เทาเจียด
เทาเจียด (เฉา เจี๋ย) | |
---|---|
曹節 | |
นายกองรถม้า (奉車都尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | พระเจ้าฮวนเต้ |
เสนาบดีองครักษ์แห่งตำหนักฉางเล่อ (長樂衛尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 168 – ค.ศ. 169 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเลนเต้ |
มหาดเล็กรับใช้จักรพรรดินี (大長秋) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 169 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเลนเต้ |
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 179 – ค.ศ. 181 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเลนเต้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ปรากฏ |
เสียชีวิต | ค.ศ. 181 |
อาชีพ | ขันทีราชสำนัก, ขุนนาง |
ชื่อรอง | ฮั่นเฟิง (漢豐) |
บรรดาศักดิ์ | โหฺวแห่งยีหยง (育陽侯) |
เทาเจียด | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 曹節 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 曹节 | ||||||
| |||||||
ฮั่นเฟิง (ชื่อรอง) | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 漢豐 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 汉丰 | ||||||
|
เทาเจียด (เสียชีวิต ค.ศ. 181) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉา เจี๋ย (จีน: 曹節; พินอิน: Caó Jié) ชื่อรอง ฮั่นเฟิง (จีน: 漢豐; พินอิน: Hànfēng) เป็นขันทีราชสำนักและขุนนางชาวจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เทาเจียดขึ้นมามีอำนาจในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้; ครองราชย์ ค.ศ.168–189) มีส่วนร่วมในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกับฝ่ายตรงข้ามที่นำโดยเตาบู (โต้ว อู่) และตันผวน (เฉิน ฝัน) ในรัชสมัยของพระเจ้าฮวนเต้ (ฮันหฺวันตี้; ครองราชย์ ค.ศ. 146–168) และต้นรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ ต่อมาเฝิงฝาง ลูกเขยของเทาเจียดกลายเป็นหนึ่งใน 8 นายกองพันของกองทัพอุทยานตะวันตก
ในช่วงต้นของนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่ประพันธ์ในศตวรรษที่ 14 เทาเจียดได้รับการระบุให้เป็นขันทีคนหนึ่งในกลุ่มสิบขันที แม้ว่าตามประวัติศาสตร์จริงแล้วเทาเจียดไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มสิบขันที
ประวัติ
[แก้]เฉาเจี๋ยเริ่มทำรับราชการในตำแหน่งเสี่ยวหฺวังเหมิน (小黃門) เมื่อต้นรัชสมัย จักรพรรดิฮั่นชุ่นตี้ (ครองราชย์ ค.ศ. 125–144) ต่อมาเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นจงฉางชื่อ (中常侍) ในรัชสมัยพระเจ้าฮวนเต้ (ครองราชย์ ค.ศ. 146–168) เทาเจียดยังได้รับการแต่งตั้งให้ตำแหน่งเฟิ่งเชอตูเว่ย์ (奉車都尉) หรือนายกองรถม้า
