ข้ามไปเนื้อหา

เทพเจ้าเตาไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทพเตาไฟ)
เทพเจ้าเตาไฟ
เจ้าพ่อเจ้าแม่เตาไฟ จิตรกรรมแบบจีนประเพณี
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษรเจ้าเตา
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน灶神
ความหมายตามตัวอักษรเทพเจ้าเตาไฟ, วิญญาณรักษาเตาไฟ
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
ภาษาจีน/
ความหมายตามตัวอักษรเจ้าพ่อเตาไฟ/เจ้าแม่เตาไฟ

เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่น(ตามสำเนียงฮกเกี้ยน - จีน: 灶君; แปลตรงตัว: "เจ้าเตาไฟ - Kitchen God") หรือลัทธิเต๋าออกนามว่า ซีเบ่งจ้าวกุน (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน - จีน: 司命真君; แปลตรงตัว: "เทพเจ้าเตาไฟ - Stove God")[1][2]เป็นเทวดารักษาเตาไฟในในศาสนาชาวบ้านจีนและลัทธิเต๋าอันเป็นหนึ่งในเทพเจ้าหรือเซียนผู้ประทานพรและคุ้มครองการครัวและเรื่องอาหาร และนอกจากทำหน้าที่เฝ้าติดตามการประพฤติตนความดีความชั่วของบุคคลมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายและป้องกันอัคคีภัยตามเทพปกรณัมจีน เทพเจ้าเตาไฟมีมากมายหลายองค์และมีทั้งบุรุษและสตรี[3]

เทพปกรณัมเจ้าพ่อเตาไฟ

[แก้]

แต่ก่อนมีชายตัดฟืนคนหนึ่งแซ่จาง ชื่อติ้งฟุ (จางตัน) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก เขาเป็นคนซื่อตรงและกตัญญูต่อมารดามาก เมื่อมีเงินก็จะให้มารดาเป็นคนเก็บ ต่อมาวันหนึ่งจางติ้งฟุได้ช่วยสาวน้อยคนหนึ่งไว้ได้ ขณะกำลังถูกสองสมุนโจรฉุดไปให้หัวหน้า สองโจรสู้ไม่ได้หนีไปรายงานหัวหน้า หัวหน้าโจรจึงให้พวกสมุน 20-30 คนมาล้อมจับจางติ้งฟุไปลงโทษที่ชุมโจร จางติ้งฟุตัวคนเดียว น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ จึงถูกจับไปเผาทั้งเป็นในเตาไฟยักษ์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ฟุต ตอนนั้นเผอิญเทพตรวจการณ์ผ่านมาพบ จึงนำวิญญาณจางติ้งฟุ ขึ้นสวรรค์รายงานองค์เง็กเซียน

เมื่อตรวจบันทึกจากเทวทูตพบว่าจางติ้งฟุเป็นคนซื่อตรงกตัญญูมีคุณธรรมน่าชมเชย เหตุที่ถูกเผาทั้งเป็นนั้นเกิดจากผลกรรมเนื่องจากสมัยเป็นเด็ก ขณะเติมฟืนใส่เตาไม่ระวังมีลูกแมวซึ่งกำลังหลับสนิทติดอยู่ในฟืนด้วย องค์เง็กเซียนเห็นว่า จางติ้งฟุเป็นลูกกตัญญู มีคุณธรรม จึงมีราชโองการแต่งตั้งจางติ้งฟุเป็นเทพเตาไฟ มีหน้าที่คอยรายงานความประพฤติที่ดีและชั่วของชายหญิงทุกครัวเรือน โดยวันที่ 24 เดือน 12 ของทุกปีจะต้องไปรายงานที่สวรรค์ จากนั้นก็มีพระบัญชาให้เทพอัคคีลงไปเผาผลาญชุมโจรจนวอดเป็นจุณ ประชาชนในแถบนั้นจึงได้อยู่อย่างสงบสุขเรื่อยมา[4][5][6]

เทพปกรณัมเจ้าแม่เตาไฟ

[แก้]

