตรวจการใกล้ฝั่ง (Patrol, coastal)
  • PCE: เรือตรวจการณ์คุ้มกัน (Patrol craft, escort)
  • PCF: เรือเร็วตรวจการณ์ (Patrol Craft, Fast) ; เรือสวิฟต์
  • PCS: เรือตรวจการณ์กวาดทุ่นระเบิด (Patrol craft, sweeper) เรือกวาดทุ่นระเบิดขนาดเล็กดัดแปลงเครื่องยนต์สำหรับการต่อต้านทุ่นระเบิด
  • PF: เรือฟริเกต (Frigate), ใช้งานรูปแบบเดียวกับเรือคอร์เวตของประเทศในเครือจักรภพในสงครามโลกครั้งที่สอง
  • PG: เรือตรวจการณ์ปืน (Patrol gunboat)
  • PGM: เรือตรวจการณ์ปืนขนาดเล็ก (Motor gunboat) (เปลี่ยนเป็น PG ในปี พ.ศ. 2510)
  • PR: เรือตรวจการณ์ลำน้ำ (Patrol, river)
  • SP: เรือตรวจการณ์เฉพาะส่วน (Section patrol)

เรือช่วยรบ

[แก้]

เรือช่วยรบ ได้รับการออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการในหลากหลายบทบาทเพื่อสนุบสนุนเรือรบและการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ

ประเภทการส่งกำลังบำรุง

[แก้]

เรือที่มีความสามารถในการส่งกำลังบำรุงด้วยการรับส่งสิ่งของกลางทะเล (Underway Replenishment: UNREP) ให้กับเรือภายในกองเรือ

  • เรือยูเอสเอ็นเอส บิ๊กฮอร์น (T-AO-198) เป็นเรือบรรทุกน้ำมัน
    AE: เรือบรรทุกเครื่องกระสุน (Ammunition ship)
  • AF: เรือบรรทุกเสบียง (Stores ship) (เลิกใช้งาน)
  • AFS: เรือบรรทุกเสบียงส่งกำลังบำรุง (Combat stores ship)
  • AK: เรือบรรทุกสินค้าแห้ง (Dry cargo ship)
  • AKE: เรือบรรทุกสินค้าแห้ง (Advanced dry cargo ship)
  • AKS: เรือบรรทุกเสบียงทั่วไป (General stores ship)
  • AO: เรือบรรทุกน้ำมัน (Fleet Oiler)
  • AOE: เรือเร็วสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง (Fast combat support ship)
  • AOR: เรือบรรทุกน้ำมัน สามารถจ่ายน้ำมันเพื่อเติมได้ (Replenishment oiler)
  • AVS: เรือบรรทุกเสบียงอากาศยาน (Aviation Stores Issue Ship) (เลิกใช้งาน)

ประเภทการขนส่งเคลื่อนที่

[แก้]

เรือขนส่งเคลื่อนที่เป็นเรือที่มีขีดความสามารถในการให้การสนับสนุนในด้านของวัสดุโดยตรงให้กับหน่วยที่ต้องการใช้วัสดุนั้น ๆ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ห่างไกลจากท่าเรือหลักของตน

  • AC: เรือบรรทุกถ่านหิน (Collier) (เลิกใช้งาน)
  • AD: เรือพี่เลี้ยงเรือพิฆาต (Destroyer tender)
  • AGP: เรือพี่เลี้ยงเรือตรวจการณ์ (Patrol craft tender)
  • AR: เรือซ่อมบำรุง (Repair ship)
  • ARB: เรือซ่อมบำรุงความเสียหายจากการรบ (Repair ship, battle damage)
  • ARC: เรือซ่อมบำรุงสายเคเบิลใต้ทะเล (Repair ship, cable)
  • ARG: เรือซ่อมบำรุงเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Repair ship, internal combustion engine)
  • ARH: เรือซ่อมบำรุงตัวถังหนัก (Repair ship, heavy-hull)[A 12]
  • ARL: เรือซ่อมบำรุงเรือระบายพล (Repair ship, landing craft)
  • ARV: เรือซ่อมบำรุงอากาศยาน (Repair ship, aircraft)
  • ARVH: เรือซ่อมบำรุงอากาศยานและเฮลิคอปเตอร์ (Repair ship, aircraft, helicopter)
  • AS: เรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ (Submarine tender)
  • AW: เรือกลั่น (Distilling ship) สำหรับกลั่นน้ำเค็มเป็นน้ำจืดส่งให้พื้นที่การรบบนฝั่ง (เลิกใช้งาน)

เรือสนับสนุน

[แก้]

เรือสนับสนุนไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าร่วมในสนามรบ แต่โดยปกติจะไม่มีการติดอาวุธ สำหรับเรือที่มีลูกเรือเป็นพลเรือน ในเรือที่เป็นเจ้าของ หรือดำเนินการโดยกองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ และกองบริหารการเดินเรือ (US Maritime Administration: MARAD) สัญลักษณ์การจัดประเภทขึ้นต้นด้วย "T-"

