กอเทนเบิร์ก
กอเทนเบิร์ก เยอเตอบอร์ย |
||
---|---|---|
![]() |
||
|
||
พิกัดภูมิศาสตร์: 57°42′N 11°58′E / 57.700°N 11.967°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 57°42′N 11°58′E / 57.700°N 11.967°E | ||
ประเทศ | สวีเดน | |
จังหวัด | Västergötland และ Bohuslän | |
มณฑล | มณฑลเวสตรา เยอตาลันด์ | |
เทศบาล | กอเทนเบิร์ก | |
Charter | ค.ศ. 1621 | |
พื้นที่[1] | ||
• ตัวเมือง | 447.76 ตร.กม. (172.88 ตร.ไมล์) | |
• พื้นน้ำ | 14.5 ตร.กม. (5.6 ตร.ไมล์) 3.2% | |
• เขตเมือง | 203.67 ตร.กม. (78.64 ตร.ไมล์) | |
• เขตมหานคร | 3,694.86 ตร.กม. (1,426.59 ตร.ไมล์) | |
ประชากร (ค.ศ. 2016)[1][4] | ||
• ตัวเมือง | 572,779 | |
• ความหนาแน่น | 1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์) | |
• เขตเมือง | 581,822[3] | |
• เขตมหานคร | 1,001,032[2] | |
เขตเวลา | CET (UTC+1) | |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | CEST (UTC+2) | |
เว็บไซต์ | www.goteborg.se |
กอเทนเบิร์ก (อังกฤษ: Gothenburg) หรือ เยอเตอบอร์ย (สวีเดน: Göteborg) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศสวีเดน และเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 5 ของกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสวีเดน ในเมืองมีประชากรประมาณ 580,000 คน หากนับในเขตมหานครจะมีทั้งหมดประมาณหนึ่งล้านคน[1]
กอเทนเบิร์กถูกก่อตั้งใน ค.ศ. 1621 โดยได้รับหนังสือแต่งตั้งจากสำนักพระราชวังตามคำสั่งของกษัตริย์กุสตาฟที่ 2 อดอล์ฟ ซึ่งมีความตั้งใจให้เป็นนิคมการค้าซึ่งมีระบบป้องกันที่แข็งแรง กษัตริย์ได้ให้เอกสิทธิ์พิเศษ เช่น การลดหย่อนภาษี กับชาวดัตช์ซึ่งเป็นพันธมิตรจากสงครามสามสิบปี และยังเชิญชวนพันธมิตรทั้งชาวเยอรมันและชาวสก็อตให้มาอยู่ในเมืองหนึ่งเดียวของเขาบนชายฝั่งตะวันตก เมืองตั้งอยู่ปากแม่น้ำเยอตาซึ่งเป็นที่ลุ่มน้ำไหลกลับสู่ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวีย กอเทนเบิร์กเป็นเมืองท่าทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มนอร์ดิก[5] มีการทำประมง ส่งรถยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้เป็นสินค้าออก
กอเทนเบิร์กเป็นบ้านของนักเรียนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาลัยกอเทนเบิร์กและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชามเมอร์ส์ วอลโว่ถูกก่อตั้งในเมืองกอเทนเบิร์กเมื่อปี ค.ศ. 1927[6] บริษัทหลักอื่น ๆ ได้แก่ SKF และ แอสตราเซเนกา ก็ถูกก่อตั้งใจเมืองนี้เช่นกัน
สนามบินที่ถูกใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ ท่าอากาศยานกอเทนเบิร์กแลนด์เวตเตอร์ ตั้งอยู่ 30 กิโลเมตรจากกลางเมือง ส่วนสนามบินอีกที่ชื่อว่า ท่าอากาศยานเมืองเยอเตอบอร์ย มีขนาดเล็กกว่า และตั้งอยู่ 15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์) จากใจกลางเมืองถูกเลิกใช้ใน ค.ศ. 2015
เมืองเป็นเจ้าภาพงานหลายงานประจำปีซึ่งใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย เทศกาลหนังกอเทนเบิร์กที่ถูกจัดในเดือนมกราคมมาตั้งแต่ ค.ศ. 1979 เป็นเทศกาลหนังแนวหน้าของแถบสแกนดิเนเวียที่มีผู้เข้าชมกว่า 155,000 คนต่อปี[7] ในช่วงหน้าร้อน มักมีการจัดเทศกาลดนตรีขึ้นในเมือง เช่น Way Out West และ Metaltown
เนื้อหา
ที่มาของชื่อ[แก้]
