เนเรโอ รอกโก
![]() | |||
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
วันเกิด | 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1912 | ||
สถานที่เกิด | ตรีเยสเต ออสเตรีย-ฮังการี | ||
วันเสียชีวิต | 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 | (66 ปี)||
สถานที่เสียชีวิต | ตรีเยสเต อิตาลี | ||
ตำแหน่ง | กองกลาง, กองหน้า | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1927–1930 | Triestina | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1930–1937 | Triestina | 232 | (66) |
1937–1940 | นาโปลี | 52 | (7) |
1940–1942 | Padova | 47 | (14) |
1942–1943 | 94° Reparto Distretto Trieste | ||
1943–1944 | Libertas Trieste | 14 | (1) |
1944–1945 | Padova | ||
ทีมชาติ | |||
1934 | อิตาลี | 1 | (0) |
จัดการทีม | |||
1947–1950 | Triestina | ||
1950–1953 | Treviso | ||
1953–1954 | Triestina | ||
1954–1961 | ปาโดวา | ||
1960 | อิตาลี โอลิมปิก | ||
1961–1963 | เอซีมิลาน | ||
1963–1967 | โตรีโน | ||
1967–1973 | เอซีมิลาน | ||
1974–1975 | ฟีออเรนตีนา | ||
1977 | เอซีมิลาน | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
เนเรโอ รอกโก (อิตาลี: Nereo Rocco; 20 พฤษภาคม 1912 – 20 กุมภาพันธ์ 1979) เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในผู้จัดการทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[1] เขามีชื่อเสียงจากการเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในอิตาลี คว้าแชมป์ทั้งในและต่างประเทศหลายรายการระหว่างที่เขาเป็นผู้จัดการทีมเอซีมิลาน ที่ปาโดวา เขาเป็นหนึ่งในผู้ใช้ระบบการเล่นแบบคาเตนัชโชเป็นคนแรก ๆ ในประเทศ[2]
การเล่นอาชีพ
[แก้]สโมสร
[แก้]รอกโกเล่นเป็นตำแหน่งปีก; เขามีอาชีพการเล่นที่เรียบง่าย โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กับ ตรีเยสตีนา, นาโปลี และปาโดวา เขาลงเล่นในเซเรียอา 287 นัดภายใน 11 ฤดูกาล ยิงได้ 69 ประตู รอกโกยังติดทีมชาติอิตาลี 1 นัดอีกด้วย[3][4]
ทีมชาติ
[แก้]รอกโกลงเล่นให้กับทีมชาติอิตาลี 1 นัด: ในฟุตบอลโลก 1934 รอบคัดเลือก ภายใต้การคุมทีมของวิตตอริโอ ปอซโซ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 1934 เจอกับกรีซ ซึ่งเป็นชัยชนะในบ้านของอิตาลี 4–0[5][6]
อาชีพผู้ฝึกสอน
[แก้]ตรีเยสตีนา
[แก้]รอกโกเริ่มต้นอาชีพโค้ชกับตรีเยสตีนาซึ่งเป็นสโมสรในบ้านเกิดและเป็นสโมสรแรกในอาชีพของเขาในปี 1947 หลังจากที่เขาแขวนสตั๊ดเพียง 2 ปี เขานำสโมสรจบตำแหน่งรองแชมป์อย่างน่าประหลาดใจในเซเรียอา ซึ่งยังคงเป็นผลงานสูงสุดที่ทีมทำได้จนถึงทุกวันนี้ เขาออกจากตรีเยสตีนาในอีกไม่กี่ปีต่อมาเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับประธานสโมสรในขณะนั้น ในปี 1950 เขาเป็นโค้ชให้กับเตรวีโซในช่วงสั้น ๆ จากนั้นจึงกลับมาที่ตรีเยสตีนาในปี 1953[4]
ปาโดวา
[แก้]ในปี 1953 หลังออกจากตรีเยสตีนา รอกโกได้เซ็นสัญญาเป็นโค้ชของปาโดวาทีมในเซเรียบี เขาทำให้สโมสรรอดพ้นการตกชั้นและเลื่อนชั้นสู่เซเรียอาในฤดูกาลถัดมา ปาโดวาในยุคของรอกโก เป็นที่จดจำว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์จนถึงทุกวันนี้ แม้จะเป็นเพียงทีมเล็ก ๆ แต่พวกเขาสามารถคว้าอันดับ 3 ได้ในช่วงฤดูกาล 1957–58[4] ระหว่างที่เขาอยู่กับปาโดวา เขายังเป็นโค้ชให้กับทีมชาติอิตาลีในโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 ที่กรุงโรม ร่วมกับจูเซปเป เวียนี ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่ 4[4]
