เจ้าหญิงฮะยา บินต์ อัลฮุซัยน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงฮะยา บินต์ อัลฮุซัยน์
เจ้าหญิงฮะยาใน ค.ศ. 2017
ประสูติ (1974-05-03) 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 (49 ปี)
อัมมาน ประเทศจอร์แดน
คู่อภิเษกชัยค์มุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม (สมรส 2004; หย่า 2019)
พระราชบุตรชัยเคาะฮ์ญะลีละฮ์
ชัยค์ซะยีด
พระนามเต็ม
ฮะยา บินตร์ อัลฮุซัยน์ บิน เฏาะลาล บิน อับดุลลอฮ์
ราชวงศ์ราชวงศ์อัลฮาชิมียะฮ์
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน

เจ้าหญิงฮะยา บินต์ อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: الأميرة هيا بنت الحسين; ประสูติวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1974) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 4 และพระราชบุตรพระองค์ที่ 6 ในจำนวนพระบุตรทั้ง 11 ใน สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน ประสูติแต่ สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน เป็นพระราชขนิษฐาร่วมพระราชบิดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ทรงเสกสมรสกับ มูฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มักทูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ มีพระบุตร 2 พระองค์

การหลบหนีจากพระสวามีและผลกระทบ[แก้]

สื่อตะวันออกกลางและในต่างประเทศเผยแพร่ข่าวใหญ่สะเทือนราชสำนักอาระเบียน เมื่อเจ้าหญิงฮายา บินต์ ฮุสเซน เสด็จหนีจากพระสวามี มูฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มักทูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ และรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อันจะนำไปสู่การจบความสัมพันธ์นี้ แหล่งข่าวได้รายงานว่า เจ้าหญิงฮายา ได้เสด็จไปพร้อมด้วย ชีคเคาะห์ จาลีลา (พระชันษา 11 ปี) พระธิดา และชีคซายิด (พระชันษา 7 ปี) พระโอรส ซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยันในเรื่องนี้ แหล่งข่าวได้รายงานอีกว่า ระหว่างที่ประทับในกรุงลอนดอน ทรงหาทางเพื่อทรงหย่าและขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศเยอรมนี ด้วยความช่วยเหลือจากพระสหายสนิทที่เป็นทูตในเยอรมนี ต่อมา มูฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มักทูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ และรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทรงโพสต์บทกลอนภาษาอาหรับในอินสตาแกรมส่วนพระองค์ @hhshkmohd โดยชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “You Live and Die” ความตอนหนึ่งว่า

...ความผิดบางอย่างมักถูกเรียกว่า การทรยศ และเธอได้บังอาจทรยศไปแล้ว เธอทรยศต่อความไว้ใจ เธอได้เปิดเผยธาตุแท้ของตัวเองให้ได้รู้... ฉันไม่มีที่สำหรับเธออีกแล้ว จงไปหาคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจเถิด ฉันไม่สนใจอีกแล้ว ว่าเธอ “จะอยู่หรือตาย”...

ถึงแม้ว่าไม่ได้ทรงเจาะจงว่าทรงโพสต์พาดพิงถึงผู้ใดโดยตรง แต่บทกลอนนี้สื่อถึงบุคคลที่ถูกทรยศ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลอนนี้เข้าถึงกระแสข่าวและสถานการณ์เป็นอย่างดี โดยสื่อมวลชนและประชาชนยังคงติดตามข่าวนี้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะเจ้าหญิงฮายา ทรงเป็นพระราชวงศ์ที่มีบทบาทมากที่สุดพระองค์หนึ่งของโลกอาหรับ และอยู่ในราชวงศ์อาหรับที่ทรงอิทธิพลที่สุดราชวงศ์หนึ่งของโลก เมื่อมีกระแสข่าวนี้ออกมา ทำให้ประชาชนตกใจและคลางแคลงใจอยู่ไม่น้อยว่าเกิดอะไรขึ้นกับพระองค์กันแน่

ความคืบหน้าการหย่าร้าง[แก้]

เจ้าหญิงฮายา บินต์ ฮุสเซนแห่งจอร์แดน เสด็จถึงศาลครอบครัวในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา หลังจากที่เสด็จหนีออกจากพระสวามี มูฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มักทูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อหลายเดือนก่อน โดยสื่อมวลชนได้รายงานสำนวนคดีบางส่วนตามที่ได้รับอนุญาตจากศาลอังกฤษ กล่าวว่า ทรงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองพระโอรสหรือพระธิดา พระองค์ใดพระองค์หนึ่งเพื่อไม่ให้ถูกบังคับเสกสมรสในวัยเยาว์ โดยทรงยื่นคำร้องขอสิทธิในการดูแลคุ้มครองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม พระสวามีไม่ได้เสด็จมาทรงร่วมที่ศาลในครั้งนี้ด้วย แต่ได้โปรดให้ทนายเป็นผู้แทนพระองค์ เรียกร้องสิทธิ์ให้พระโอรส-ธิดาเสด็จกลับไปดูไบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการพูดถึงการทรงหย่าหรือเหตุผลที่แท้จริงที่เสด็จหนีออกมา

นอกจากนี้ ภายใต้กฎหมายศาลอังกฤษ จะไม่มีการเผยข้อมูลของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ หรือชื่อ-สกุล ในการไต่สวนครั้งนี้ และ นับเป็นครั้งแรกเจ้าหญิงเสด็จออกตั้งแต่ทรงหายไปจากสื่อ ที่น่าสนใจคือ เจ้าหญิงเสด็จมาพร้อมกับทนายความชื่อดังของอังกฤษ ฟิโอน่า แช็คเกิ้ลตัน ผู้เคยทำหน้าที่เป็นทนายประจำพระองค์ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ เมื่อครั้นทรงฟ้องหย่ากับไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ขณะที่ฝ่ายพระสวามี โปรดให้เฮเลน วอร์ด ทนายผู้เคยทำคดีหย่าของสองนักร้องและเซเลบคนดังของฮอลลิวู้ด กาย ริชชี่และมาดอนนา

ทางด้านราชวงศ์จอร์แดนได้ปฏิเสธให้ความเห็นใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ตั้งแต่แรก ด้วยความหวั่นเกรงต่อความขัดแย้งระหว่างประเทศ ศาลจึงได้นัดไต่สวนอีกครั้งอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 นี้ ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงวันอีกครั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

รางวัล[แก้]

lสหประชาชาติ

 สหประชาชาติ 2015 Hunger Hero Award, UN World Food Programme,[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Photographic image" (JPG). 3.bp.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  2. "Photographic image" (JPG). S-media-cache-ak0.pinimg.com. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  3. "Photographic image" (JPG). C8.alamy.com. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  4. "Photographic image" (JPG). Arabianbusiness.com. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  5. "Princess Haya To Receive WFP Hunger Hero Award In Davos" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-02-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]