เซงิ โอเซกิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซกิ โอเซกิ
เซกิใน พ.ศ. 2550
เซกิใน พ.ศ. 2550
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด17 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
เซกิ โอเซกิ
ฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพนักแสดง, นายแบบ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2534–ปัจจุบัน

เซกิ โอเซกิ (ญี่ปุ่น: 大関正義โรมาจิOzeki Seigi; เกิด 17 ธันวาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักแสดงและนายแบบชาวญี่ปุ่น มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงไทย จากการแสดงละครเวทีเรื่อง คู่กรรม (2546) รับบทเป็บโกโบริ

ประวัติ[แก้]

เซกิเป็นชาวเมืองฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรคนเล็กจากทั้งหมดสามคน มีพี่สาวสองคน สำเร็จการศึกษาโทเกียวโชกางากูอิง (Tokyo Shokagakuin) สาขาแฟชั่นดีไซน์ เขาเข้าสู่วงการบันเทิงโดยบังเอิญ จากการที่มีแมวมองชวนเขาถ่ายแบบ และทำงานเป็นนายแบบในประเทศญี่ปุ่น[1] ต่อมา พ.ศ. 2546 เขาได้งานโฆษณาเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งในไทย ก็ถูกทาบทามให้แสดงละครเวทีเรื่อง คู่กรรมเดอะมิวสิคัล เพราะเขามีบุคลิกตรงกับโกโบริ ตัวเอกของเรื่อง[2] หลังทดสอบการแสดง เขาต้องฝึกร้องและฟังเพลงที่จะต้องแสดงเป็นภาษาไทย[3] โดยใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวก็จำได้ จากนั้นเขาจึงมีผลงานการแสดงในไทยเรื่อยมา เช่น คู่แรด (2550) รับบท เซกิ[1] และ ซามูไร อโยธยา (2553) รับบท ยามาดะ นางามาซะ[4]

เซกิได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมไทยประจำ พ.ศ. 2554 จากกระทรวงวัฒนธรรม[5][6]

ผลงาน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "เซกิ โอเซกิ หนุ่มยุ่นหัวใจไทย". สนุกดอตคอม. 25 กันยายน 2550. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เผยโฉม เซกิ โอเซกิ รับบทพระเอกละครเพลงเรื่อง คู่กรรม". สยามโซน. 11 สิงหาคม 2546. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "แขกรับเชิญ-20 ปี แดสฯ 9 ปี ดรีมบอกซ์"ความฝันไม่เคยเปลี่ยน" (2)". คมชัดลึก. 5 เมษายน 2553. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""ซามูไรอโยธยา" เป็นมากกว่าหนัง". ดาราเดลี. 8 ธันวาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เซกิ ซามูไรอโยธยา เป็นทูตวัฒนธรรมไทย". กระปุกดอตคอม. 6 ธันวาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เซกิ โอเซกิ และ บัวขาว ป. ประมุข ได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมไทย". Thai Cinema. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]