เรือสนับสนุนถูกออกแบบมาเพื่อปฏิบัติการในมหาสมุทรเปิดในสภาวะทางทะเลที่หลากหลาย เพื่อให้การสนับสนุนแก่กำลังรบหรือฐานปฏิบัติการตามแนวชายฝั่ง โดยเรือสนับสนุนหมายความรวมถึงเรือสนับสนุนขนาดเล็กต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติงานนอกชายฝั่งเป็นปกติอยู่แล้ว

  • เรือยูเอสเอส พิวโบล (AGER-2) เรือวิจัยทางสิ่งแวดล้อม
    AB: เรือเครนช่วยรบ (Auxiliary Crane Ship) (พ.ศ. 2463–84) [A 13]
  • ACS: เรือเครนช่วยรบ (Auxiliary Crane Ship)
  • AG: เรือช่วยรบเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Auxiliary)
  • AGB: เรือตัดน้ำแข็ง (Icebreaker)
  • AGDE: เรือทดสอบเรือคุ้มกันมหาสมุทร (Testing Ocean Escort) [A 14]
  • AGDS: เรือสนันสนุนใต้น้ำลึก (Deep Submergence Support Ship)
  • AGEH: เรือทดสอบเรือไฮโดรฟอยล์ (Hydrofoil, experimental) [A 15]
  • AGER: (i) : เรือช่วยรบเบ็ดเตล็ด, ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Reconnaissance)
  • AGER: (ii) : เรือวิจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Research Ship
  • AGF: เรือช่วยรบบัญชาการ (Miscellaneous Command Ship)
  • AGFF: เรือทดสอบเรือฟริเกต (Testing Frigate) [A 16]
  • AGHS: เรือตรวจการณ์สนับสนุนการรบ ในมหาสมุทรหรือชายฝั่ง
  • AGL: เรือช่วยรบ เรือพี่เลี้ยงประภาคาร (Auxiliary vessel, lighthouse tender)
  • AGM: เรือตรวจวัดระยะพิสัยขีปนาวุธ (Missile Range Instrumentation Ship)
  • AGMR: เรือถ่ายทอดการสื่อสารหลัก (Major Communications Relay Ship)
  • AGOR: เรือวิจัยทางสมุทรศาสตร์ (Oceanographic Research Ship)
  • AGOS: เรือเฝ้าระวังมหาสมุทร (Ocean Surveillance Ship)
  • AGR: เรือเรดาร์เตือนภัย (Radar picket ship)
  • AGS: เรือสำรวจ (Surveying Ship)
  • AGSC: เรือสำรวจใกล้ฝั่ง (Coastal Survey Ships)
  • AGSE: เรือสนับสนุนเรือดำน้ำและสงครามพิเศษ (Submarine and Special Warfare Support)
  • AGTR: เรือวิจัยทางเทคนิค (Technical research ship)
  • AH: เรือพยาบาล (Hospital ship)
  • AKD: เรืออู่บรรทุกสินค้า (Cargo Ship, Dock) [A 17]
  • AKL: เรือบรรทุกสินค้าขนาดเล็ก (Cargo Ship, Small)
  • AKN: เรือบรรทุกอวน (Cargo Ship, Net)
  • AKR: เรือบรรทุกพาหนะ (Cargo Ship, Vehicle)
  • AKV: เรือบรรทุกอากาศยาน (Cargo Ship, Aircraft)
  • AN: เรือวางอวน (Net laying ship)
  • AOG: เรือบรรทุกน้ำมันเบนซิน (Gasoline tanker)
  • AOT: เรือขนส่งน้ำมัน (Transport Oiler)
  • AP: เรือขนส่ง (Transport)
  • เรือฐานเรดาร์ย่านเอกซ์ (SBX-1) บริเวณท่าเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์
    APB: เรือค่ายทหารแบบขับเคลื่อนด้วยตนเอง (Self-propelled Barracks Ship)
  • APC: เรือขนส่งชายฝั่ง (Coastal Transport)
  • APc: เรือขนส่งชายฝั่งขนาดเล็ก (Coastal Transport, Small)
  • APH: เรือขนส่งผู้อพยพ (Evacuation Transport)
  • APL: เรือค่ายทหาร (Barracks Craft)
  • ARS: เรือกู้ภัยและเก็บกู้ (Rescue and Salvage Ship)
  • ARSD: เรือลิฟท์กู้ภัย (Salvage Lifting Vessels)
  • ASR: เรือกู้ภัยเรือดำน้ำ (Submarine Rescue Ship)
  • AT: เรือลากจูง (Fleet Tug)
  • ATA: เรือลากจูงช่วยรบในมหาสมุทร (Auxiliary Ocean Tug)
  • ATF: เรือลากจูงในมหาสมุทร (Fleet Ocean Tug)
  • ATLS: เรือปล่อยอากาศยานไร้คนขับ (Drone Launch Ship)
  • ATO: เรือลากจูงแบบเก่า (Fleet Tug, Old)
  • ATR: เรือลากจูงกู้ภัย (Rescue Tug)
  • ATS: เรือเก็บกู้และกู้ภัย (Salvage and Rescue Ship)
  • AVB (i) : เรือสนับสนุนการขนส่งการบิน (Aviation Logistics Support Ship)
  • AVB (ii) : เรือฐานบินส่วนหน้า (Advance Aviation Base Ship)
  • AVM: เรือขีปนาวุธนำวิถี (Guided Missile Ship) [A 18]
  • AVT (i) : เรือขนส่งอากาศยานช่วยรบ (Auxiliary Aircraft Transport)
  • AVT (ii) : เรือฝึกลงจอดอากาศยานช่วยรบ (Auxiliary Aircraft Landing Training Ship)
  • EPCER: เรือทดลองเรือตรวจการณ์คุ้มกันและกู้ภัย (Experimental – Patrol Craft Escort – Rescue)
  • PCER: เรือตรวจการณ์คุ้มกันและกู้ภัย (Patrol Craft Escort – Rescue) [33]
  • SBX: เรือฐานเรดาร์ย่านเอกซ์ (Sea-based X-band Radar) – สถานีเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้าแบบ Active electronically scanned array ที่สามารถเคลื่อนที่ได้

