ข้ามไปเนื้อหา

เจดีย์ต้าย่าน

พิกัด: 34°13′11″N 108°57′34″E / 34.219842°N 108.959354°E / 34.219842; 108.959354
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจดีย์ต้าย่าน
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ชื่อทางการR06–CN Great Wild Goose Pagoda
ที่ตั้งซีอาน, อำเภอยั่นถ่า, มณฑลฉ่านซี, ประเทศจีน
บางส่วนSilk Roads: the Routes Network of Chang'an-Tianshan Corridor
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (ii), (iii), (v), (vi)
อ้างอิง1442
ขึ้นทะเบียน2014 (สมัยที่ 38th)
พิกัด34°13′11″N 108°57′34″E / 34.219842°N 108.959354°E / 34.219842; 108.959354
เจดีย์ต้าย่านตั้งอยู่ในประเทศจีน
เจดีย์ต้าย่าน
ที่ตั้งเจดีย์ต้าย่าน ในประเทศจีน
เจดีย์ต้าย่าน
"เจดีย์ต้าย่าน" ในอักษรจีน
ภาษาจีน大雁塔

เจดีย์ต้าย่าน (จีน: 大雁塔; พินอิน: Dàyàn tǎ; "เจดีย์ห่านใหญ่") เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ในซีอานตอนใต้ มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน สร้างขึ้นใน ค.ศ. 652 ในสมัยราชวงศ์ถัง ของเดิมมี 5 ชั้น ต่อมาในรัชสมัยบูเช็กเทียน มีการสร้างขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 704 และในสมัยราชวงศ์หมิง มีการบูรณะด้านหน้าส่วนนอกที่เป็นอิฐ

วัตถุประสงค์หนึ่งของเจดีย์นี้ คือ ไว้บรรจุพระสูตรกับพระพุทธรูปขนาดเล็กที่พระถังซัมจั๋งนำมาจากอินเดีย ปัจจุบัน กำแพงส่วนในของเจดีย์มีรูปพระพุทธเจ้าที่ศิลปินหยัน ลี่เปิ่น สลักไว้

ประวัติ

[แก้]

เจดีย์เดิมสร้างในรัชสมัยของจักรพรรดิถังเกาจง (ครองราชย์ ค.ศ. 649–683) มีความสูง 60 เมตร (198 ฟุต)[1] ส่วนของผนังดินอัดกับหินส่วนหน้าด้านนอกพังลงในห้าทศวรรษต่อมา จักรพรรดินีบูเช็กเทียนจึงรับสั่งใน ค.ศ. 704 ให้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยเพิ่มอีก 5 ชั้น

แผ่นดินไหวในมณฑลฉ่านซี ค.ศ. 1556 สร้างความเสียหายแก่เจดีย์ โดยทำให้พังลงไป 3 ชั้น เหลือ 7 ชั้นมาจนถึงปัจจุบัน[2]

ตัวโครงสร้างเอียงไปทางตะวันตกเพียงเล็กน้อย (ไม่กี่องศา) ส่วนเจดีย์เสี่ยวย่าน (เจดีย์ห่านน้อย) ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยในแผ่นดินไหว ค.ศ. 1556 (ยังไม่ได้ซ่อมแซมถึงปัจจุบัน)[2] เจดีย์ต้าย่านได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในช่วงสมัยราชวงศ์หมิง (1368–1644) และบูรณะอีกครั้งใน ค.ศ. 1964 ตัวเจดีย์ในปัจจุบันมีความสูง 64 เมตร (210 ฟุต) และชั้นบนสุดสามารถเห็นทิวทัศน์ของเมืองซีอานได้

บริเวณนี้ได้รับการยกเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2014

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Watson, 185.
  2. 2.0 2.1 Ingles (1982), 144.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Benn, Charles (2002). China's Golden Age: Everyday Life in the Tang Dynasty. Oxford: Oxford University Press.
  • Ingles, O.G. "Impressions of a Civil Engineer in China," The Australian Journal of Chinese Affairs (Number 7, 1982): 141–150.
  • Heng Chye Kiang. (1999). Cities of Aristocrats and Bureaucrats: The Development of Medieval Chinese Cityscapes. Singapore: Singapore University Press. ISBN 9971-69-223-6.
  • Watson, William. (2000). The Arts of China to A.D. 900. New Haven: Yale University Press. ISBN 0-300-08284-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]