พระชายาทองอยู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าครอกทองอยู่)
พระชายาทองอยู่
ประสูติอาณาจักรอยุธยา
ทองอยู่
สิ้นพระชนม์อาณาจักรรัตนโกสินทร์
บรรจุพระบรมอัฐิสุสานวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
พระสวามีสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี (เสกสมรส)
ศาสนาเถรวาท

พระชายาทองอยู่[1][2] หรือ เจ้าครอกทองอยู่[3] เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ทรงมีชื่อเสียงในด้านการทำขนมค้างคาว ซึ่งขึ้นชื่อพอ ๆ กับขนมไส้หมูของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี จนกระทั่งชาววังเรียกขานกันว่า "ขนมค้างคาวเจ้าครอกทองอยู่ ขนมไส้หมูเจ้าครอกวัดโพธิ์"

พระประวัติ[แก้]

พระชายาทองอยู่ เดิมท่านเป็นชาววังสมัยอยุธยา เป็นข้าหลวงสำนักเจ้าฟ้าจันทวดี[4] เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 นั้น พม่าเผาเมืองริบทรัพย์และกวาดต้อนชาวกรุงศรีอยุธยากลับพม่า เจ้าฟ้าหญิงจันทวดี เจ้าฟ้าหญิงพินทวดี ทรงถูกกักขังที่ค่ายโพธิ์สามต้น ไม่ได้ถูกกวาดต้อนในคราวแรกร่วมกับเจ้านายหลายพระองค์ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก จึงได้เชิญเจ้าฟ้าหญิงพินทวดีมาประทับยังกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าฟ้าหญิงจันทวดีนั้นไม่ปรากฏ

คุณทองอยู่ได้ตามเสด็จในฐานะข้าหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพินทวดี หลวงฤทธินายเวร (บรรดาศักดิ์กรมพระราชวังหลังในครั้งนั้น) พบเข้าจึงมีจิตปฏิพัทธ์ ท่านสา (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี) จึงทูลขอคุณทองอยู่จากสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพินทวดี ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ก็มีพระกรุณาประทานให้ เหตุการณ์นี้น่าจะอยู่ในช่วงราว พ.ศ. 2310-2312 นี้เอง เพราะคุณทองอยู่ให้กำเนิดบุตรคนแรก (พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์) ในเดือนอ้าย พ.ศ. 2313 บ้านเมืองเริ่มเข้าภาวะปกติบ้างแล้ว[5]

พระชายาทองอยู่สิ้นพระชนม์ปีใดไม่ปรากฏ พระราชทานเพลิงพระศพที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอัฐิบรรจุไว้ที่สุสานวัดระฆังโฆสิตาราม[6]

พระโอรสและพระธิดา[แก้]

พระชายาทองอยู่ ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ มีพระโอรสและพระธิดารวม 6 พระองค์ ได้รับการยกฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า "พระสัมพันธวงศ์เธอ " คือ

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

พระจริยวัตรของพระองค์ ส.พลายน้อยเล่าไว้ในหนังสือ กระยานิยาย ว่า

"เดิมเป็นนางข้าหลวงของเจ้าฟ้าหญิงจันทวดี พระราชธิดาพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งทรงหนีรอดจากการเสียกรุงศรีอยุธยามาอยู่ที่กรุงธนบุรี ท่านทองอยู่ต่อมาได้สมรสกับพระยาสุริยอภัย หลานชายเจ้าพระยาจักรี ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อพระยาสุริยอภัยเลื่อนขึ้นเป็นกรมพระราชวังหลัง ผู้คนก็พากันเรียกพระชายาว่า "เจ้าครอกทองอยู่" หรือ "เจ้าครอกวังหลัง" ในเมื่อท่านเคยเป็นกุลสตรีในสมัยอยุธยามาก่อน ตลอดชีวิตท่านก็แต่งองค์อย่างหญิงผู้ดีอยุธยา คือไว้ผมยาวประบ่า นุ่งผ้าจีบ ไม่ตัดผมสั้นและนุ่งโจงกระเบนอย่างสตรีอื่น ๆ ที่ต้องเปลี่ยนการแต่งกายให้ทะมัดทะแมงคล้ายผู้ชายในยามศึกสงครามตั้งแต่ตอนเสียกรุงครั้งที่สอง"