ประเภทเรือบริการ

[แก้]

เรือบริการเป็นเรือในสังกัดของกองทัพเรือ (รวมถึงเรือที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง) ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการทำงานโดยทั่วไปให้กับกองเรือหรือฐานทัพตามแนวชายฝั่ง อักษรต่อท้าย "N" หมายความว่าเรือนั้นไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง

  • เรือชิปปิงพอร์ท (ARDM-4) เป็นอู่แห้งซ่อมแซมช่วยรบขนาดกลาง ขณะกำลังซ่อมเรือดำน้ำยูเอสเอส ไมอามี่ (SSN-755)
    AFDB: อู่แห้งลอยน้ำช่วยรบขนาดใหญ่ (Large Auxiliary Floating Dry Dock)
  • AFD/AFDL: อู่แห้งลอยน้ำช่วยรบขนาดเล็ก (Small Auxiliary Floating Dry Dock)
  • AFDM: อู่แห้งลอยน้ำช่วยรบขนาดกลาง (Medium Auxiliary Floating Dry Dock)
  • ARD: อู่แห้งซ่อมแซมช่วยรบ (Auxiliary Repair Dry Dock)
  • ARDM: อู่แห้งซ่อมแซมช่วยรบขนาดกลาง (Medium Auxiliary Repair Dry Dock)
  • JUB/JB : แม่แรงยกเรือ (Jack Up Barge)

ยานใต้น้ำ

[แก้]
  • DSRV: ยานกู้ภัยน้ำลึก (Deep Submergence Rescue Vehicle)
  • DSV: ยานดำน้ำลึก (Deep Submergence Vehicle)
  • NR: ยานวิจัยดำน้ำ (Submersible Research Vehicle)[A 19]

อู่เรือและเขตพื้นที่ของเรือ (Yard and district craft)

