ข้ามไปเนื้อหา

เรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นอาคากิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:Infobox service record

อาคากิดำเนินปฏิบัติการออกเที่ยวบินของเครื่องบิน, เมื่อปี ค.ศ. 1942
ภาพรวมชั้น
ผู้ใช้งาน: Naval flag of จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ก่อนหน้าโดย: Hōshō
ตามหลังโดย: Kaga
สร้างเมื่อ: 1920–1927
ในราชการ: 1927–1942
ในประจำการ: 1927–1942
เสร็จแล้ว: 1
สูญเสีย: 1
ประวัติ
จักรวรรดิญี่ปุ่น
ชื่ออาคากิ
ตั้งชื่อตามภูเขาไฟอาคากิ
Ordered1920
อู่เรืออู่ทหารเรือคูเระ
มูลค่าสร้าง¥53 million ($36.45 million)
ปล่อยเรือ6 ธันวาคม ค.ศ. 1920
เดินเรือแรก22 เมษายน ค.ศ. 1925
เข้าประจำการ25 มีนาคม ค.ศ. 1927
เปลี่ยนระดับ21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 ที่ได้กลายเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน
Refit24 ตุลาคม ค.ศ. 1935 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1938
Stricken25 กันยายน ค.ศ. 1942
ความเป็นไปได้รับความเสียหายโดยการโจมตีทางอากาศของสหรัฐที่ยุทธนาวีที่มิดเวย์และถูกทำให้จมโดยเรือพิฆาตญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1942
ลักษณะเฉพาะ (after 1938 modernization)
ชั้น: None
ประเภท: เรือบรรทุกเครื่องบิน
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
ความยาว: 260.67 m (855 ft 3 in)
ความกว้าง: 31.32 m (102 ft 9 in)
กินน้ำลึก: 8.71 m (28 ft 7 in)
ระบบพลังงาน:
ระบบขับเคลื่อน:
  • 4 shafts
  • 4 Kampon geared steam turbines
  • ความเร็ว: 31.5 นอต (58.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 36.2 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    พิสัยเชื้อเพลิง: 10,000 nmi (19,000 km; 12,000 mi) at 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 18 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    อัตราเต็มที่: 1,630
    ยุทโธปกรณ์:
    เกราะ:
  • Belt: 152 mm (6.0 in)
  • Deck: 79 mm (3.1 in)
  • อากาศยาน:
  • 66 (+25 reserve)
  • 21 Mitsubishi A6M Zero
  • 18 Aichi D3A
  • 27 Nakajima B5N (7 Dec 1941)
  • อาคากิ(Japanese: 赤城; "ปราสาทแดง") เป็นเรือบรรทุกอากาศยานที่ถูกสร้างขึ้นโดยกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น(IJN) ชื่อนี้มาจากภูเขาอาคากิซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดกุมมะในปัจจุบัน แม้ว่าเรือลำนี้จะได้ถูกปล่อยลงทะเลในฐานะเรือลาดตระเวนประจัญบานชั้นอามากิ อาคากิได้รับการดัดแปลงให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินในขณะที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน เรือนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 ถึง ค.ศ. 1938 โดยเรือลำนี้แต่เดิมจะมีดาดฟ้าบินถึงสามชั้น ต่อมาก็ได้ทำการรวมเป็นดาดฟ้าบินชั้นเดียวที่ได้ขยายใหญ่ขึ้นและเป็นเกาะของโครงสร้างส่วนบน เรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นลำที่สองที่ได้เข้าประจำการและเป็นกองเรือบรรทุกเครื่องบินหรือกองเรือขนาดใหญ่กองแรก อาคากิและคากะที่มีความเกี่ยวข้องดังที่คาดคิดอย่างชัดเจนในการพัฒนาหลักสูตรกองกำลังจู่โจมเรือบรรทุกเครื่องแบบใหม่ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ได้ทำการรวมตัวของเรือบรรทุกเครื่องบินไว้ด้วยกัน โดยมุ่งเน้นไปที่อำนาจทางอากาศ หลักสูตรนี้ทำให้ญี่ปุ่นสามารถบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในช่วงแรกของสงครามแปซิฟิก ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 จนถึงกลางปี ค.ศ. 1942

    เครื่องบินของอาคากิได้เข้าประจำการในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองในช่วงปลายปี ค.ศ. 1930 เมื่ออยู่ในรูปแบบของกองเรือบินที่หนึ่งหรือคิโด บุไต(กองกำลังจู่โจม)ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1941 เรือลำนี้กลายเป็นเรือธง และยังคงเป็นเช่นนั้นตลอดระยะเวลาของการประจำการของเรือลำนี้กับเรือบรรทุกเครื่องบินลำอื่นๆ เรือลำนี้ได้เข้าร่วมในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 และการบุกครองเรเบาล์ในทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 เดือนต่อมา เครื่องบินทิ้งระเบิดของเรือลำนี้ได้ทิ้งระเบิดที่ดาร์วิน, ประเทศออสเตรเลีย และสนับสนุนในการยึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ในเดือนมีนาคม และเมษายน ค.ศ. 1942 เครื่องบินของอาคากิได้ช่วยเหลือในการจมเรือลาดตระเวณหนักของบริติซและเรือพิฆาตของออสเตรเลียในการตีโฉบฉวยมหาสมุทรอินเดีย