เมืองถูกตั้งชื่อตามกีธส์ (สวีเดน: Götar รูปแบบอื่น: Geatas, Gautar, Goths, Gotar, Gøtar อังกฤษ: Geats ) ผู้อาศัยของกอเธียซึ่งตอนนี้อยู่ในทางใต้ของประเทศสวีเดน[8][9][10] เมืองตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเยอตาหรือแม่น้ำกอเธีย เยอตาบอร์ย "ป้อมปราการกอเธีย" เป็น ป้อมปราการบนแม่น้ำเยอตาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันท่าเรือ
ในภาษาดัตช์ ภาษาสก็อต และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีประวัติร่วมกับเมืองนี้เป็นเวลายาวนาน ล้วนใช้ชื่อกอเทนเบิร์ก
ใน ค.ศ. 2009 สภาเทศบาลนครได้เปิดตัวสัญลักษ์ใหม่ของกอเทนเบิร์ก ด้วยความที่ชื่อ "ยอเตอบอร์ย (Göteborg)" มีตัวอักษรภาษาสวีเดน "ö" จึงเกิดความคิดที่จะทำให้ชื่อมีความสากลมากขึ้นด้วยการหันตัว "ö" ไปข้าง ๆ ชื่อเมืองจึงมักถูกเขียนว่า "Go:teborg" บนป้ายในเมือง[11]
ความเป็นมา[แก้]
ในช่วงต้นยุคใหม่ รูปทรงของเขตแดนประเทศสวีเดนทำให้กอเทนเบิร์กมีความสำคัญทางชัยภูมิ โดยเป็นประตูสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศสวีเดนซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก มีเมืองฮาลแลนด์ของเดนมาร์กอยู่ทางใต้ และ Bohuslän ของนอร์เวย์อยู่ทางเหนือ กอเทนเบิร์กถูกกต่อตั้งในค.ศ. 1621 โดยกษัตริย์กุสตาฟที่ 2 อดอล์ฟ หลังความล้มเหลวหลายครั้ง[12] สถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบสถ์แห่งแรกในเมืองกอเทนเบิร์กซึ่งต่อมาถูกทำลายโดยผู้บุกรุกชาวเดนมาร์กตอนนี้มีหินเป็นเครื่่องหมาย อยู่ใกล้กับปลายฝั่งเหนือของสะพาน Älvsborg ในสวน Färjenäs โบสถ์ถูกสร้างใน ค.ศ. 1603 และถูกทำลายใน ค.ศ. 1611[13] เมืองได้รับอิทธิพลจากชาวดัตช์ ชาวเยอรมัน และชาวสก็อต และนักวางแผนกับวิศวกรชาวดัตช์เป็นผู้ถูกรับจ้างให้สร้างเมือง ด้วยความที่พวกเขามีทักษะในการดูดน้ำออก และก่อสร้างบนพื้นที่ซึ่งเป็นแอ่งน้ำ เมืองถูกออกแบบคล้ายกับเมืองของชาวดัตช์ เช่น อัมสเตอร์ดัม, ปัตตาเวีย (จาการ์ตา), และ นิวอัมสเตอร์ดัม (แมนแฮตตัน)[12] รูปแบบของถนนและคลองของกอเทนเบิร์กมีความคล้ายกับของเมืองจาการ์ตาซึ่งถูกสร้างในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน[14] แต่เดิมชาวดัตช์เป็นผู้กุมอำนาจทางการเมือง จน ค.ศ. 1652 เมื่อนักการเมืองชาวดัตช์คนสุดท้ายในสภาเมืองได้เสียชีวิตลง ชาวสวีเดนก็ได้รับอำนาจทางการเมืองของกอเทนเบิร์ก[15] ในช่วงที่เมืองถูกปกครองโดยชาวดัตช์ กฎหมายดัตช์ถูกนำมาใช้และภาษาดัตช์ถูกใช้เป็นภาษาทางการของเมือง กำแพงเมืองถูกสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ใน ค.ศ. 1807 ได้มีคำสั่งให้ทำลายกำแพงเมืองส่วนใหญ่ลง งานทำลายเริ่มเมื่อ ค.ศ. 1810 ดำเนินการโดยทหาร 150 นาย[16]
นอกจากชาวดัตช์ เมืองยังได้รับอิทธิพลจากชาวสก็อตซึ่งเข้ามาตั้งรกรากในกอเทนเบิร์ก โดยหลายคนได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง[17] วิลเลียม ชามเมอร์ส์ ผู้เป็นบุตรชายของผู้อพยพชาวสก็อต ได้บริจาคทรัพย์สินของเขาเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยซึ่งตอนนี้ใช้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชามเมอร์ส์[18] ใน ค.ศ. 1841 อเล็กซานเดอร์ เคลเลอร์ ได้ก่อตั้ง บริษัทต่อเรือ Götaverken ซึ่งดำเนินกิจการจนถึง ค.ศ. 1989[19] ลูกชายของเขาได้บริจาคสวนเคลเลอร์ให้เมืองในค.ศ. 1906[20]
