เต้าเต๋อจิง
เต้าเต๋อจิง | |
---|---|
เอกสารตัวเขียนคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" สมัยศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช ขุดพบที่หม่าหวังตุย | |
ผู้ประพันธ์ | ไม่ปรากฏ |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 道德經 |
ประเทศ | จีน |
ภาษา | จีน |
ประเภท | ปรัชญาจีน |
วันที่พิมพ์ | ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช |
ชนิดสื่อ | หนังสือ |
เต้า เต๋อ จิง | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จีนตัวเต็ม | 道德经 | ||||||||||||||||||||
จีนตัวย่อ | 道德經 | ||||||||||||||||||||
พินอิน | Dàodéjīng![]() | ||||||||||||||||||||
|
เต้าเต๋าจิง (จีนตัวย่อ: 道德经; จีนตัวเต็ม: 道德經 [ ฟัง (วิธีใช้·ข้อมูล) ]; พินอิน: Dàodéjīng; ฮกเกี้ยน: Tō-tek-keng, เต๋าเต็กเก็ง; อักษรโรมัน: Dao De Jing หรือ Tao Te Ching) เป็นคัมภีร์ภาษาจีนที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แม้จะเชื่อกันว่าเล่าจื๊อเป็นผู้แต่ง เมื่อ 543 ปีก่อน ค.ศ. แต่เนื้อหาบางส่วนมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช[1][2] และเนื้อหาส่วนอื่นเขียนหรือเรียบเรียงขึ้นหลังคัมภีร์จวงจื่อ[3]
เต้าเต๋อจิงมีเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติและปรัชญา คำว่า "เต้า-เต๋อ-จิง" (Dao-De-Jing) เป็นปรัชญาในเรื่องโลกและชีวิต สามารถแยกเป็นเต้า 道 (ทาง) เต๋อ 德 (คุณธรรม; ความดี) และ จิง 经 (คัมภีร์; สูตร; วรรณคดีชั้นสูง) เมื่อนำทั้ง 3 คำมารวมกัน แปลว่า "คัมภีร์ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของเต้า" "สูตรว่าด้วยเต้าและคุณธรรม" ระหว่าง "เต้า 道" กับ "เต๋อ 德" นั้น เต๋าปรากฏขึ้นมาก่อน และเต๋อก็ตามมา
คัมภีร์เต้าเต๋อจิงได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย มีแพร่หลายอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของโลก[4]
ความหมายของ "เต้า"[แก้]
คำว่า "เต้า" (จีน: 道) หมายถึง วิถีทางแห่งธรรมชาติ นอกจากนี้เต๋ามีนักปรัชญาให้ความหมายไว้มากมาย เช่น เต๋า หมายถึง หนทาง (มรรคา), กฎ, จารีต, พิธีการ, คุณสมบัติ, กฎแห่งการย้อนกลับ, ธรรมชาติ, กฎแห่งธรรมชาติ เป็นต้น[5]
รายละเอียด[แก้]
ประกอบด้วยอักษรจีนประมาณ 5,000-5,500 ตัวอักษร แบ่งออกเป็นสองภาค นักปราชญ์รุ่นหลังได้แบ่งทั้งหมดออกเป็นรวม 81 บท [6] ได้แก่ ภาคต้น (บทที่ 1-37) และภาคปลาย (บทที่ 38-81 )[7] เดิมทีเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่าคัมภีร์เหลาจื่อตามชื่อผู้แต่ง ภายหลังจึงเรียกเต้าเต๋อจิง โดยเต้าเต๋อจิงเป็นการเรียกขานตำราตามแบบโบราณ โดยเรียกคำแรกในหน้าแรกที่พบในตำรา
- 道 (พินอิน:Dào เต้า) หมายถึง วิถี, มรรค, หนทาง
- 德 (พินอิน:Dé เต๋อ) หมายถึง ธรรม, คุณธรรม
- 经 (พินอิน:Jīng จิง) หมายถึง ตำรา, คัมภีร์