    ภายหลักจากการซ่อมบำรุงในระยะเวลาอันสั้น อาคากิและเรือบรรทุกเครื่องบินอีกสามลำของคิโด บุไต ได้เข้าร่วมในยุทธนาวีที่มิดเวย์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 ภายหลังจากการทิ้งระเบิดใส่กองทัพอเมริกันบนอะทอลล์ อาคากิและเรือบรรทุกเครื่องบินลำอื่นถูกโจมตีโดยเครื่องบินอเมริกันจากเกาะมิดเวย์ และเรือบรรทุกเครื่องบินสามลำ ได้แก่ เอนเทอร์ไพรซ์, ฮอร์เนต และยอร์กทาวน์ เครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดจากเรือบรรทุกเครื่องบินเอนเทอร์ไพรซ์ได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงกับอาคากิ เมื่อเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเรือลำนี้ไม่อาจที่จะสามารถกู้ซ่อมได้เลย ดังนั้นจึงลงเอยด้วยการจมเรือลำนี้ทิ้งโดยเรือพิฆาตญี่ปุ่นเพื่อป้องกันไม่ให้เรือลำนี้ไปตกอยู่ในเงื้อมมือของฝ่ายข้าศึก การสูญเสียของอาคากิและเรือบรรทุกเครื่องบินสามลำของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์เป็นความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับญี่ปุ่นและมีส่วนที่สำคัญต่อชัยชนะอย่างล้นหลามของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก

    ซากของเรืออาคากิได้ถูกค้นพบที่ก้นทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 โดย Research Vessel Petrel

    อ้างอิง

    [แก้]
    • Bōeichō Bōei Kenshūjo (1967), Senshi Sōsho Hawai Sakusen. Tokyo: Asagumo Shimbunsha.
    • Brown, David (1977). Aircraft Carriers. New York: Arco Publishing. ISBN 0-668-04164-1.
    • Campbell, John (1985). Naval Weapons of World War Two. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 0-87021-459-4.
    • Condon, John P. (n.d.). U.S. Marine Corps Aviation. Washington, D.C.: Government Printing Office. Archived from the original on 10 December 2012. Retrieved 19 October 2011.
    • Cressman, Robert J.; Ewing, Steve; Tillman, Barrett; Horan, Mark; Reynolds, Clark G.; Cohen, Stan (1990). A Glorious Page in Our History: The Battle of Midway 4–6 June 1942. Missoula, Montana: Pictorial Histories Publishing. ISBN 978-0-929521-40-4.
    • Dull, Paul S. (1978). A Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 0-87021-097-1.
    • Evans, David C. (Editor); Mitsuo Fuchida (1986). The Japanese Navy in World War II: In the Words of Former Japanese Naval Officers (2nd ed.). Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 0-87021-316-4.
    • Fuchida, Mitsuo; Okumiya, Masatake (1955). Midway: The Battle That Doomed Japan: The Japanese Navy's Story. Annapolis, Maryland: United States Naval Institute. OCLC 565962619.
    • Gardiner, Robert; Gray, Randal, eds. (1985). Conway's All the World's Fighting Ships: 1906–1921. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 0-85177-245-5.
    • Gibbs, Jay & Tamura, Toshio (1982). "Question 51/80". Warship International. XIX (2): 190, 194–195. ISSN 0043-0374.
    • Gill, G. Hermon (1968). Volume II – Royal Australian Navy, 1942–1945. Australia in the War of 1939–1945, Series 2: Navy. Canberra: Australian War Memorial.
    • Goldstein, Donald M.; Dillon, Katherine V.; Wenger, J. Michael (1991). The Way it Was: Pearl Harbor: The Original Photographs. New York: Prange Enterprises and Brassey's (US). ISBN 0-08-040573-8.
    • Goldstein, Donald M.; Dillon, Katherine V., eds. (2004). The Pacific War Papers: Japanese Documents of World War II. Dulles, Virginia: Potomac Books. ISBN 1-57488-632-0.
    • Hata, Ikuhiko; Izawa, Yasuho (1989) [1975]. Japanese Naval Aces and Fighter Units in World War II. Gorham, Don Cyril (translator) (translated ed.). Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 0-87021-315-6.
    • Hata, Ikuhiko; Shores, Christopher; Izawa, Yasuho (2011). Japanese Naval Air Force Fighter Units and Their Aces 1932–1945. London: Grub Street. ISBN 978-1-906502-84-3.
    • Hoyt, Edwin P. (1990). Yamamoto: The Man who Planned Pearl Harbor. New York: McGraw-Hill. ISBN 0-07-030626-5.