พระชายาทองอยู่ศรัทธาในศาสนา และมีเมตตาต่อบริวารด้วยดี ในจำนวนนั้นคือ คุณจัน ภริยาของสุนทรภู่ ที่แต่เดิมก่อนสมรสเป็นข้าหลวงในพระองค์และเมื่อหย่าร้างก็ได้กลับมาพึ่งพระบารมีพร้อมบุตรชาย คือ นายพัดกับนายตาบ ซึ่งพระชายาทรงมีพระเมตตาถึงกับเกล้าจุกให้ทุกวัน ดังที่สุนทรภู่เขียนรำพันอาลัยสำนึกในพระกรุณาไว้ใน นิราศวัดเจ้าฟ้า รำลึกถึงเมื่อครั้งเจ้าครอกทองอยู่สิ้นพระชนม์

ถึงวัดระฆังบังคมบรมธาตุ แทบพระบาทบุษบงองค์อัปสร

ไม่ทันลับกัปกัลป์พุทธันดร พระด่วนจรสู่สวรรคครรลัย
ละสมบัติขัตติยาทั้งข้าบาท โอ้อนาถนึกน่าน้ำตาไหล
เป็นสูญลับนับปีแต่นี้ไป เหลืออาลัยแล้วที่มีพระคุณ
ถึงจนยากบากมาเป็นข้าบาท ไม่ตัดขาดข้าวเกลือช่วยเกื้อหนุน
ทางศรัทธากล้าหาญในการบุญ โอ้พระคุณขาดยศทั้งงดงาม
แม้ตกยากพรากพลัดไปขัดข้อง พัดกับน้องหนูตาบจะหาบหาม

นี่จนใจไปป่าช้าพนาราม สุดจะตามเสด็จได้ดังใจจง

และอีกตอนหนึ่งว่า

ทั้งหนูตาบกราบไหว้ร้องไห้ว่า จะคมลาลับไปในไพรสัณฑ์
เคยเวียนเฝ้าเกล้าจุกให้ทุกวัน สารพันพึ่งพาไม่อาทร

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระชายาทองอยู่
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • ไม่ปรากฏ : ทองอยู่
  • พ.ศ. 2323 : คุณหญิงทองอยู่
  • พ.ศ. 2325 : หม่อมทองอยู่ ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
  • พ.ศ. 2329 : พระชายาทองอยู่ ในสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

ขนมค้างคาว[แก้]

ขนมค้างคาว เป็นขนมรสคาว ทำด้วยแป้งมีไส้ข้างใน ตัวไส้คือกุ้งและมะพร้าวปรุงรสด้วยเกลือพริกไทยแล้วผัดเข้าด้วยกัน เมื่อสุกจึงปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหุ้มด้วยแป้งดูรูปร่างคล้ายๆค้างคาวกางปีก จึงเรียกว่าขนมค้างคาว[7]

พระชายาทองอยู่ ทรงเป็นต้นตำรับขนมค้างคาวที่อร่อยขึ้นคู่กับพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีซึ่งทรงเป็นต้นตำรับของขนมไส้หมู ชื่อจนกระทั่งชาววังเรียกขานกันว่า "ขนมค้างคาวเจ้าครอกทองอยู่ ขนมไส้หมูเจ้าครอกวัดโพธิ์" เป็นขนมโด่งดังพอ ๆ กันในสมัยรัชกาลที่ 1

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม[แก้]

มีนักแสดงผู้รับบท พระชายาทองอยู่ ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 145-146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-04.
  2. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 38. ISBN 974-221-818-8
  3. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2549. 200 หน้า. หน้า 105. ISBN 974-941-205-2
  4. ประวัติวังหลัง - โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
  5. กรมพระราชวังหลังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทที่ 3.1 เจ้าครอกทองอยู่ พระชายาคู่บุญ โดย อลินน์
  6. "หีบ"บรรจุหายไปไหน ??? หลงพบ .. "อัฐิ พระเชษฐภคินี ร.1" วางกองกับพื้นที่ วัดระฆัง
  7. ขนมที่ถูกลืม - วิชาการ.คอม