[แก้]
  • YC: เรือโป๊ะลำเลียงแบบเปิด (Open Lighter)
  • YCF: เรือลอยน้ำลำเลียงรถ (Car Float)
  • YCV: เรือโป๊ะลำเลียงอากาศยาน (Aircraft Transportation Lighter)
  • YD: ปั้นจั่นลอยน้ำ (Floating Crane)
  • YDT: เรือพี่เลี้ยงนักดำน้ำ (Diving Tender)
  • YF: เรือโป๊ะลำเลียงแบบปิด (Covered Lighter)
  • YFB: เรือข้ามฟาก (Ferry Boat or Launch)
  • YFD: อู่เรือแห้งลอยน้ำ (Yard Floating Dry Dock)
  • YFN: เรือโป๊ะลำเลียงแบบปิด ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Covered Lighter non-self propelled)
  • YFNB: เรือโป๊ะลำเลียงแบบปิดขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Large Covered Lighter non-self propelled)
  • YFND: อู่แห้งท้องแบนแบบขับเคลื่อนไม่ได้ด้วยตนเอง (Dry Dock Companion Craft non-self propelled)
  • YFNX: เรือโป๊ะ (วัตถุประสงค์พิเศษ) ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Lighter Special purpose) (non-self propelled)
  • YFP: เรือปั่นไฟลอยน้ำ (Floating Power Barge)
  • YFR: เรือโป๊ะห้องเย็น (Refrigerated Cover Lighter)
  • YFRN: เรือโป๊ะห้องเย็น ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Refrigerated Covered Lighter) (non-self propelled)
  • YFRT: เรือพี่เลี้ยงเรือตรวจวัดระยะพิสัยขีปนาวุธ (Range Tender) USNS Range Recoverer (T-AG-161)
  • YFU: เรืออเนกประสงค์ประจำท่า (Harbor Utility Craft)
  • YG: เรือโป๊ะถังขยะ (Garbage Lighter)
  • YGN: เรือโป๊ะถังขยะ ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Garbage Lighter) (non-self propelled)
  • YH: เรือพยาบาลทางน้ำ เป็นเรือสนับสนุนทางการแพทย์ขนาะเล็ก (Ambulance boat)
  • YLC: เรือลิฟท์กู้ภัย (Salvage Lift Craft)
  • YM: เรือขุดลอก (Dredge)
  • YMN: เรือขุดลอก ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Dredge) (non-self propelled)
  • YNG: เรือวางประตูอวน (Net Gate Craft)
  • YN: เรือพี่เลี้ยงวางอวนอู่เรือ (Yard Net Tender)
  • YNT: เรือพี่เลี้ยงวางอวน (Net Tender)
  • YO: เรือน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Oil Barge)
  • YOG: เรือน้ำมันเบนซิน (Gasoline Barge)
  • YOGN: เรือน้ำมันเบนซิน ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Gasoline Barge) (non-self propelled)
  • YON: เรือน้ำมันเชื้อเพลิง ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Fuel Oil Barge) (non-self propelled)
  • YOS: เรือเก็บน้ำมัน (Oil Storage Barge)
  • YP: เรือฝึกตรวจการณ์ (Patrol Craft, Training)
  • YPD: เรือตอกเสาเข็มลอยน้ำ (Floating Pile Driver)
  • YR: เรือซ่อมบำรุงลอยน้ำ (Floating Workshop)
  • YRB: เรือซ่อมบำรุงและเทียบเรือ (Repair and Berthing Barge)
  • YRBM: เรือซ่อมบำรุงเทียบเรือและพักอาศัย (Repair, Berthing and Messing Barge)
  • YRDH: เรืออู่แห้งซ่อมบำรุงลอยน้ำ (ตัวเรือ) (Floating Dry Dock Workshop) (Hull)
  • YRDM: เรืออู่แห้งซ่อมบำรุงลอยน้ำ (เครื่องจักร) Floating Dry Dock Workshop (Machine)
  • YRR: เรือซ่อมบำรุงทางรังสีวิทยา ให้บริการเรือพลังงานนิวเคลียร์และเรือดำน้ำ (Radiological Repair Barge)
  • YRST: เรือพี่เลี้ยงการกู้ภัย (Salvage Craft Tender)
  • YSD: เรือปั้นจั่นซ่อมบำรุงเครื่องบินทะเล (Seaplane Wrecking Derrick)
  • YSR: เรือขุดลอกตะกอน (Sludge Removal Barge)
  • YT: เรือลากจูง (Harbor Tug) (หลังจากนั้นถูกจัดประเภทเป็น YTB, YTL, หรือ YTM )
  • YTB: เรือลากจูงขนาดใหญ่ (Large Harbor tug)
  • YTL: เรือลากจูงขนาดเล็ก (Small Harbor Tug)
  • YTM: เรือลากจูงขนาดกลาง (Medium Harbor Tug)
  • YTT: เรือทดสอบตอร์ปิโด (Torpedo trials craft)
  • YW: เรือบรรทุกน้ำ (Water Barge)
  • YWN: เรือบรรทุกน้ำ ขับเคลื่อนด้วยตัวเองไม่ได้ (Water Barge) (non-self propelled)

เรือและยานพาหนะเบ็ดเตล็ด

[แก้]
  • การระบุตัวตนหรือหมายเลขระบุตัวตน: ในเรือพลเรือนที่เข้าประจำการช่วยรบเฉพาะส่วน และการใช้งานโดยไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวในเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ทุกชนิด รวมถึงในบริเวณชายฝั่งและเรือในบริเวณอู่ต่อเรือ (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เลิกใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2463)
  • IX: หน่วยเรือเบ็ดเตล็ดที่จำแนกประเภทไม่ได้ (Unclassified Miscellaneous Unit)
  • "ไม่มี": ถูกใช้เพื่อเป็นเกียรติในสถานที่ประวัติศาสตร์ อาทิ USS Constitution (แปลว่ารัฐธรรมนูญ) ก่อนหน้านี้ถูกจัดประเภทเป็น IX 21 และถูกจัดประเภทใหม่เป็น ไม่มี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2518

เรือเหาะ

[แก้]