ตราอาร์มกอเทนเบิร์กมีฐานมาจากเสือของตราแผ่นดินของสวีเดน โดยถือโล่ซึ่งมีสัญลักษณ์ประจำชาติ มงกุฎ 3 อัน เพื่อปกป้องเมืองจากศัตรู[21]
ภายใต้สนธิสัญญาโรสกิลด์ (ค.ศ. 1658) เดนมาร์ก–นอร์เวย์ ได้สละอาณาเขตฮาลแลนด์ทางใต้ซึ่งในตอนนั้นเป็นของเดนมาร์ก รวมถึงอาณาเขตโบฮุสของนอร์เวย์ซึ่งอยู่ทางเหนือ ให้โอกาสกอเทนเบิร์กได้เติบโตเป็นเมืองท่าและศูนย์การค้าที่สำคัญบนชายฝั่งตะวันออก ด้วยความที่เป็นเมืองเดียวบนชายฝั่งตะวันออกที่มีสิทธิ์ค้าขายกับคนค้าขายจากประเทศอื่น[15]
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 การตกปลาเป็นอุตสาหกรรมซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด อย่างไรก็ตามใน ค.ศ. 1731 Swedish East India Company ถูกก่อตั้งขึ้น เป็นผลให้เมืองเฟื่องฟูจากการค้าขายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าขายกับประเทศจีนซึ่งให้กำไรสูง[22]
ท่าเรือของเมืองได้พัฒนาเป็นท่าเรือหลักของประเทศสวีเดนในการค้าขายกับฝั่งตะวันตก และเมื่ออัตราการอพยพของชาวสวีเดนไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น กอเทนเบิร์กกลายเป็นจุดหลักที่คนเหล่านี้จะออกเดินทาง จนทำให้มีเมืองในรัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา ที่ชื่อว่ากอเทนเบิร์ก เช่นกัน[23]
กอเทนเบิร์กพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 โดยประชากรเมืองได้เพิ่มขึ้นสิบเท่าภายในหนึ่งศตวรรษ จาก 13,000 คนใน ค.ศ. 1800 เป็น 130,000 คนใน ค.ศ. 1900[24][25][26] ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 บริษัทหลักที่ถูกพัฒนาขึ้นได้แก่ SKF (ค.ศ. 1907)[27] และ วอลโว่ (ค.ศ. 1927)[28]
ภูมิศาสตร์[แก้]
กอเทนเบิร์กตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน อยู่กึ่งกลางระหว่างโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก และออสโลเมืองหวงของประเทศนอร์เวย์ การที่เมืองตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเยอตาส่งผลให้เมืองเติบโตเป็นเมืองทางการค้าที่มีความสำคัญ หมู่เกาะของกอเทนเบิร์กประกอบไปด้วยหินและหน้าผา[29] กระแสน้ำอุ่นกัฟสตรีมทำให้เมืองมีภูมิอากาศค่อนข้างอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างบ่อย[30] เป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศสวีเดนรองจากสต็อกโฮล์ม[31]
เขตมหานครกอเทนเบิร์ก (สตอร์-เยอเตอบอร์ย) มีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 982,360 คน[32]
อากาศ[แก้]
กอเทนเบิร์กมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร[33] แม้อยู่บนละติจูดเหนือ แต่ก็อุ่นกว่าที่อื่นบนละติจูดคล้ายกัน เช่น สต็อกโฮล์ม หรือ แม้กระทั้งเมืองที่อยู่ใต้กว่า ด้วยผลจากกระแสน้ำอุ่นกัฟสตรีม[30] ในฤดูร้อนกลางวันมีความยาวถึง 18 ชั่วโมง 5 นาที ทว่าในปลายเดือนธันวาคมเหลือเพียง 6 ชั่วโมง 32 นาที เท่านั้น ฝนตกเป็นเรื่องปกติ มักไม่หนักและเกิดขึ้นทั้งปี หิมะมักตกระหว่างธันวาคมและมีนาคม ทว่าอาจพบได้ในเดือนพฤศจิกายนและเมษายน หรือบางทีในเดือนตุลาคมและพฤษภาคม หรือแม้กระทั้งในเดือนกันยายน[34]
ข้อมูลภูมิอากาศของกอเทนเบิร์ก, ค.ศ. 2002–2015; หยาดน้ำฟ้า ค.ศ. 1961–1990; อุณหภมูิสูงสุดที่เคยบันทึกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1901 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 10.8 (51.4) |
