เผด็จศึก พิษณุราชันย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เผด็จศึก พิษณุราชันย์
สถิติ
ชื่อจริงคำเสร็จ เทพจั้ง
ฉายานักมวยถ้วยพระราชทาน
ส่วนสูง1.7 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว)
เกิด12 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
ค่ายมวยพิษณุราชันย์

เผด็จศึก พิษณุราชันย์ (เกิด 12 ตุลาคม 2500) เป็นอดีตยอดมวยไทยที่โด่งดังในช่วงปลายทศวรรษที่ 2510 ถึงกลางทศวรรษที่ 2520 เขาเป็นนักมวยไทยยอดเยี่ยมแห่งปีเมื่อปี 2522

ประวัติและอาชีพ[แก้]

เผด็จศึกมีชื่อจริงว่า คำเสร็จ เทพจั้ง เริ่มฝึกมวยไทยเมื่ออายุ 14 ปี เขาชกประมาณ 40 ไฟต์ในจังหวัดต่างๆ โดยเอาชนะแชมป์ในอนาคต เช่น ลมอีสาน ส.ธนิกุล, น่านฟ้า สีหราชเดโช และนกหวีด เดวี่ ในปี 2517 เขาย้ายมากรุงเทพฯ และเข้ามาสังกัดค่ายพิษณุราชันย์

เผด็จศึกเป็นนักมวยที่ดีที่สุดคนหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 โดยเอาชนะเสมอสิงห์ เทียนหิรัญ, หนองคาย ส.ประภัสสร, สกัด พรทวี, วิชาญน้อย พรทวี, ณรงค์น้อย เกียรติบัณฑิต, ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์, โพธิ์ไทร สิทธิบุญเลิศ และจิตติ เมืองขอนแก่น[1]

ในปี 2522 เขาได้รับเลือกให้เป็นนักมวยไทยยอดเยี่ยมแห่งปี เขาได้เข้ารับถ้วยพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[2] เผด็จศึกเป็นนักมวยที่สมบูรณ์แบบด้วยศอกอันแหลมคมและพลังหมัดอันหนักหน่วง ในช่วงจุดสูงสุดในอาชีพของเขา เขาได้รับค่าตัวสูงถึง 120,000 บาท[3]

หลังจากแขวนนวมแล้ว เผด็จศึกก็เปิดร้านและเป็นเทรนเนอร์มวยไทยตามค่ายต่าง ๆ[4] เขาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และสอนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน ตั้งแต่ปี 2558[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 123 Greatest Muay Thai fighters of all-tme. p. 117. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  2. "แสงจากพ่อ: นักชกถ้วยพระราชทาน (19 ธ.ค. 59)". youtube.com. Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  3. Trefeu, Serge. "Once upon a time, Muay Thai's Greatest Champions (chapter II)". siamfightmag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  4. "Padejsuk Pitsanurachan แม่ไม้มวยไทยเผด็จศึก พิษณุราชันย์". youtube.com. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  5. von Duuglas-Ittu, Sylvie. "Interview with Legend Padejseuk Pitsanurachan (cc: English Subtitles): 1979 Fighter of the Year". youtube.com. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.