อาร์ยูอาร์-5 แอสร็อค
RUR-5 ASROC | |
---|---|
![]() ASROC บนเรือ ยูเอสเอส ''โคลัมบัส'' (1962) | |
ชนิด | ต่อต้านเรือดำน้ำ |
แหล่งกำเนิด | ![]() |
บทบาท | |
ประจำการ | 1961[1] |
ผู้ใช้งาน | สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | ฮันนีย์เวลล์[1] |
มูลค่า | ประมาณ $350,000 (ไม่รวมหัวรบ) |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 1073 lb (488 กก.)[1] |
ความยาว | 14.75 ฟุต(4.5 ม.)[1] |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 16.6 in (422 มม.) |
หัวรบ | มาร์ก 46 ตอปิโด, 96.8 ปอนด์ (44 กก.)[1] ของ PBXN-103 ระเบิดแรงสูง |
กลไกการจุดชนวน | Payload Specific |
เครื่องยนต์ | มอร์เตอจรวดเชื้อเพลิงแข็ง[1] |
ความยาวระหว่างปลายปีก | 26 7/8 in (683 มม.) |
พิสัยปฏิบัติการ | 12 ไมล์ (22 กม.)[1] |
ความเร็ว | ต่ำกว่าเสียง |
ระบบนำวิถี | Inertial guidance |
ฐานยิง | เรือผิวน้ำ |
อาร์ยูอาร์-5 แอสร็อค มาจากคำว่า ASROC (Anti-Submarine ROCket) เป็นระบบขีปนาวุธโจมตีเรือดำน้ำทุกสภาพอากาศ ทุกสภาพทะเล พัฒนาโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1950 และเริ่มใช้งานในทศวรรษที่ 1960 โดยติดตั้งกับเรือรบผิวน้ำของสหรัฐอเมริกากว่า 200 ลำ นอกจากนี้ยังมีชาติผู้ใช้งานอื่น เช่น แคนาดา สเปน เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐจีน เกาหลีใต้ ปากีสถาน กรีซ ตุรกี เม็กซิโก และไทย[2]
สำหรับราชนาวีไทยแอสร็อคถูกติดตั้งบนเรือฟริเกตชั้นน็อกซ์ ซึ่งมีอยู่สองลำคือ เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (461) และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย (462)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Thomas, Vincent C. The Almanac of Seapower 1987 Navy League of the United States (1987) ISBN 0-9610724-8-2 pp.190-191
- ↑ Friedman, Norman (May 1997). The Naval Institute Guide to World Naval Weapons Systems, 1997-1998. แอนนาโพลิส, แมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา: United States Naval Institute Press. p. 668. ISBN 1-55750-268-4.
- ↑ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กองเรือฟริเกตที่ 1 ราชนาวีไทย (สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2556)
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ อาร์ยูอาร์-5 แอสร็อค