เทียนอบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทียนอบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อบขนมไทยให้มีกลิ่นหอม ในสมัยก่อนใช้ขี้ผึ้งแท้ โรยกำยานแล้วเคล้าขี้ผึ้งกับกำยานให้เข้ากัน นำไปตากแดดแล้วนำเทียนมาแผ่เป็นแผ่น วางไส้ตรงกลาง จากนั้นจึงขดตัวเทียนเป็นรูปคล้ายกิ้งกือ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะผสมขี้ผึ้งเทียนหรือพาราฟิน เพื่อให้เทียนอยู่ตัวง่าย รูปร่างเป็นโค้งงอ ดัดปลายเข้าหากัน บางแห่งเพิ่มเครื่องหอมเข้าไปในตัวเทียน เช่น ผิวมะกรูดหั่นฝอย น้ำตาลทรายแดง เปลือกชะลูดบด พิมเสน น้ำมันจันทน์

อ้างอิง[แก้]

  • มณทิพย์ สิทธิพิพัฒน์. หอมกลิ่นเทียนอบ เอกลักษณ์ขนมไทย. ครัว. 4(41):78-79, พฤศจิกายน 2540