เจ้าหญิงตองตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงตองตา

เจ้าหญิงศรีประภาเทวี
เจ้าหญิงตองตา
พระฉายาลักษณ์เจ้าหญิงตองตา ฉายก่อนปีพ.ศ. 2422
เจ้าหญิงแห่งพม่า
ประสูติพ.ศ. 2394
พระราชวังอมรปุระ อมรปุระ ประเทศพม่า
สวรรคตพ.ศ. 2422
เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
(พระชนมายุ 28 พรรษา)
เจ้าหญิงตองตา
ราชวงศ์อลองพญา
พระราชบิดาพระเจ้ามินดง
พระราชมารดาเจ้าจอมมารดากอนิทวา

เจ้าหญิงตองตา (Princess of Taungtha; พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2422) ทรงมีพระนามเดิมคือ เจ้าหญิงศรีประภาเทวี (Sri Prabha Devi) เจ้าหญิงทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์โก้นบอง

พระประวัติ[แก้]

เจ้าหญิงศรีประภาเทวี หรือ เจ้าหญิงตองตาทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 16 ของพระเจ้ามินดง[1] ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดากอนิทวา พระองค์ประสูติที่พระราชวังอมรปุระ กรุงอมรปุระ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในรัชกาลของพระเจ้าพุกามแมง ดังนั้นทรงเป็นพระราชธิดาซึ่งประสูตินอกเศวตฉัตร เจ้าหญิงทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาร่วมบิดามารดา 9 พระองค์ดังนี้

  • เจ้าชายเถ่าซา (พ.ศ. 2386 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าหญิงมยินโกน (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2432)
  • เจ้าหญิงตองตา
  • เจ้าชายพินเล (พ.ศ. 2396 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าชายกอธานี (พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าหญิงปะเดง (พ.ศ. 2401 - หลัง พ.ศ. 2464)
  • เจ้าหญิงเมียวคยี (พ.ศ. 2404 - พ.ศ. 2456)
  • เจ้าชายปันยา (พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าหญิงมินลัต (พ.ศ. 2407 - ?)
  • เจ้าหญิงมินดัต (พ.ศ. 2409 - หลัง พ.ศ. 2464)

เจ้าชายมินดง พระราชบิดาของเจ้าหญิงในขณะนั้นทรงรอบรวมกองกำลังเข้ายึดพระราชอำนาจจากพระเจ้าพุกามแมง ผู้เป็นพระเชษฐา พระองค์สละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2396 พระเจ้ามินดงได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา พระเจ้ามินดงทรงย้ายราชธานีไปยังกรุงมัณฑะเลย์ ในปีพ.ศ. 2400 ทรงได้รับการอภิบาลในราชสำนักที่มัณฑเลย์ เจ้าหญิงได้รับพระราชทานศักดินา "ตองตา" (Taungtha ) จากพระเจ้ามินดง จึงทำให้มีบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าหญิงแห่งตองตา" และกลายเป็นพระนามที่เรียกขานกันว่า "เจ้าหญิงตองตา"[2]

เกิดความวุ่นวายทางการเมืองในปีสุดท้ายของรัชกาลพระเจ้ามินดง ปี พ.ศ. 2421 พระนางซินผิ่วมะฉิ่น พระมเหสีตำหนักกลางในพระเจ้ามินดง และอัครมหาเสนาบดีในพระเจ้ามินดง คือ เกงหวุ่นมินจี ซึ่งเป็นพันธมิตรของพระนางซินผิ่วมะฉิ่น และเต่งกะด๊ะมินจี เสนาบดีผู้มีอิทธิพลในสภาลุดต่ออีกคนหนึ่ง ได้ก่อการรัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421 - 2422[3] โดยดำเนินการแต่งตั้งเจ้าชายธีบอ หนึ่งในพระโอรสของพระเจ้ามินดง และเป็นพระอนุชาต่างมารดาในเจ้าหญิงตองตา ขึ้นเป็นองค์รัชทายาท พระนางซินผิ่วมะฉิ่นและเกงหวุ่นมินจีดำเนินการจับกุมพระราชโอรส ผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์และพระราชธิดารวมถึงเจ้าจอมมารดา บางพระองค์ มาสังหารหมู่เพื่อเปิดทางให้เจ้าชายธีบอขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าธีบอ ได้โดยง่าย เจ้าหญิงตองตาทรงเป็นหนึ่งในราชนิกูลที่ถูกจับกุมตามคำสั่งของพระนางชินผิ่วมะฉิ่นในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2421 พร้อมพระราชธิดาองค์อื่นๆ ที่พระนางชินผิ่วมะฉิ่นเกรงว่าจะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ โดยเหล่าพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากอนิทวาล้วนถูกจับกุม ซึ่งไม่มีการกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงตองตา แต่นักประวัติศาสตร์คาดว่าอาจจะทรงถูกปลงพระชนม์ตามคำสั่งของพระนางซินผิ่วมะฉิ่นในราววันที่ 13 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422 ณ พระราชวังมัณฑะเลย์ สิริพระชนมายุ 28 พรรษา

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  2. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  3. H. Fielding (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 49; published 2015; ISBN 978-974-02-1439-7