11.2 (52.2) |
18.9 (66) |
28.5 (83.3) |
29.8 (85.6) |
32.0 (89.6) |
33.8 (92.8) |
33.5 (92.3) |
28.5 (83.3) |
20.7 (69.3) |
14.5 (58.1) |
12.7 (54.9) |
33.8 (92.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 1.2 (34.2) |
1.7 (35.1) |
5.0 (41) |
9.9 (49.8) |
16.8 (62.2) |
19.9 (67.8) |
22.7 (72.9) |
21.9 (71.4) |
18.0 (64.4) |
12.0 (53.6) |
7.7 (45.9) |
4.2 (39.6) |
12.3 (54.1) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -1.3 (29.7) |
-1.5 (29.3) |
2.0 (35.6) |
8.1 (46.6) |
12.6 (54.7) |
15.9 (60.6) |
18.8 (65.8) |
18.5 (65.3) |
14.4 (57.9) |
9.1 (48.4) |
5.5 (41.9) |
2.0 (35.6) |
9.0 (48.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -3.6 (25.5) |
-4.0 (24.8) |
-1.0 (30.2) |
2.4 (36.3) |
7.5 (45.5) |
11.8 (53.2) |
14.8 (58.6) |
14.2 (57.6) |
10.7 (51.3) |
6.1 (43) |
2.1 (35.8) |
-1.1 (30) |
5.5 (41.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -26.6 (-15.9) |
-22.8 (-9) |
-19.2 (-2.6) |
-11.0 (12.2) |
-4.3 (24.3) |
1.8 (35.2) |
5.3 (41.5) |
3.5 (38.3) |
-2.5 (27.5) |
-8.5 (16.7) |
-13.5 (7.7) |
-21.9 (-7.4) |
-26.6 (-15.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 68 (2.68) |
41 (1.61) |
54 (2.13) |
42 (1.65) |
48 (1.89) |
59 (2.32) |
72 (2.83) |
74 (2.91) |
84 (3.31) |
87 (3.43) |
87 (3.43) |
75 (2.95) |
791 (31.14) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 15 | 12 | 10 | 12 | 10 | 12 | 14 | 14 | 16 | 15 | 16 | 17 | 163 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 45 | 68 | 163 | 211 | 238 | 253 | 232 | 200 | 167 | 100 | 46 | 33 | 1,756 |
แหล่งที่มา1: [35] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: [36] |
วัฒนธรรม[แก้]
วัฒนธรรมของชาวกอเทนเบิร์กสะท้อนถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทะเล การค้าขาย และอุตสาหกรรม โดยกอเทนเบิร์กยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมบนชายฝั่งตะวันตก
พิพิธภัณฑ์[แก้]
สถาบันทางวัฒนธรรม รวมถึงโรงพยาบาล และมหาวิทยาลัย หลายแห่งถูกต่อตั้งจากเงินบริจาคจากนักค้าขายผู้ร่ำรวยและนักอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์เรอฮ์ส์สกา (Röhsska Museum)[37] เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2004 พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโลก (Museum of World Culture) เริ่มเปิดให้เข้าชม[38][39] พิพิธภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกอเทนเบิร์ก และหลาย ๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางทะเลและการนำทาง พิพิฑภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาและ East India[40] แอโรเซียม (Aeroseum) เป็นพิพิธภัณฑ์อากาศยานที่เคยเป็นฐานกองทัพอากาศมาก่อน[41] พิพิธภัณฑ์วอลโว (Volvo museum) แสดงประวัติและการพัฒนาของวอลโวตั้งแต่ ค.ศ. 1927 จนถึงปัจจุบัน[42]
ยูนิเวอร์เซียม (Universeum) เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สาธารณะซึ่งเปิดใน ค.ศ. 2001[43]