แม้ว่าในทางเทคนิคแล้ว อากาศยานก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเรือเหาะแบบมีโครง (rigid airships) จะยู่อยู่ภายใต้ระเบียบปฏิบัติเดียวกับเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำในประจำการ ด้วยการประดับธงสหรัฐที่ท้ายเรือเหาะ และใช้คำนำหน้าว่า ยูเอสเอส แต่จากนั้นอากาศยานเบากว่าอากาศ (อาทิ เรือเหาะ) ยังคงประดับธงของสหรัฐอยู่ด้านท้ายและยังถูกมองว่าเป็นอากาศยานหลักอยู่ดี

เรือเหาะแบบมีโครง (Rigid airships) :

  • ZR: เรือเหาะแบบมีโครง (Rigid airship)
  • ZRS: เรือเหาะลาดตระเวนแบบมีโครง Rigid airship scout [A 20]
  • ZRCV: เรือเหาะแบบมีโครงบรรทุกเครื่องบิน ไม่มีการสร้างจริง (Rigid airship aircraft carrier)

อากาศยานเบากว่าอากาศ:

  • ZMC: เรือเหาะหุ้มโลหะ (Metal clad aircraft)
  • ZNN-G: เรือเหาะชั้นจี (G-class blimp)
  • ZNN-J: เรือเหาะชั้นเจ (J-class blimp)
  • ZNN-L: เรือเหาะชั้นแอล (L-class blimp)
  • ZNP-K: เรือเหาะชั้นเค (K-class blimp)
  • ZNP-M: เรือเหาะชั้นเอ็ม (M-class blimp)
  • ZNP-N: เรือเหาะชั้นเอ็น (N-class blimp)
  • ZPG-3W: เรือเหาะลาดตระเวนเฝ้าระวัง (surveillance patrol blimp)

การกำหนดการจัดประเภทชั่วคราว

[แก้]

การกำหนดการจัดประเภทชั่วคราวของกองทัพเรือสหรัฐ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการกำหนดประเภท ใช้ในการระบุตัวตนชั่วคราว มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเรียกระดมพลแบบกระทันหัน เช่น ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หรือในช่วงสงครามเกาหลี เมื่อพิจารณาแล้วมีความจำเป็นในขณะนั้นและเรือนั้นไม่มีประเภทอย่างเป็นทางการในกองทัพเรือ

ตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรือพาณิชย์จำนวนหนึ่งถูกร้องขอหรือถูกมอบมาให้กองทัพเรือสหรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกองทัพเรือสหรัฐในสภาวะระดมพล รวมเรือยอร์ชที่กองทัพเรือได้รับมอบมาในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สองนั้นเป็นที่ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งกองทัพเรือที่ได้รับเรือมาแล้วอาจจะจำแนกประเภทเรือแต่ละชนิดได้ไม่สมบูรณ์มากนักเนื่องจากระยะเวลาที่เร่งรีบในการจัดหามา

และในทางกลับกัน เรือของกองทัพสหรัฐในเวลานั้น เช่น เรือยอร์ชในตัวอย่างข้างต้น ที่อยู่ในระหว่างเข้าประจำการหรือประจำการแล้ว อาจถูกนำไปใช้งานในส่วนความสามารถอื่น ๆ ที่ไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นทางการของกองทัพเรือ

  • IX: เรือช่วยรบเบ็ดเตล็ดที่ไม่สามารถจำแนกประเภทได้ (Unclassified Miscellaneous Auxiliary Ship) ตัวอย่างเช่น เรือยอร์ช Chanco ถูกมอบให้กับกองทัพเรือสหรัฐเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483 มันถูกจัดประเภทให้เป็นเรือกวาดทุ่นระเบิด AMc-5 แต่ส่วนใหญ่มันถูกใช้เป็นเรือตรวจการณ์ตามแนวชายฝั่งนิวอิงแลนด์ โดยเมื่อเรือได้รับมอบหมายงานอื่นเข้ามา และไม่สามารถกำหนดประเภทงานนั้นได้ จึงมีการกำหนดประเภทเรือใหม่เป็น IX-175 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
  • IXSS: เรือดำน้ำแบบเบ็ดเตล็ดที่ไม่สามารถจำแนกประเภทได้ (Unclassified Miscellaneous Submarines) เช่น เรือ USS Cod (IXSS-224), USS Angler (IXSS-240) และ USS Croaker (IXSS-246)
  • YAG: เรือบริการช่วยรบเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Auxiliary Service Craft) เช่น USS George Eastman (YAG-39), USS Butternut (YAG-60) และ USS Christiana (YAG-32) ซึ่งก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ IX-80