เทพปกรณัมมีหลากหลายตามแต่ละท้องถิ่น แต่ที่มีชื่อเสียงอันเป็นที่รู้จักคือ ตำนานเทพปกรณัมและที่มาของเทวรูปเทพีเตาไฟของอันสถิตย์ ณ ศาลเทพารักษ์นครผิงเหยา เมืองผิงเหยา มณฑลชานซี โดยกล่าวว่า เดิมทรงเป็นพระเทพีสถิตในสวรรค์อันศักดิ์ดั่งเป็นพระราชบุตรีของจักรพรรดิหยก และได้มีโอกาสติดตามพระเทพีสวรรค์ตะวันตกมาเยี่ยมมนุษย์โลก เมื่อเสด็จดำเนินมาถึงโลกมนุษย์ได้เสด็จประพาส แลได้ทัศนาพิศดูเห็นสามีภริยาคู่หนึ่งอันรักกันมากและทรงปารถนาจักใช้วิถีดังดังเสมือนปถุชนมนุษย์โลกทั่วไป ครั้นในราตรีหนึ่งพระนางเธอได้แลเห็นบ้านหลังนึงอันมีแสงตะเกียงสว่างไสว จึงแอบเสด็จดำเนินไปในบ้านนั้น แลเห็นชายหนุ่มผู้หนึ่งกำลังจุดไฟประกอบอาหารในห้องครัว เมื่อนางได้สบพักตร์บุรุษผู้นี้ก็บังเกิดความเสน่หาจึงเนรมิตองค์เป็นสตรีชาวมนุษย์เสด็จดำเนินสู่ในห้องครัว แลกล่าวกับบุรุษผู้นี้ว่า นางนั้นมิมีบิดรมารดร ที่พักอาศัย และทรงหิวอาหาร บุรุษผู้นี้ได้รับสดับฟังแล้วสงสารจึงให้นางทานอาหารแล้วให้นางอยู่ที่นี่จนได้เป็นสามีภรรยากัน โดยสามีที่ไม่ทราบฐานันดรศักดิ์ที่แท้จริงของภรรยาตนเอง ต่อมาความทราบถึงพระเทพีสวรรค์ตะวันตก จึงไปตามนางกลับมา แต่นางไม่ยอมกลับ เนื่องด้วยจักรพรรดิหยกไม่เห็นบุตรีตนเองมาเฝ้าแหน จึงตรัสถามหา พระเทพีสวรรค์ตะวันตกจึงกราบทูลเหตุตามความจริง จักรพรรดิหยกจึงทรงมีราชโองเนรเทศแลการสถาปนาให้นางและสามีเป็นผู้รักษาเตาไฟและสถิตย์ในโลกมนุษย์นับแต่นั้น ประกอบกับในปีนั้นเกิดเหตุทุพภิกขภัยหนัก พระเทพีบุตรีแห่งจักรพรรดิสวรรค์ทรงเห็นความทุกข์ยากของมนุษย์จึงขึ้นสวรรค์ไปนำพัสตราภรณ์พร้อมด้วยภูษิตาภรณ์และอาหารลงมาแจกมนุษย์ ความทราบถึงจักรพรรดิหยกจึงมีราชโองการรับสั่งให้บุตรีและพระชามาดาเสด็จกลับมายังเทวโลกเพื่อรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลกมนุษย์ให้ทรงทราบในช่วงก่อนตรุษจีนและเสด็จลงมายังที่ประทับเดิมในมนุษย์โลกหลังเทศกาลตามปฏิทินจีนนับแต่นั้นสืบไป[7][8] [9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "東照山關帝廟-九天司命真君". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  2. "司命真君-灶神的台灣地區信仰". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-08. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  3. "司命真君,俗稱「灶君公」,是家家戶戶供奉的灶神。". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  4. http://roikamhom.blogspot.com/2008/12/blog-post_1869.html?m=0
  5. https://thai.cri.cn/221/2016/02/02/228s239453.htm
  6. https://siamcoin.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F/
  7. https://www.sohu.com/a/241247100_297601
  8. https://www.beihaiting.com/m/view.php?aid=11948&pageno=3
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-03. สืบค้นเมื่อ 2022-09-03.

ดูเพิ่ม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • The Story of the Kitchen God
  • "Chinese festivals - Xiao Nian". 2007. Chinavoc. 19 October 2008 [1]
  • "Chinese Kitchen God". 2008. Qiqi.com: Chinese Cultures. November 14, 2008. [2] เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Gong, Rosemary. "The Kitchen God". 2008. About.com: Chinese Culture. 19 October 2008 [3]
  • "Kitchen God Day". 2008. Childbook.com: Chinese Festivals. October 24, 2008. [4]
  • "The Kitchen God and His Wife". 2007. Columbia University: Living in the Chinese Cosmos: Understanding Religion in Late Imperial China 1644-1911. November 15, 2008. [5]
  • "Little New Year: Busy Preparations". Spring 2007. CHINA.ORG.CN. 25 October 2008. [6]
  • Mikkolainen, Terhi (23 May 2007). "Zao Jun: The Kitchen God". radio86. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2008. สืบค้นเมื่อ 19 October 2008.
  • Tan, Amy (1991). The Kitchen God's Wife. New York: G.P. Putnam's Sons. pp. 53–56.
  • Ting, Julia (2002). Oxtoby, Willard G. (บ.ก.). World Religions: Eastern Traditions. East Asian Religions. New York: Oxford University Press. p. 326.
  • Knapp, Ronald G. (1999). China's Living Houses: Folk beliefs, symbols and household Ornamentation. University of Hawaii Press.
  • Ahern, Emily M.; Martin, Emily; Wolf, Arthur P. (1978). Studies in Chinese Society. University Press.
  • Mann, Susan (1997). Precious Records: Women in China's Long Eighteenth Century. Stanford University Press.
  • Rawski, Evelyn S. (2001). The Last Emperors: A Social History of Qing Imperial Institutions. University of California Press.
  • Tan, Chee Beng (1983). Chinese Religion in Malaysia: A General View. Asian Folklore Studies. Vol. 42. University of Malaysia. pp. 220–252.