สันทนาการ[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดสนใจมากที่สุดได้แก่ ลิสแบร์ (Liseberg) ซึ่งตั้งอยู่ส่วนกลางของเมือง และเป็นสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวียนับจากจำนวนเครื่องเล่น[44] ลิสแบร์ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสิบสวนสนุกที่ดีที่สุดในโลกโดยฟอบส์ ใน ค.ศ. 2005[45] และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมที่สุดในประเทศสวีเดนเมื่อนำจำนวนผู้เข้าชมต่อปี (มากกว่า 3 ล้านคน)[46] ในเมืองมีโรงละครตั้งอยู่หลายแห่งด้วยกัน[47]
ถนนหลักของเมืองชื่อว่า Kungsportsavenyn หรือเป็นที่รู้จักในนาม อเวนิว (Avenyn) มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร (0.6 ไมล์) เริ่มจากเยอตาพลัตเซน (Götaplatsen) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะกอเทนเบิร์ก โรงละครเมือง และหอสมุดเมือง รวมไปถึงหอประชุมที่จัดคอนเสิร์ต ยาวไปจนถึง คุงสปอร์ตพลัตเซน (Kungsportsplatsen) ในเขตเมืองเก่า[48] อเวนิว ถูกสร้างขึ้นช่วง ค.ศ. 1860 และ ค.ศ. 1880 เป็นผลจากการแข่งขันสถาปัตยกรรมนานาชาติ และเป็นผลของช่วงวางแผนและออกแบบเมืองใหม่[49] อเวนิว ยังเป็นแหล่งรวมบาร์และสถานเริงรมย์ของเมือง นอร์ดสตาน (Nordstan) เป็นห้างสรรพสินค้าซึ่งใหญ่ที่สุดในกอเทนเบิร์ก[46]
ย่านฮากะของเมืองกอเทนเบิร์กเป็นที่รู้จักจากม้าไม้อันงดงาม[46] และคาเฟ่ซึ่งขาย ฮากะบูเล่ หรือซินนามอนโรลขนาดใหญ่คล้าย คาเนลบูเล่ (kanelbulle)[50]
ในค.ศ. 2008 มีร้านอาหารห้าแห่งในกอเทนเบิร์กได้รับดาวจาก มิชลิน ไกด์ ได้แก่ 28 +, Basement, Fond, Kock & Vin, Fiskekrogen และ Sjömagasinet[51]
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในกอเทนเบิร์กได้แก่หมู่เกาะกอเทนเบิร์กใต้ ซึ่งมีเกาะ Älvsborg fortress, Vinga และ Styrsö[46]
เทศกาลและงานแสดง[แก้]
เทศกาลภาพยนตร์กอเทนเบิร์กเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย[52] งานหนังสือกอเทนเบิร์กถูกจัดขึ้นทุกเดือนกันยายนของปี[53]
เทศกาลวิทยาศาสตร์นานาชาติในกอเทนเบิร์กถูกจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ เมษายน ค.ศ. 1997 ในเมืองกอเทนเบิร์ก โดยมีผู้เข้าชมมากกว่า 100,000 คนในแต่ละปี[54]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Localities 2015; population 2010-2016, area, overlap holiday home areas, coordinates". Statistics Sweden. 28 May 2017. Archived from the original on 17 December 2012. Unknown parameter
|df=
ignored (help) - ↑ https://www.scb.se/hitta-statistik/statistik-efter-amne/befolkning/befolkningens-sammansattning/befolkningsstatistik/pong/tabell-och-diagram/kvartals--och-halvarsstatistik--kommun-lan-och-riket/kvartal-1-2017/
- ↑ "Population in localities increased by 120 000". Statistiska Centralbyrån (ใน English). สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
- ↑ "Kvartal 2 2014". Statistiska Centralbyrån. Archived from the original on 14 August 2014. Unknown parameter
|df=
ignored (help) - ↑ Swedish National Encyclopedia (password needed)
- ↑ "Volvo's founders – Our founders & presidents : Volvo Group Global". volvogroup.com. Archived from the original on 9 April 2010. Unknown parameter
|df=
ignored (help) - ↑ Info on the Festival site Archived 24 January 2008 at the Wayback Machine.