เรือของกองทัพเรือสหรัฐปล่อยลงน้ำด้วยชื่อชั่วคราว หรือระบุชื่อเป็นประเภท YMS หรือ PC เนื่องจากไม่สามารถจำแนกขณะก่อสร้างได้ว่ามันจะถูกใช้งานในภารกิจใด ในบรรดาเรือเหล่านี้ หลายลำเป็นเรือที่มีความยาว 150 ถึง 200 ฟุตพร้อมกับเครื่องยนต์กำลังสูง ซึ่งอาจจะกำหนดหน้าที่ให้เป็นเรือกวาดทุ่นระเบิด เรือตรวจการณ์ เรือปราบเรือดำน้ำ เรือพี่เลี้ยงเครื่องบินทะเล เรือลากจูง หรืออื่น ๆ เมื่อสามารถหาภารกิจให้เรือเหล่านั้นได้แล้ว เรือลำนั้นจะถูกกำหนดประเภทให้ใหม่

เรือของยามฝั่งสหรัฐ

[แก้]

ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2508 เรือคัตเตอร์ยามฝั่งสหรัฐใช้ชื่อการจัดประเภทเช่นเดียวกับกองทัพเรือสหรัฐ แต่จะใช้อักษร "W" นำหน้าเพื่อระบุว่าเป็นเรือในประจำการของยามฝั่ง โดยพิจารณาใช้ชื่อประเภทในเรือที่มีความยาวเกินกว่า 65 ฟุต และมีลูกเรือประจำการอยู่ตลอด คือเรือคัตเตอร์[34]

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือยามฝั่ง

[แก้]
  • ยูเอสซีจีซี เบิร์ทฮอล์ฟ (WMSL-750) เป็นเรือคัตเตอร์ยามฝั่งรักษาความปลอดภัยทางทะเลขนาดใหญ่
    CG: เรือยามฝั่งทั้งหมดในช่วงทศวรรตที่ 1920 (เลิกใช้งาน)
  • WAGB: เรือยามฝั่งตัดน้ำแข็งชั้นโพลาร์
  • WAGL: เรือสนับสนุนรักษาประภาคาร (Auxiliary vessel, lighthouse tender) (เลิกใช้งานช่วงทศวรรตที่ 1960)
  • WAVP: เรือยามฝั่งทะเลพี่เลี้ยงเครื่องบินทะเล (seagoing Coast Guard seaplane tenders) (เลิกใช้งานช่วงทศวรรตที่ 1960)
  • WDE: เรือยามฝั่งทะเลพิฆาตคุ้มกัน (seagoing Coast Guard destroyer escorts) (เลิกใช้งานช่วงทศวรรตที่ 1960)
  • WHEC: เรือคัตเตอร์ยามฝั่งความทนทานสูง (Coast Guard high endurance cutters)
  • WIX: เรือสำเภายามฝั่งอีเกิล (Coast Guard barque Eagle)
  • WLB: เรือยามฝั่งรักษาทุ่นและไฟสัญญาณ (Coast Guard buoy tenders)
  • WLBB: เรือยามฝั่งทะเลรักษาทุ่นทะเลและตัดน้ำแข็ง (Coast Guard seagoing buoy tenders/ice breaker)
  • WLI: เรือยามฝั่งรักษาทุ่นแหล่งน้ำ (Coast Guard inland buoy tenders)
  • WLIC: เรือยามฝั่งติดตั้งทุ่นในลำน้ำ (Coast Guard inland construction tenders)
  • WLM: เรือยามฝั่งรักษาทุ่นชายฝั่ง (Coast Guard coastal buoy tenders)
  • WLR: เรือยามฝั่งรักษาทุ่นลำน้ำ (Coast Guard river buoy tenders)
  • WMEC: เรือคัตเตอร์ยามฝั่งความทนทานปานกลาง (Coast Guard medium endurance cutters)
  • WMSL: เรือคัตเตอร์ยามฝั่งรักษาความปลอดภัยทางทะเลขนาดใหญ่ (Coast Guard maritime security cutter, large) หรือมักเรียกว่า เรือคัตเตอร์รักษาความมั่นคงแห่งชาติ (National security cutters)
  • WPB: เรือตรวจการณ์ยามฝั่ง (Coast Guard patrol boat)
  • WPC: เรือเร็วตรวจการยามฝั่ง (Coast Guard patrol craft)—ภายหลังถูกจัดประเภทใหม่ให้อยู่ภายใต้ WHEC โดยสัญลักษณ์ถูกนำไปใช้ซ้ำสำหรับเรือคัตเตอร์ยามฝั่งตรวจการณ์ หรือที่มักเรียกว่า เรือคัตเตอร์เคลื่อนที่เร็ว (Fast response cutters)
  • WPG: เรือปืนยามฝั่งทะเล (seagoing Coast Guard gunboat) (เลิกใช้งานช่วงทศวรรตที่ 1960)
  • WTGB: เรือลากจูงยามฝั่ง (Coast Guard tug boat) (เรือตัดน้ำแข็ง 140 ฟุต)
  • WYTL: เรือลากจูงขนาดเล็ก (Small harbor tug)

