เบียร์ลาว (บริษัท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท เบียร์ลาว จำกัด
อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ก่อนหน้าโรงเหล้าเบียร์และน้ำแข็งลาว (Brasseries et Glacières du Laos)
ก่อตั้ง1971; 53 ปีที่แล้ว (1971)
สำนักงานใหญ่,
ผลิตภัณฑ์เบียร์
เจ้าของรัฐบาลลาว, Carlsberg Group
เว็บไซต์Official website
ลาวไลท์เบียร์ (ไลท์เบียร์)

บริษัท เบียร์ลาว จำกัด (LBC) (ลาว: ບໍລິສັດ ເບຍລາວ ຈໍາກັດ, อังกฤษ: Lao Brewery Company Ltd.) เป็นผู้ผลิต เบียร์ น้ำอัดลมและน้ำดื่ม ในประเทศลาว[1] มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บนถนนท่าเดื่อหมู่บ้านสลักขะเขตหาดทรายฟอง ในนครหลวงเวียงจันทน์

ประวัติ[แก้]

บริษัท เบียร์ลาว จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปีพ. ศ. 2514 โดยเป็นการ ร่วมทุน ระหว่างนักธุรกิจชาวฝรั่งเศสและชาวลาว เริ่มผลิตในปีพ. ศ. 2516 ด้วยกำลังการผลิต 3 ล้านลิตรต่อปี[2] บริษัทขณะนั้นมีชื่อว่า โรงเหล้าเบียร์และน้ำแข็งลาว (ลาว: ໂຮງງານເຫຼົ້າເບຍ ແລະ ນ້ຳກ້ອນລາວ, ภาษาฝรั่งเศส Brasseries et Glacières du Laos - BGL) ทำการตลาดเบียร์ยี่ห้อ Bière Larue สำหรับตลาดท้องถิ่น และ ส่งออกเบียร์ยี่ห้อ "33" เพื่อการส่งออกไปยังประเทศในอินโดจีน

ภายหลังจากการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์ (การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ในปี 2518 โรงงานก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล และได้รับสถานะ รัฐวิสาหกิจ [2] และทำการตลาดเบียร์เป็นครั้งแรกภายใต้แบรนด์ Bière Lao จากนั้นต้นปี 2538 เป็นชื่อ Beerlao (ลาว: ເບຍລາວ) การส่งออก เบียร์ยี่ห้อ "33" ได้สิ้นสุดในปี 2533 และเบียร์ยี่ห้อ Bière Larue สิ้นสุดในปี 2538

หลังจากโครงการปฏิรูปทางเศรษฐกิจปี 2529 ซึ่งเปลี่ยนจากการวางแผนจากส่วนกลาง เป็น ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และการเปิดตัวกลไกเศรษฐกิจใหม่ (NEM) ในปี 2536 บริษัทเบียร์ลาวจำกัด เริ่มกิจการร่วมค้ากับบริษัทต่างประเทศ โดยรัฐบาลลาวเป็นเจ้าของร้อยละ 49 และการลงทุนจากต่างประเทศ 51% (ล็อกซเล่ย์ ร้อยละ 25.5 และอิตาลี ร้อยละ 25.5) ด้วยกำลังการผลิต 20 ล้านลิตรต่อปีและเกิดการจ้างงาน 300 คน[2]

ในปี 2545 นักลงทุนต่างชาติข้างต้นถอนหุ้นออกจาก LBC และรัฐบาลลาวได้เข้าควบคุมบริษัททั้งหมด ต่อมา Carlsberg ของเดนมาร์ก และ TCC ซึ่งเป็น บริษัทไทยซึ่งเป็นหุ้นส่วนของ Carlsberg ในประเทศไทย ได้เข้าร่วมกิจการบริษัทเบียร์ลาวจำกัด (LBC) โดยสัดส่วนร่วมทุนแต่ละบริษัทร้อยละ 25 รัฐบาลลาวยังคงมีหุ้นที่เหลืออยู่ร้อยละ 50 ด้วยกำลังการผลิตสูงสุดในเวลานั้น 60 ล้านลิตร

ในปี 2548 บริษัทเพิ่มกำลังการผลิตต่อปีเป็น 85 ล้านลิตรและในปี 2550 เป็น 160 ล้านลิตร มีพนักงานประมาณ 500 คน และในปี 2551 บริษัทได้เปิดดำเนินการโรงเบียร์แห่งที่สองที่เมืองปากเซ ในจังหวัดจำปาสักด้วยกำลังการผลิต 100 ล้านลิตรต่อปี ในปี 2555 บริษัทเบียร์ลาวจำกัด เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 340 ล้านลิตรต่อปีน้ำกลั่น: 70 ล้านลิตรต่อปีและน้ำดื่มเป็น 180 ล้านลิตรต่อปี

ในปี 2560 ความเป็นเจ้าของเปลี่ยนไปอีกครั้งรัฐบาลลาวมีสัดส่วนการถือหุ้น 29% ที่เหลือเป็นของ Carlsberg

ทั้งนี้เครื่องจักรทั้งหมดของบริษัทนำเข้าจากยุโรป บริษัทดำเนินการปลูกข้าวในท้องถิ่นและนำเข้า บาร์เลย์มอลต์ จากประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม ฮ็อพ และ ยีสต์ จากประเทศเยอรมนี

ปัจจุบัน (ปี 2564) มีพนักงานมากกว่า 2,500 คน และส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 95%[3]

ผลิตภัณฑ์[แก้]

น้ำดื่มไทเกอร์เฮด และ เบียร์ลาว ขายใน เวียงจันทน์

บริษัทผลิตและจำหน่ายเบียร์ 3 ประเภทภายใต้แบรนด์ เบียร์ลาว

และผลิตเบียร์ Carlsberg ที่สำหรับจำหน่ายในประเทศลาว ผลิตและจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดภายใต้แบรนด์ Tigerhead[4] บริษัทเบียร์ลาวประมาณว่ามีส่วนแบ่งตลาดเบียร์ในประเทศ 99% เบียร์ลาวยังถูกส่งออกไปหลายประเทศ [ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]