- ↑ Hellquist, E. Svensk etymologisk ordbok.
- ↑ Pamp, B. Ortnamnen i Sverige. Svenska ortnamnsarkiv.
- ↑ AWE/Gebers serie om ortnamnen i våra landskap.
- ↑ Valkonen, Jorma (12 August 2009). "Göteborg blir go:teborg" [Göteborg becomes go:teborg]. www.aftonbladet.se. Aftonbladet. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
- ↑ 12.0 12.1 Twedberg, Johan (9 March 2003). "Här skulle staden ligga" [The city would be]. www.vartgoteborg.se. Gothenburg Municipality. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
- ↑ Lagerström, Robert (23 November 2008). "Färjenäs – stan under bron" [Färjenäs – the town under the bridge]. www.gp.se. Göteborgs-Posten. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ Kastrup, Allan (1975), The Swedish heritage in America: the Swedish element in America and American–Swedish relations in their historical perspective, Swedish Council of America
- ↑ 15.0 15.1 Henriksson, Dick; Rustan, Älveby (1994), Vårt Levebröd – Göteborgregionens näringsliv Igår, I dag och I morgon [Our livelihood – Göteborg region Yesterday, Today and Tomorrow], Akademiförlaget, p. 5, ISBN 91-24-16635-9
- ↑ Svedberg, Viktor (2002). "Förstudier och förundersökningar" [Feasibility studies and preliminary investigations]. www.raa.se. Swedish National Heritage Board. pp. 28–31. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
- ↑ Andersson, Dan (4 January 2009). "Varför kom skottarna till Göteborg?" [Why did the Scots go to Gothenburg?]. www.expressen.se. Expressen. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
- ↑ "Direktören som grundade industriskola" [The director who founded the industrial school]. www.företagsamheten.se. Svenskt Näringsliv. Archived from the original on 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
- ↑ "En industriföretagare danas – Alexander Keillers första år i Sverige" [The making of an industrialist – Alexander Keiller's first year in Sweden]. www.warne.se. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
- ↑ "Keiller park". www.goteborg.com. Göteborgs Turistbyrå. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
- ↑ Nevéus, Clara; de Wærn, Bror Jaques; Eriksson, Kurt (1992). Ny svensk vapenbok [The Book of New Swedish Weapons]. Stockholm: Streiffert i samarbete med Riksarkivet. p. 70. ISBN 91-7886-092-X.
- ↑ Leche, V; Nyström, J.F.; Warburg, K และคณะ, eds. (1914). "Ostindiska kompanier" [East India companies]. Nordisk familjebok–Uggleupplagan (ใน Swedish) 20. Stockholm: Nordisk familjeboks förl. pp. 1060–1062.
- ↑ Gothenburg, Nebraska, LASR, สืบค้นเมื่อ September 15, 2010
- ↑ Wieselgren, Sigfrid (1878). Ur Göteborgs Häfder – om de styrande och de styrde 1621–1748 [From Gothenburg's annals – of the rulers and the ruled 1621–1748]. Stockholm: P A Norstedt & Söner. p. 10.
