เจ้าชายกอห์ลัมเรซา ปาห์ลาวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายกอห์ลัมเรซา ปาห์ลาวี
เจ้าชายแห่งอิหร่าน
ประสูติ16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466
เตหะราน ประเทศอิหร่าน
สิ้นพระชนม์7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (93 ปี)
ปารีส ฝรั่งเศส
พระชายาโฮมา อาลัม
มาเรียนจา จาคาไบ
พระนามเต็ม
เจ้าชายกอห์ลัมเรซา ปาห์ลาวี
พระบุตรเจ้าหญิงมาซาน
เจ้าชายบาห์มา
เจ้าหญิงอซูดริก
เจ้าหญิงมาร์ยาม
เจ้าชายบาร์ราม
ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระราชบิดาพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี
พระราชมารดาคาร์มา อัล-โมลูก

เจ้าชายกอห์ลัมเรซา ปาห์ลาวี (อังกฤษ: Gholamreza Pahlavi) ประสูติเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2466 เป็นพระราชโอรสใน พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับ คาร์มา อัล-โมลูก เป็นพระอนุชาต่างพระมารดาใน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระองค์ทรงเรียนจบจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเริ่มอาชีพของในกองทัพอิหร่าน ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจการทั่วไป หลังจากดำรงตำแหน่งต่างๆ ในกองทัพทรงด้รับการเลื่อนยศให้พลโทใน 2516 ในปี 2498 ทรงก็กลายเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล นอกจากนี้ทรงยังทำหน้าที่เป็นประธานของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติอิหร่าน และเป็นสมาชิกของสภาพระองค์สำคัญในระหว่างที่พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี พระราชบิดาเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 5-13 ธันวาคม พ.ศ. 2516 พระองค์และพระชายาได้เสด็จเยือนประเทศจีน อย่างเป็นทางการในฐานะที่เป็นประธานการเกษตรและอุตสาหกรรมของอิหร่าน ต่อมาทรงเกษียณอายุราชการในตำแหน่งพลจัตวา

เสกสมรส[แก้]

เจ้าชายกอห์ลัมเรซา ปาห์ลาวี ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับ โฮมา อาลัม เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2490 โดยมีพระบุตรดังนี้

  1. เจ้าหญิงมาซาน
  2. เจ้าชายบาห์มา

ต่อมาทรงหย่าในปี 2499 และเสกสมรสใหม่กับ มาเรียนจา จาคาไบ ในปี 2505 มีพระบุตรดังนี้

  1. >เจ้าหญิงอซูดริก
  2. เจ้าหญิงมาร์ยาม
  3. เจ้าชายบาร์ราม

โดยในปี 2522 เกิดการปฏิวัติอิหร่าน พระองค์และพระญาติพระองค์อื่นๆเสด็จออกจากประเทศอิหร่านไปประทับยัง ปารีส พระองค์ทรงเป็นนักเขียนหนังสือและทรงประพันธ์หนังสือขึ้นมาหลานเรื่อง เพื่อเป็นค่าเลี้ยงชีพ โดยรายได้หลักของพระองค์นั้นมาจากการประพันธ์หนังสือและเงินจากสำนักพระราชวัง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2560 สิริพระชันษา 93 ชันษา ซึ่งต่อมาอีกเพียง 9 วัน จะเป็นวันครบรอบวันประสูติปีที่ 94

  • ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของ เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี พระภคินีต่างพระมารดาของพระองค์เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559 พระองค์จึงกลายเป็นพระบรมวงศานุวงศืแห่งอิหร่านที่มีพระชันษายืนยาวที่สุด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rark