ในปี ค.ศ. 168 เทาเจียดได้รับบรรดาศักดิ์เซียงโหฺวแห่งเตียงฮัน (長安鄉侯 ฉางอันเซียงโหว) จากความชอบในการมีส่วนช่วยให้พระเจ้าเลนเต้ได้ขึ้นครองราชย์ เนื่องจากเวลานั้นพระเจ้าเลนเต้ยังทรงพระเยาว์ พระพันปีหลวงเตา (โต้วไท่โฮฺ่ว; มเหสีม่ายของพระเจ้าเลนเต้), ขุนพลใหญ่เตาบู (บิดาของพระพันปีหลวงเตา) และ ราชครูตันผวนจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เตาบูและตันผวนเป็นผู้นำกลุ่มขุนนางในราชสำนักที่ขัดแย้งกับกลุ่มขันทีที่มีเทาเจียดและคนอื่น ๆ เป็นตัวแทนกลุ่ม เมื่อเทาเจียดและกลุ่มขันทีได้ยินว่าฝ่ายเตาบูและตันผวนวางแผนกำจัดพวกตน เทาเจียดและกลุ่มขันทีจึงกระทำรัฐประหารยึดอำนาจฝ่ายตรงข้ามด้วยความช่วยเหลือของหวัง ฝู่ (王甫) จู ยฺหวี่ (朱瑀) ก้ง ผู่ (共普), จาง เลี่ยง (張亮) และคนอื่น ๆ เตาบูและตันผวนถูกจับและถูกประหารชีวิต ในขณะที่พระพันปีหลวงเตาถูกกักบริเวณ หลังการรัฐประหาร เทาเจียดได้เลื่อนตำแหน่งเป็น “เสนาบดีราชองครักษ์แห่งตำหนักฉางเล่อ” (長樂衛尉 ฉางเล่อเว่ย์เว่ย์) นอกจากนี้ยังได้บรรดาศักดิ์เป็น "โหฺวแห่งยีหยง" (育陽侯 ยวี่หยางโหฺว) พร้อมได้กินส่วย 3,000 ครัวเรือน พันธมิตรที่ร่วมกับเทาเจียดในการทำรัฐประหารก็ได้รับบรรดาศักดิ์โหฺวและเกียรติยศอื่น ๆ จากพระเจ้าเลนเต้
ในปี ค.ศ. 169 เทาเจียดได้รับตำแหน่งเป็นจงฉางชื่อ (中常侍) อีกครั้ง ไม่นานหลังจากนั้น เทาเจียดได้รับการแต่งตั้งเป็นต้าฉางชิว (大長秋) หรือมหาดเล็กผู้รับใช้จักรพรรดินี ในปี ค.ศ. 172 เมื่อพระพันปีหลวงเตาสิ้นพระชนม์ระหว่างถูกกักบริเวณ เทาเจียดและหวัง ฝู่ทูลโน้มน้าวพระเจ้าเลนเต้ให้จัดพิธีศพของพระพันปีหลวงเตาเยี่ยงพิธีศพของพระสนมทั่วไปแทนที่จะจัดพิธีศพให้เหมาะกับสถานภาพ และไม่ให้ฝังพระศพด้วยกับพระบรมศพของพระเจ้าฮวนเต้ แต่ความพยายามทูลโน้มน้าวของทั้งคู่ไม่สำเร็จ เพราะขุนนางสองคนคือ เฉินฉิว (陳球) เสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์) และหลี่ เสียน (李咸) เสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) ทูลโน้มน้าวพระเจ้าเลนเต้ให้จัดพิธีศพของพระพันปีหลวงเตาเยี่ยงพิธีศพของพระพันปีหลวงและให้ฝังพระศพด้วยกันกับพระเจ้าฮวนเต้ ในปีเดียวกันนั้น เทาเจียด หวัง ฝู่ และคนอื่น ๆ ใส่ร้ายหลิว คุย (劉悝) อ๋องแห่งปุดไฮ (勃海王 ปั๋วไห่หฺวัง) และเป็นพระอนุชาของพระเจ้าฮวนเต้ว่าเป็นกบฏ ต่อมาหลิว คุยฆ่าตัวตายในคุก พระเจ้าเลนเต้บำเหน็จรางวัลให้เทาเจียดและหวัง ฝู่ที่เปิดเผย "การเป็นกบฏ" ของหลิว คุย โดยให้เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่เรียกเก็บส่วย ญาติ ๆ ของทั้งคู่ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางในราชสำนักฮั่น
ในปี ค.ศ. 179 เทาเจียดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ชั่งชูลิ่ง) เทาเจียดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 181 และได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นขุนพลทหารม้าและรถศึก (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน)
อ้างอิง
[แก้]- ฟ่าน เย่. พงศาวดารฮั่นยุคหลัง (โฮ่วฮั่นชู), เล่มที่ 78.
- ล่อกวนตง. สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
- ซือหม่า กวัง. จือจื้อทงเจี้ยน.