การเริ่มต้นเต้าเต๋อจิง เริ่มด้วยภาคเต้า (道) ตามด้วยภาคเต๋อ (德) การแบ่งออกเป็น 81 บทนี้ได้รับอิทธิพลมาจากนักปราชญ์(neotaoist) รุ่นหลังที่มีชื่อว่า “หวางปี้ (王弼)” (ค.ศ. 226-249) จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1972 มีการขุดพบสุสานโบราณสมัยไซฮั่น หม่าหวังตุย (马王堆)ได้พบ "คัมภีร์เต้าเต๋อจิง (道德经)" ภายหลังมีผู้เสนอให้เปลี่ยนเป็น "เต๋อเต้าจิง" (道德经) เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานใหม่ที่สุสานหม่าหวังตุย (马王堆) ที่เริ่มด้วยภาค “เต๋อ” ก่อนภาค “เต้า” [8]
ประวัติผู้แต่ง[แก้]
ประวัติของเหลาจื่อตามจดหมายเหตุ “สื่อจี้” (史记)ระบุว่า เหลาจื่อแซ่ “หลี่” (李)ชื่อ “เอ๋อร์” (耳) มีชีวิตอยู่ช่วงตอนปลายของราชวงศ์โจว (周朝)เป็นชาวแคว้นฉู่ (楚国) (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน(河南)) ทำหน้าที่ดูแลหอพระสมุดหลวงแห่งราชสำนักโจว ต่อมาราชสำนักเสื่อมโทรม จึงออกแสวงหาความวิเวก จดหมายเหตุ “จฺว่อจ้วน”(左传)ระบุว่า เหลาจื่อมีชีวิตอยู่ในช่วงพุทธทศวรรษที่ ๓ เป็นผู้สืบทอดเผ่า “เหล่าตัน” (老聃族) (ต้นเผ่า “เหล่าตัน” เป็น ๑ ใน ๘ พี่น้องร่วมมารดาของ “โจวอู่หวาง” (周武王) ก่อนพ.ศ. ๕๒๐ - ๔๘๓ ปี) โดยคำว่า “เหล่า” (老)นั้นมาจากคำเรียกคนในเผ่า “เหล่าตัน”, ส่วนคำว่า “จื่อ” (子)นั้นหมายถึง “นักคิดหรือนักปรัชญา” ฉะนั้นคำว่า “เหลาจื่อ” 老子 จึงแปลความได้ว่า “นักปรัชญาแห่งเผ่าเหล่าตัน”[9]
จุดกำเนิด[แก้]
เมื่อเหลาจื่ออยู่ในนครหลวงเป็นราชวงศ์โจว (周朝) เมื่อสภาพสังคมที่เสื่อมโทรม จึงได้ตัดสินใจผละจากไป ขี่ควายมุ่งสู่ทะเลทรายชมพูทวีป ระหว่างทางผ่านด่านหานกู่ "อิ๋นสี่" ขุนนางดูแลด่าน เนื่องจากได้ยินชื่อเสียงของท่านมานานจึงต้อนรับท่านด้วยมิตรจิตมิตรใจอันอบอุ่น ก่อนจากไป อิ๋นสี่พูดกับท่านว่า "ท่านจะไปแล้ว โปรดเขียนหนังสือสักเล่มให้เราเถิด" ครั้นแล้ว ท่านเหลาจื่อจึงเขียนหนังสือไว้ 1 เล่ม[10]
การแปลเต้าเต๋อจิงในโลกตะวันตก[แก้]
เต้าเต๋อจิงนอกจากจะมีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วยังมีการแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ มากกว่า 250 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศส[11] อ้างอิงจากคำกล่าวของ Holmes Welch ว่า “มันเป็นเกมปริศนาที่ทุกคนต่างก็ต้องการจะเป็นคนที่ไขมันสำเร็จ”[12] การแปลส่วนใหญ่มักแปลโดยคนที่มีพื้นฐานทางภาษาและปรัชญาและเป็นผู้ที่พยายามจะแปลความหมายให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามต้นฉบับให้ได้มากที่สุด [13]
ฉบับแปลเต้าเต๋อจิงที่เป็นที่นิยมหลายฉบับถูกแปลออกมาโดยมีแง่มุมทางวิชาการอยู่น้อย และมักใส่การตีความส่วนบุคคลเข้าไปด้วย นักวิจารณ์ฉบับแปลที่มีการใส่การตีความส่วนบุคคลเข้าไป อาทิ นักวิชาการด้านเต๋า Eugene Eoyang อ้างว่านักแปล อย่างเช่น Stephen Mitchell แปลเต้าเต๋อจิงที่มีความหมายที่แผกแยกจากตัวต้นฉบับและยังไม่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของปรัชญาจีน[14] Russell Kirkland ยังถกต่อไปอีกว่าฉบับแปลเหล่านี้อิงตามจินตนาการของผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกศึกษาที่เป็นชาวตะวันตก