- ↑ Warburg, Karl (1913). Viktor Rydberg, hans levnad och diktning [Viktor Rydberg, his life and poetry]. Stockholm: ALB. Bonniers Book Publishing. p. 54. ISBN 9781278687216.
- ↑ Jan Hansson, ed. (1999). Millennium – årtusendets bok [Millennium – the millennium book (the awkward title is because the first word of the original title was literally "Millenium")]. Göteborgs-Posten. p. 104. ISBN 91-973363-2-7. แม่แบบ:LIBRIS.
- ↑ A. Holber, ed. (1951). Sfären Nr 5 SKF Göteborg: Sven Wingquist 75 år [Sphere No. 5 SKF Gothenburg Sven Wingquist 75 years]. Göteborg: Wezäta. p. 4.
- ↑ "Volvo's founders : Volvo Group – Global". Volvo.com. 14 April 1927. Archived from the original on 22 May 2009. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015. Unknown parameter
|df=
ignored (help) - ↑ Westrin Theodor, ed. (1909). "Göteborg". Nordisk familjebok–Uggleupplagan (ใน Swedish). Stockholm: Nordisk familjeboks förl. pp. 890–898.
- ↑ 30.0 30.1 Andersson, Leif. "Vad händer med Golfströmmen?" [What happens to the Gulf Stream?]. www.gu.se. University of Gothenburg. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
- ↑ "Lunchdebatt om regional utveckling" [Lunch Debate on Regional Development]. www.svt.se. Sveriges Television. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
- ↑ "Storstadsområden med ingående kommuner i alfabetisk ordning" [Metropolitan areas with the population of municipalities in alphabetical order]. www.scb.se. Statistics Sweden. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
- ↑ "Gothenburg, Sweden Climate Summary". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
- ↑ "Säsongens första snöfall" [The season's first snowfall]. SMHI. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015.
- ↑ "Climate Gothenburg". สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ "Monthly & Yearly Statistics". สืบค้นเมื่อ 9 June 2015.
- ↑ Caldenby, Claes (1979). Byggnader i Göteborg. Gothenburg: Sektionen för arkitektur, Chalmers tekniska högskola. p. 8.
- ↑ "Världskulturmuseet – Start". Varldskulturmuseet.se. สืบค้นเมื่อ 8 July 2009.
- ↑ "Världskulturmuseet, Göteborg". www.sfv.se. National Property Board of Sweden. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ "Museer". www.goteborg.se. Gothenburg Municipality. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ "Aeroseum". www.goteborg.com. Göteborgs Turistbyrå. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ "Volvo museum". www.volvomuseum.com. Volvo museum. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ "Universeum". www.goteborg.com. Göteborgs Turistbyrå. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ Best Amusement Parks 2005 – Liseberg, Gothenburg Sweden. Forbes (2005)
- ↑ "Forbes.com". Forbes.com. 25 May 2005. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
- ↑ 46.0 46.1 46.2 46.3 Olesen, Elisabet (March 2005). Adventure Guide to Sweden. 2005: Hunter Publishing, Inc,. ISBN 1588435067.
- ↑ "Theatre, Meet Gothenburgs rich theatre scene.". www.goteborg.com. Gothenburg Tourist Centre. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ "Avenyn". www.goteborg.com. Gothenburg Tourist Centre. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Guide till Sveriges arkitektur, red. Waern, Caldenby, Arkitektur förlag
- ↑ Ohlson, Gunnar (4 October 2013). "De serverar världens största kanelbulle" [They serve the world's largest cinnamon rolls]. www.expressen.se. Expressen. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Information from the tourist company Göteborg & Co, website www.goteborg.com
- ↑ "Göteborg International Film Festival 2008: Göteborg International Film Festival". Web.archive.org. Archived from the original on 24 January 2008. สืบค้นเมื่อ 25 July 2009. Unknown parameter
|df=
ignored (help) - ↑ "Göteborg Book Fair". www.svenskamassan.se. Swedish Exhibition and Congress Centre. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ vartgoteborg.se – Världsrekordförsök inleder Göteborgs tolfte vetenskapsfestival, Vårt Göteborg, 11 April 2008