เดอะจีโอเมเตอส์สเกตช์แพด
จีเอสพี 5 | |
นักพัฒนา | KCP Technologies |
---|---|
รุ่นเสถียร | 5.06
/ 26 เมษายน พ.ศ. 2556 |
ระบบปฏิบัติการ | โอเอสเทน, วินโดวส์, ลินุกซ์ (ภายใต้ ไวน์) |
ประเภท | ซอฟต์แวร์แบบโต้ตอบเชิงเรขาคณิต |
สัญญาอนุญาต | กรรมสิทธิ์ |
เว็บไซต์ | dynamicgeometry.com |
เดอะจีโอเมเตอส์สเกตช์แพด (อังกฤษ: The Geometer's Sketchpad) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สเกตช์แพด หรือ จีเอสพี (อังกฤษ: GSP) เป็นซอฟต์แวร์เรขาคณิตที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ ใช้สำหรับการสำรวจ เรขาคณิตแบบยูคลิด พีชคณิต แคลคูลัส และคณิตศาสตร์สาขาอื่น ๆ โปรแกรมนี้สร้างขึ้นโดย นิโคลัส แจ็กกิว (Nicholas Jackiw) ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานบนวินโดวส์ 95 หรือวินโดวส์เอ็นที 4.0 หรือรุ่นต่อจากนั้น และโอเอส 8.6 หรือรุ่นต่อจากนั้น (รวมถึงโอเอสเทน) และยังสามารถทำงานบนลินุกซ์ โดยอยู่ภายใต้การทำงานของไวน์ แต่ยังมีข้อบกพร่องเล็กน้อย[1]
รายละเอียดของโปรแกรม
[แก้]จีเอสพีประกอบไปด้วยเครื่องมือการสร้างทางเรขาคณิตแบบยุคลิดดั้งเดิม กล่าวคือ การสร้างรูปร่างต่าง ๆ (เช่นรูปสิบห้าเหลี่ยม) โดยการใช้วงเวียนและสันตรง ก็สามารถสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมนี้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมนี้ยังให้ผู้ใช้สามารถใช้การแปลง เพื่อที่จะสร้างรูปที่ไม่สามารถใช้วงเวียนและสันตรงได้ (เช่น รูปเก้าเหลี่ยมด้านเท่า) นอกจากนี้ วัตถุในโปรแกรมยังสามารถเคลื่อนไหวได้
จีเอสพียังสามารถวัดความยาวของส่วนของเส้นตรง ขนาดของมุม พื้นที่ พารามิเตอร์ ฯลฯ และยังสามารถสร้างฟังก์ชัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างวัตถุจากความสัมพันธ์กับวัตถุที่เลือก ทำให้สามารถแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ซึ่งยากที่จะคิดด้วยมือได้
ประโยชน์ทางการศึกษา
[แก้]จีเอสพีได้นำไปใช้ในห้องเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมาก ตลอดจนในสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติ (NCTM) ระบุว่าหนึ่งในหกหลักเทคโนโลยีที่ว่า "เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ มันจะทำให้การสอนคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ช่วยในการยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน" จีเอสพีก็เป็นส่วนหนึ่งในตัวอย่างเหล่านี้ ซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เช่นแนวคิดในเรื่องความชัน การแปลงทางเรขาคณิต และจำนวนเต็ม
ในปัจจุบันหน่วยงานทางการศึกษาของประเทศไทย ได้แก่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดซื้อโปรแกรมจีเอสพี เวอร์ชัน 4.06 เป็นลิขสิทธิ์ของประเทศไทย และดำเนินการแปลโปรแกรมและคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทย[2] (รวมทั้งเวอร์ชัน 5.06 ในปัจจุบัน) นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการแข่งขันการใช้โปรแกรมนี้สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา[3] เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพของนักเรียนอีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ WineHQ AppDB gold rating, GSP version 4.061
- ↑ http://anuchakoyata-gsp.simdif.com/[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Kimberling, Clark. Geometry in Action: A Discovery Approach Using The Geometer's Sketchpad. Key College Publishing, Emeryville, California, (2003), ISBN 1-931914-02-8.
- Scher, Daniel. Lifting the Curtain: The Evolution of The Geometer's Sketchpad เก็บถาวร 2014-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Mathematics Educator, v10 n 2 pp 42–48 Sum 2000
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Articles and Literature เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sketchpad Bibliography
- Vietnam Sketchpad Workgroup – Teaching and Learning Mathematics with The Geometer's Sketchpad เก็บถาวร 2014-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Dynamic Number project (Geometer's Sketchpad for grades 2–8) เก็บถาวร 2019-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sketchpad 5 Curriculum Modules
- Sketchpad Explorer for the iPad