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือยามฝั่งขนาดเล็ก

[แก้]
  • MLB: เรือยนต์ช่วยชีวิต (Motor Life Boat) (รุ่นขนาด 52 ฟุต, 47 ฟุต และ 44 ฟุต)
  • UTB: เรือเบ็ดเตล็ด (Utility Boat)
  • DPB: เรือเพอร์ซูทปรับแต่ง (Deployable Pursuit Boat)
  • ANB: เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ (Aids to Navigation Boats)
  • TPSB: เรือรักษาความปลอดภัยท่าเรือขนส่ง (Transportable Port Security Boat)
  • RHIB: เรือยางท้องแข็ง (Rigid Hull Inflatable Boats)
  • SRB: เรือกู้ภัยโต้คลื่น (Surf Rescue Boat) (30 ฟุต)

เรือขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ

[แก้]

รหัสการจัดประเภทตัวเรือขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ

[แก้]
  • เรือเอ็นโอเอเอเอส เฮนรี ไบรอันท์ บิเกโลว์ (R 225) เป็นเรือวิจัย
    R: เรือวิจัย (Research ship), รวมไปถถึงเรือวิจัยสมุทรศาสตร์และการประมง
  • S: เรือสำรวจ (Survey ship), รวมไปถึงเรือสำรวจด้านอุทกศาสตร์

โดยตัวอักษรดังกล่าวจะใช้จับคู่กับตัวเลขอีก 3 หลัก ตัวเลขหลักแรกระบุถึง "ระวางขับน้ำ" ของเรือ ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้

  • หากระวางขับน้ำคือ 5,501 ถึง 9,000 หลักแรกคือ "1"
  • หากระวางขับน้ำ 3,501 ถึง 5,500 หลักแรกคือ "2"
  • หากระวางขับน้ำคือ 2,001 ถึง 3,500 หลักแรกคือ "3"
  • หากระวางขับน้ำคือ 1,001 ถึง 2,000 หลักแรกคือ "4"
  • หากระวางขับน้ำคือ 501 ถึง 1,000 หลักแรกคือ "5"
  • หากระวางขับน้ำอยู่ที่ 500 หรือน้อยกว่า และเรือมีความยาวอย่างน้อย 65 ฟุต (20 เมตร) ตัวเลขตัวแรกคือ "6"

ตัวเลขหลักที่สองและหลักที่สามมีไว้สำหรับกำหนดหมายเลขตัวเรือด้วยการผสมชุดตัวเลขเรียงกันไปแบบไม่ซ้ำกัน

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]

บันทึกคำอธิบาย

[แก้]
  1. รายการรหัสประเภทนี้ไม่ได้รับการยอมรับโดย U.S. Naval Vessel Register และปรากฏเฉพาะใน MIL-STD-2525A: Common Warfighting Symbology (15 ธันวาคม 1996) และรุ่นที่ใหม่กว่า (MIL-STD-2525B: Common Warfighting Symbology (30 มกราคม 1999) และ MIL-STD-2525C: Common Warfighting Symbol (17 พฤศจิกายน 2551)) ซึ่งน่าจะหมายถึงเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์บางประเภทที่ใช้โดยกองกำลังปฏิบัติการพิเศษ