และยังนำเสนอการหยิบยืมวัฒนธรรมจีนที่มาจากการยึดครองอาณานิคม[15][16] ในทางตรงกันข้าม Huston Smith นักวิชาการด้านศาสนาของโลกกล่าวว่าฉบับแปลของ Mitchell นั้น “ใกล้เคียงความสมบูรณ์แบบที่สุดในยุคของเราเท่าที่ข้าพเจ้าจะจินตนาการได้ มันรวมเอาคุณธรรมอันสูงส่งที่ผู้แปลยกย่องให้แก่ต้นฉบับภาษาจีน ความโปร่งใสแจ่มชัดราวกับอัญมณีที่เปล่งประกายไปด้วยอารมณ์ขันที่งามสง่า จิตใจที่กว้างขวาง และเชาวน์ปัญญาอันลึกซึ้งเอาไว้”
นักวิชาการด้านเต๋ารายอื่น อาทิ Michael LaFargue [17] และ Jonathan Herman [18] เห็นว่าถึงแม้ฉบับแปลดังกล่าวจะมีข้อด้อยทางด้านวิชาการแต่ก็บรรลุจุดประสงค์ของความต้องการทางจิตวิญญานของโลกตะวันตก ฉบับแปลเวอร์ชันที่ปรับให้เข้ากับโลกตะวันตกนี้พุ่งเป้าไปที่การทำให้ผู้อ่านยุคใหม่ที่ใช้ภาษาอังกฤษเข้าถึงเชาวน์ปัญญาของเต้าเต๋อจิงได้มากขึ้นโดยการใช้วัฒนธรรมที่คุ้นเคยและการอ้างอิงที่ใกล้ตัวผู้อ่าน
ฉบับแปลไทย[แก้]
เต้าเต๋อจิงเริ่มมีการแปลตั้งแต่ พ.ศ. 2506-ปัจจุบัน มีการแปลไม่ต่ำกว่า 20 สำนวน ได้แก่
ลำดับ | ปีที่พิมพ์ | ผู้แปล | ชื่อหนังสือ | แปลจากภาษา |
---|---|---|---|---|
1 | 2506 | เสถียร โพธินันทะ | เมธีตะวันออก | จีน |
2 | 2510 | จำนงค์ ทองประเสริฐ | บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน | อังกฤษ |
3 | 2516 | จ่าง แซ่ตั้ง | เต้า | จีน |
4 | 2517 | เลียง เสถียรสุต | คัมภีร์เหลาจื้อ | จีน |
5 | 2521 | พจนา จันทรสันติ | วิถีเต๋า | อังกฤษ |
6 | 2527 | สมเกียรติ สุขโข, เนาวรัตน์ พงไพบูลณ์ | คัมภีร์คุณธรรม | อังกฤษ |
7 | ไม่ทราบ | สมภพ โรจนพันธุ์ | เต๋าที่เล่าแจ้ง | อังกฤษ |
8 | ไม่ทราบ | ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ | คัมภีร์เต๋า ฉบับสมบูรณ์ พร้อมอรรถกถา | อังกฤษ |
9 | 2529 | ทองสด เมฆเมืองทอง | เต๋าคือเต๋า | จีน |
10 | 2530 | ทองแถม นาถจำนง | เหลาจื่อสอนว่า... | จีน |
11 | 2530 | จ่าง แซ่ตั้ง | ปรมัตถ์เต๋า | จีน |
12 | 2534 | บุญมาก พรหมพ้วย | เต๋าย่อมไร้นาม | อังกฤษ |
13 | 2536 | มงคล สีห์โสภณ | เต๋า | อังกฤษ |
14 | 2537 | โชติช่วง นาดอน (ทองแถม นาถจำนง) | เต๋าเต็กเก็ง | จีน |
15 | ไม่ทราบ | สุขสันต์ วิเวกเมธากร | ปรัชญาเหลาจื๊อ | จีน |
16 | 2538 | บัญชา ศิริไกร | คัมภีร์ ปรัชญาเหลาจื่อ | จีน |
17 | 2538 | บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ | แสงสว่างแห่งสัจธรรมและคุณธรรมเต๋า | จีน |
18 | 2538 | ทองหล่อ วงษ์ธรรมา | ปรัชญาจีน | อังกฤษ |
19 | 2539 | ประยงศ สวรรณบุปผา | คัมภีร์ เต๋า เต้ จิง | อังกฤษ |
20 | 2541 | อาจารย์สัมปันโน | สามลัทธิศาสนาที่น่าสนใจ | อังกฤษ |
21 | 2543 | ชาตรี แซ่บ้าง | ศีกษาคัมภีร์เต้าเต๋อ | จีน |
22 | 2546 | กลิ่นสุคนธ์ อริยฉัตรกุล | เต้าเต๋อจิง | จีน |
23 | 2547 | ภาวิช ทองโรจน์ | วิถีเต๋าของท่านเล่าจื๊อ | อังกฤษ |
24 | 2547 | ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ | คัมภีร์เต๋าของเหลาจื๊อ | จีน |
