เด็นโซ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น
株式会社デンソー
ประเภทบริษัทมหาชน (K.K)
การซื้อขาย
ISINJP3551500006 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ (รถยนต์นั่ง/รถยนต์เพื่อการพาณิชย์)
ก่อตั้ง16 ธันวาคม พ.ศ. 2492; 74 ปีก่อน
สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่น คาริยะ จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรหลัก
โนบุอากิ คาโตะ
(ประธาน)
โคจิ โคบายาชิ
(รองประธาน)
โคจิ อาริมะ
(ประธานกรรมการบริหาร และ CEO)
รายได้เพิ่มขึ้น¥5,108.291 พันล้าน (2018)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น ¥412.676 พันล้าน (2018)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น ¥320.561 พันล้าน (2018)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ¥5,764.417 พันล้าน (2018)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ¥3,447.082 พันล้าน (2017)[1]
เจ้าของโตโยต้ามอเตอร์ (24.77%)[2]
โตโยต้าอินดัสทรีส์  (8.72%)
เว็บไซต์www.denso.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น (ญี่ปุ่น: 株式会社デンソー, อักษรโรมัน: Kabushiki-Gaisha Densō) เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองคาริยะ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น[3]

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ในชื่อ บริษัท นิปปอนเด็นโซ่ จำกัด (Nippon Denso Co. Ltd) หลังแยกตัวจากโตโยต้ามอเตอร์ โดยปัจจุบันโตโยต้าถือหุ้นประมาณร้อยละ 25 ของบริษัท[4]

แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทโตโยต้า แต่ยอดขายของกลุ่มโตโยต้ามีสัดส่วนไม่ถึง 50% ของรายได้ทั้งหมด (รายได้ 44% มาจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นในญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐฯ และจีน) ณ เดือนมีนาคม 2559[5] ในปี 2559 เด็นโซ่กลายเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่อันดับสี่ของโลก[6]

ในปี 2565 เด็นโซ่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 278 ของนิตยสารฟอร์จูนโกลบอล 500 ด้วยรายได้รวม 49,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีพนักงาน 167,950 คน[7]

ในปี พ.ศ. 2564 เด็นโซ่ประกอบด้วยบริษัทสาขารวม 200 แห่ง (64 แห่งในญี่ปุ่น 23 แห่งในอเมริกาเหนือ 32 แห่งในยุโรป 74 แห่งในเอเชีย และ 7 แห่งในโอเชียเนียและภูมิภาคอื่น ๆ)

ชื่อ[แก้]

เด็นโซ่ (電装, densō) เป็นคำผสมของคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า "ไฟฟ้า" (電気, denki) และ "อุปกรณ์" (装置, sōchi)

การดำเนินงาน[แก้]

เด็นโซ่พัฒนาและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลากหลายประเภท ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ชิ้นส่วนยานพาหนะไฮบริด ระบบปรับอากาศ แผงหน้าปัด ระบบถุงลมนิรภัย ระบบควาทปลอดภัยก่อนการชน และหัวเทียน รวมถึงพัฒนาและผลิตชิ้นส่วนที่ไม่ใช่ยานยนต์ เช่น อุปกรณ์ทำความร้อนภายในบ้าน และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หนึ่งในหุ่นยนต์อุตสาหกรรมของเด็นโซ่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ในการแข่งขันหมากรุกญี่ปุ่นกับผู้เล่นมืออาชีพ[8][9]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เด็นโซ่ได้ประกาศเปิด "ศูนย์นวัตกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า" ที่โรงงานในเมืองอันโจ โรงงานดังกล่าวจะสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของบริษัทสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริด[10]

การขาย[แก้]

ในปี พ.ศ. 2557 ยอดขายทั่วโลกของเด็นโซ่มีดังต่อไปนี้:

  • ระบบระบายความร้อน: 30.4%
  • ระบบควบคุมระบบส่งกำลัง: 35.0%
  • ระบบอิเล็กทรอนิกส์: 15.3%
  • ระบบไฟฟ้า: 9.4%
  • มอเตอร์ไฟฟ้า: 7.0%
  • สินค้ายานยนต์อื่น ๆ: 1.4%
  • ระบบอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค: 1.1%
  • สินค้าที่ไม่ใช่ยานยนต์อื่น ๆ: 0.4%

เด็นโซ่เวฟ[แก้]

เด็นโซ่เวฟ (Denso Wave) เป็นบริษัทในเครือที่ผลิตผลิตภัณฑ์ระบุตัวตนอัตโนมัติ (เครื่องอ่านบาร์โค้ดและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม และเครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้[11] มีชื่อเสียงจากการสร้างรหัสคิวอาร์สองมิติ และเป็นสมาชิกของสมาคมหุ่นยนต์ญี่ปุ่นและสนับสนุนมาตรฐาน ORiN

เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล อเมริกา[แก้]

เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล อเมริกา (Denso International America) เป็นบริษัทในเครือของเด็นโซ่ในอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2513 เด็นโซ่ได้ตัดสินใจขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจากคาริยะ ประเทศญี่ปุ่น ไปยังถึงอเมริกาเหนือ บริษัท เด็นโซ่ เซลส์ แคลิฟอร์เนีย อิงก์ (Denso Sales California, Inc.) ก่อตั้งขึ้นในเมืองฮอว์ธอร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 โดยมีพนักงานเพียง 12 คน โดย 4 คนเป็นชาวอเมริกัน วัตถุประสงค์ของบริษัทนี้คือการส่งเสริมระบบปรับอากาศของตนเป็นทางเลือกสําหรับยานพาหนะที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 เด็นโซ่ได้เปิดแผนกการขายชื่อ เด็นโซ่ เซลส์ ในเมืองเซาท์ฟิลด์ รัฐมิชิแกน

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2518 เด็นโซ่ อินเตอร์เนขั่นแนล อเมริกา ได้เปิดศูนย์บริการที่เมืองซีดาร์ฟอลส์ รัฐไอโอวา เนื่องจากการทำสัญญาซื้อขายอะไหล่ทางการเกษตรกับจอห์น เดียร์ ซึ่งมีทั้งสตาร์ทและมิเตอร์ไฟฟ้า

เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล อเมริกา มีพนักงานมากกว่า 17,000 คนในศูนยบริการทั้ง 38 แห่งในอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ยอดขายสำหรับสาขาทั้งหมดในอเมริการวมอยู่ที่ 8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[12][13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Financial Results".
  2. "State of Shareholders / Investors (as of Sep. 30, 2013)". Denso Corporation. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  3. "The page has been moved to a new location". DENSO Global Website.
  4. "Principal Shareholders". Global Denso. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  5. "投資家情報|デンソー" (PDF). www.denso.co.jp.
  6. Treece, James B. (Apr 28, 2016). "Denso's fiscal-year net falls 5.8%; Aisin Seiki's climbs 14%". Autonews. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  7. "Global 500".
  8. "ロボットで「王手」 デンソー、将棋電王戦に参戦". nikkei.com. 12 March 2014.
  9. ni2douga (14 March 2014). "【第3回将棋電王戦】ロボットアームの実力!駒並べと第一手". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21 – โดยทาง YouTube.
  10. "Denso opens electrification R&D centre in Japan". Just-auto. 9 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2020. สืบค้นเมื่อ July 6, 2020.
  11. "Corporate Outline". Denso Wave Inc. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
  12. "About Us Overview | DENSO International America, Inc". Densocorp-na.com. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
  13. Proud Past, Strong Future: A History of DENSO’s First 50 Years (pg. 112-115)