เอซีมิลาน
[แก้]ในปี 1961 รอกโกได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโค้ชคนใหม่ของเอซีมิลาน แทนที่เปาโล โตเดสคินี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ 1 ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดสำหรับทีมรอสโซเนรี เขาสร้างทีมที่ทำงานหนักและเน้นเล่นเกมรับโดยมีนักเตะดาวรุ่งของทีม จานนี ริเวรา ซึ่งย้ายจากอเลสซานเดรียในปี 1960 เข้ามาเสริมการเล่นที่สร้างสรรค์ในแนวรุก และพวกเขามีบทบาทสำคัญในความสำเร็จของสโมสร[7] โดยคว้าแชมป์เซเรียอาในปี 1962 และยูโรเปียนคัพในปี 1963 หลังจากออกจากมิลานในปี 1963 เขาคุมทีมโตริโนซึ่งเขาทำผลงานได้ดีที่สุดนับตั้งแต่เสียผู้เล่นชุดกรานเดโตริโนในปี 1949 จากเหตุการณ์เครื่องบินตก ในปี 1967 รอกโกกลับมาคุมทีมมิลานเป็นครั้งที่ 2 แทนที่ อาร์ตูโร ซิลเวสตรี ซึ่งเขาคว้าแชมป์สคูเดตโต้ (เซเรียอา) อีกสมัยทันที และยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ[2][4]
เขาออกจากมิลานในปี 1973 หลังจากนำทีมคว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพอีกสมัยในปี 1969 จากการเอาชนะอายักซ์ ของไรนุส มิเชลส์ 4–1 , อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ , โคปปาอิตาเลีย 2 สมัย และคัพวินเนอร์สคัพ อีกสมัย หลังจากอยู่กับฟิออเรนติน่าเป็นเวลา 1 ปี รอกโกก็ตัดสินใจวางมือจากอาชีพโค้ชในปี 1975 ในปี 1977 เขาได้รับการแต่งตั้งจากมิลานให้เป็นผู้อำนวยการด้านเทคนิคและผู้ช่วยผู้จัดการทีมของนิลส์ ลีดโฮล์ม ซึ่งเป็นอดีตผู้เล่นของเขา รอกโกเป็นผู้จัดการทีมที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของมิลาน โดยคุมทีมไป 459 นัด (323 นัดในตำแหน่งหัวหน้าโค้ช และ 136 นัดในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านเทคนิค)[2][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jamie Rainbow (4 July 2013). "The Greatest manager of all time". World Soccer. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Andrea Schianchi (2 November 2014). "Nereo Rocco, l'inventore del catenaccio che diventò Paròn d'Europa" (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta dello Sport. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
- ↑ "Rocco, Nereo" (ภาษาอิตาลี). enciclopediadelcalcio.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-23. สืบค้นเมื่อ 21 May 2017.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Nereo Rocco" (ภาษาอิตาลี). Storie di Calcio. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
- ↑ Le vicende della partita "Italia-Grecia" nei quattro goals del trionfo "azzurro", Il Littoriale, 26 marzo 1934, pag.3
- ↑ Italia-Grecia 4-0 Italia1910.com
- ↑ "RIVERA Gianni: Golden Boy per sempre - 2" (ภาษาอิตาลี). Storie di Calcio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.