25 | 2548 | ประชา หุตานุวัตร | ผู้นำที่แท้ : มรรควิธีของเล่าจื๊อ | อังกฤษ |
26 | 2548 | ชาตรี แซ่บ้าง | ปรัชญาเต๋า : วิถีแห่งธรรมชาติ วิถีคน วิถีใจ | จีน |
27 | 2549 | ทองหล้อ วงษ์ธรรมา | เต๋าทางแห่งธรรมชาติ | อังกฤษ |
28 | 2558 | สรวงอัปสร กสิกรานันท์ | เต้าเต๋อจิง : คัมภีร์เต๋า | ไม่ทราบ |
ลิงก์อ่านเต้าเต๋อจิงออนไลน์[แก้]
- http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=571836#ixzz1zd8hG94L
- http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0111-1.html
- http://baike.baidu.com/view/16516.htm
- http://www.zxuew.cn/daodejing/
- http://www.daodejing.org/
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อstanford
- ↑ "The Tao Teh King, or the Tao and its Characteristics by Laozi – Project Gutenberg". Gutenberg.org. 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
- ↑ Creel 1970, What is Taoism? 75
- ↑ ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. เต๋า : ทางแห่งธรรมชาติ (Way of Nature). กรุงเทพฯ : โอเด็นสโตร์, 2549. หน้า 49-50
- ↑ อ้างแล้วใน ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. เต๋า : ทางแห่งธรรมชาติ (Way of Nature). หน้า 21
- ↑ คณาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(Innsbruck).วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://202.28.117.35/UserFiles/chapter6.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มีนาคม 2558).
- ↑ เสถียร โพธินันทะ.เมธีตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊ค, 2544.
- ↑ ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์.คัมภีร์เต๋าของเหลาจื๊อ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊ค, 2553.
- ↑ ________________.วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.yokipedia.com/chinesegods/151-2010-09-09-17-56-06 (วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2556).
- ↑ ________________.วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.daodexinxi.org/cont.php?conW_id=80 (วันที่ค้นข้อมูล : 15 ตุลาคม 2556).
- ↑ LaFargue, Michael and Pas, Julian. On Translating the Tao-te-ching in Kohn and LaFargue (1998), p. 277
- ↑ Welch (1965), p. 7
- ↑ The Journal of Religion
- ↑ The Journal of Religion
- ↑ "THE TAOISM OF THE WESTERN IMAGINATION AND THE TAOISM OF CHINA: DE-COLONIALIZING THE EXOTIC TEACHINGS OF THE EAST" (PDF). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2007-01-02.
- ↑ Taoism: the enduring tradition – Google Books. Books.google.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
- ↑ Lao-tzu and the Tao-te-ching: Studies in Ethics, Law, and the Human Ideal
- ↑ Journal of the American Academy of Religion