สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระราชินีอาลียา อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: علياء الحسين; เดิม: อาลียา บาฮาอัดดีน ตูคัน; พระราชสมภพ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 – สวรรคต 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) เป็นพระบรมราชินีและพระอัครมเหสีพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งตกทางตอนใต้ของจอร์แดนใกล้กับเมืองทาฟีลาห์

สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน
Queen Alia of Jordan.jpg
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
ดำรงพระยศ24 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (4 ปี 47 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีดีน่า
ถัดไปสมเด็จพระราชินีนูร์
พระราชสวามีสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน
พระราชบุตรเจ้าหญิงฮายา
เจ้าชายอาลี
พระนามเต็ม
อาลียา อัลฮุซัยน์
ราชวงศ์ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดานายบาฮาอัดดีน ตูคัน
พระราชมารดานางฮานาน ฮาชิม
พระราชสมภพ25 ธันวาคม พ.ศ. 2491
กรุงไคโร, ประเทศอียิปต์
อาลียา บาฮาอัดดีน ตูคัน
สวรรคต9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (28 พรรษา)
กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน
ฝังพระศพพระราชวังรักฮาดาน
ศาสนาศาสนาอิสลาม

พระราชประวัติ[แก้]

พระชนพ์ชีพช่วงต้นและพื้นฐานครอบครัว[แก้]

สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นธิดาของนายบาฮาอัดดีน ตูตันกับนางฮานาน ฮาชิม พระชนกของพระองค์เป็นเอกอัครราชทูตจอร์แดนต่อศาลเซนต์เจมส์(สหราชอาณาจักร) อิตาลี ตุรกีและอียิปต์[1][2] นายตูคันได้ถวายงานรับใช้สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน โดยเป็นผู้ช่วยในการเขียนรัฐธรรมนูญของจอร์แดนในปีพ.ศ. 2495 และเป็นเอกอัครราชทูตคนแรกของจอร์แดนต่อสหประชาชาติ

การศึกษาและการทำงาน[แก้]

ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กไปกับการเดินทางกับพระชนกและพระชนนีของพระองค์ในช่วงที่พระชนกทำงานในคณะทูตของจอร์แดน พระองค์อาศัยอยู่ในอียิปต์ ตุรกี ลอนดอน สหรัฐอเมริกาและโรม ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาในลอนดอนกับพระอนุชาของพระองค์ อัลลาและอับดุลลอฮ์ จากนั้นทรงสำเร็จการศึกษาที่ศูนย์ศิลปศาสตร์โรม ทรงเรียนรัฐศาสตร์ร่วมกับจิตวิทยาสังคมและการประชาสัมพันธ์ที่วิทยาลัยฮันท์เตอร์ในนิวยอร์ก พระองค์ทรงสนใจด้านกีฬาและการเขียนและทรงต้องการเป็นนักการทูต ในปีพ.ศ. 2514 ทรงย้ายไปประเทศจอร์แดนที่ซึ่งพระองค์ทำงานให้กับรอยัลจอร์แดเนี่ยนแอร์ไลน์

พระองค์ได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ให้ดูแลการเตรียมการสำหรับเทศกาลเล่นสกีน้ำระหว่างประเทศครั้งแรกที่จัดขึ้นในเมืองชายฝั่งอควาบาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2515

สมเด็จพระราชินี[แก้]

อภิเษกสมรส[แก้]

สมเด็จพระราชินีอาลียา (ด้านซ้าย) พร้อมด้วยพระราชสวามีหลังการเสวยพระกระยาหารค่ำร่วมกับเบ็ตตี้และเจอรัลด์ ฟอร์ด เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2519

ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสแบบส่วนพระองค์กับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และทรงได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน

สมเด็จพระราชินีอาลียาและสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ มีพระราชโอรส - ธิดาสองพระองค์

เจ้าหญิงฮายา (ประสูติ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2517)

เจ้าชายอาลี (ประสูติ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2518)

ทั้งสองพระองค์ยังทรงอุปการะ อาร์บี มูไฮเซน เด็กหญิงชาวปาเลสไตน์ที่แม่ถูกฆ่าตายด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ค่ายผู้ลี้ภัยใกล้สนามบินอัมมาน เป็นพระราชธิดาบุญธรรม

สวรรคต[แก้]

สมเด็จพระราชินีอาลียาเสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งตกทางตอนใต้ของจอร์แดนใกล้กับเมืองทาฟีลาห์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 สิริรวมพระชนมพรรษาได้ 28 พรรษา[1]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

• อาลียา บาฮาอัดดีน ตูคัน (25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2515)

เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (24 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน[แก้]

  • JOR Al-Hussein ibn Ali Order BAR.svg Dame Grand Cordon with Collar of the Order of al-Hussein bin Ali.[3]
  • Jordan004.gif Dame Grand Cordon of the Supreme Order of the Renaissance [special class] (24 ธันวาคม พ.ศ. 2515).[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  • PHL Order of Gabriela Silang.png Member of the Order of Gabriela Silang (Republic of the Philippines, 1 มีนาคม พ.ศ. 2519).[4]
  • JPN Hokan-sho 1Class BAR.svg Dame Grand Cordon of the Order of the Precious Crown (Empire of Japan, 10 มีนาคม พ.ศ. 2519).[3]
  • AUT Honour for Services to the Republic of Austria - 1st Class BAR.png Great Star of Honour for Services to the Republic of Austria (Republic of Austria, มิถุนายน พ.ศ. 2515).[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Jordan remembers Queen Alia". Jordan Times. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  2. Death of a King; Cautious King Took Risks In Straddling Two Worlds Judith Miller, The New York Times, 8 February 1999
  3. 3.0 3.1 3.2 Royal Ark
  4. "President's Week in Review: March 1 – March 9, 1976". Official Gazette of the Republic of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2015.
  5. Aparchive
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน ถัดไป
อองตัวแนต อาวริล การ์ดิเนอร์ 2leftarrow.png Coat of arms of Jordan.svg
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
(ค.ศ. 1972 - 1977)
2rightarrow.png ลิซา นาจีบ ฮัลลาบี