เชิงอรรถวิกิลิงก์

[แก้]
  1. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Wright (AZ-1).
  2. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Kentucky (BB-66).
  3. ดูข้อมูลเพิ่มที่ Alaska-class cruiser.
  4. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Hawaii (CB-3).
  5. ดูข้อมูลเพิ่มที่ Lexington-class battlecruiser.
  6. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Northampton (CLC-1).
  7. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Norfolk (DL-1).
  8. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Halibut ZSSGN-587).
  9. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Guavina (SSO-362).
  10. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Triton (SSRN-586).
  11. ดูข้อมูลเพิ่มที่ X-1 submarine.
  12. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Jason (ARH-1).
  13. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Crane Ship No. 1
  14. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Glover (AGDE-1)
  15. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Plainview (AGEH-1)
  16. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Glover (AGFF-1)
  17. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Point Barrow (AKD-1)
  18. ดูข้อมูลเพิ่มที่ USS Norton Sound (AVM-1)
  19. ดูข้อมูลเพิ่มที่ Deep Submergence Vessel NR-1.
  20. ดูข้อมูลเพิ่มที่ Akron-class airship.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Derdall and DiGiulian, (section: Cruisers)
  2. Naval History and heritage Command Online Library of Selected Images (archived from the original at https://web.archive.org/web/20100329212007/http://www.history.navy.mil/photos/shusn-no/spid-no.htm).
  3. (OSS) +MSS+CSS&source=bl&ots=q0Iq2sEN7a&sig=HN4i6XsnjYb3s8LOLXrPMbSaIUg&hl=en&sa=X&ei=3nBpU8XXFdHboASC64DoAg&ved=0CCgQ6AEwAA#v=onepage&q=Ocean%20Survey%20Ship%20 (OSS) %20MSS%20CSS&f=false United States Department of State, United States Treaties and Other International Obligations, Volume 23, Part Four, Washington, D.C.:U.S. Government Printing Office, 1972, p. 3612.
  4. "United States Department of Commerce, Annual Report of the Director of the Coast and Geodetic Survey for the Fiscal Year Ending June 30, 1964, U.S. Government Printing Office, Washington, D.C.: 1964, pp. 3–5" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 February 2013. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
  5. Derdall and DiGiulian, (section: Nomenclature history)
  6. Wertheim, The Naval Institute Guide to Combat Fleets of the World, 15th Edition: Their Ships, Aircraft, and Systems, p. 1005.
  7. "U.S. Navy Ships – Listed by Hull Number". Naval History and Heritage Command.
  8. SECNAVINST 5030.8B
  9. Grossnick, Roy (1997). United States Naval Aviation 1910-1995 (PDF). Naval History and Heritage Command, Washington, D.C.: Naval Historical Center. p. 625. ISBN 0-945274-34-3.
  10. "English Translation of "voler" | Collins French-English Dictionary". www.collinsdictionary.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-02-07.
  11. "[Plane plain plain] คำว่า Airplane กับ Aircraft เหมือนหรือต่างกัน? วันนี้ขอมาเขียนเรื่องพื้นฐานการใช้คำเรียกชื่อ แต่ก็มีความสำคัญน่ารู้ไว้ จะได้ไม่นำไปใช้สลับกันครับ". www.blockdit.com.
  12. United States Naval Aviation 1910–1995. Appendix 16: US Navy and Marine Corps Squadron Designations and Abbreviations.
  13. Military naming conventions: The ABCs of US ships, Daily Press
  14. "Flush-deck destroyers converted as seaplane tenders (AVD)". 2021-06-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  15. Bureau of Aeronautics, Navy Department."New Carrier Designations". BuAER News (title later changed to Naval Aviation News). Washington, D.C. No. 198 (1 Aug 1943) p. 9.
  16. United States. Office of Naval History. Glossary of U.S. Naval Abbreviations. 3d ed. Washington: U.S. Govt. Print. Off., 1947. p. 20.
  17. United States. Office of Naval Records and History. Glossary of US Naval Abbreviations. 5th ed. Washington: U.S. Govt. Print. Off., 1949. Naval History and Heritage Command. accessed 6 May 2017.
  18. "The Vari-Purpose Carrier". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 4 August 2011.
  19. Friedman, Norman (2003). U.S. Destroyers: An Illustrated Design History (Revised ed.). Annapolis, MD: U.S. Naval Institute Press. pp. 266–267. ISBN 978-1-55750-442-5. ...a gutted Benson-class destroyer. This "corvette" (DDC) "can be readily obtained..."
  20. Derdall and DiGiulian, (section: Torpedo Boats, Destroyers, Escorts and Frigates)
  21. "ดูเรือ LCS ยิงอาวุธนำวิถี กลับมาคราวนี้พร้อมกริฟฟิน-เฮลไฟร์-ฮาร์พูน-คองส์เบิร์ก-จรวดล่องหน LRASM". mgronline.com. 2016-08-06.
  22. Navy Plans to Expand, Speed-Up LCS Modifications – Military.com, 4 March 2015
  23. U.S. Navy Ship And Service Craft Classifications เก็บถาวร 16 ตุลาคม 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. Buff, Joe (June 2007). "Subs in the Littoral: Diesels Just Blowing Smoke?". Proceedings of the Naval Institute. 133 (6): 40–43. ISSN 0041-798X. สืบค้นเมื่อ 2007-06-13. Diesel AIP boats are known as SSIs, differentiating them from purely diesel-electric-powered hunter-killer subs, or SSKs.
  25. Inactive Classification Symbols เก็บถาวร 18 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. 28034_cov.fh เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. "World Wide Landing Ship Dock/Landing Platform Dock". สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  28. Friedman, Norman (2002). U.S. Amphibious Ships and Craft: An Illustrated Design History. Illustrated Design Histories. Naval Institute Press. p. 656. ISBN 1-55750-250-1.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 "คำศัพท์ทางการทหาร - ศูนย์การเรียนรู้ กรมจเรทหารบก" (PDF). www.inspectorrta.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. 30.0 30.1 30.2 "คำย่อของเรือใน ทร. – Seafarer Library" (ภาษาอังกฤษ).
  31. "หมวดฝึกประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ (DRIVER&EOD) ฝึกแลกเปลี่ยนการเอ็กซเรย์ทุ่นระเบิด Mk-6 ในการฝึกคอบร้าโกลด์ ๒๐ - Royal Thai Navy - Detail Main". www.navy.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. "Hull Classification Symbol". militarypower.wikidot.com. สืบค้นเมื่อ 17 January 2018.
  33. "PCER-848". navsource. สืบค้นเมื่อ 21 December 2017.
  34. "United States Coast Guard" (ภาษาอังกฤษ). 1 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2006. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]