จังหวัดเกลเดอร์ลันด์
เกลเดอร์ลันด์ | |
---|---|
เพลง: โอนส์แค็ลเดอร์ลันด์ ("เกลเดอร์ลันด์ของพวกเรา") | |
ที่ตั้งของจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ | |
พิกัด: 52°04′N 5°57′E / 52.06°N 5.95°E | |
ประเทศ | เนเธอร์แลนด์ |
เมืองหลัก | อาร์เนม |
เมืองใหญ่สุด | ไนเมเคิน |
การปกครอง | |
• King's Commissioner | เกลเมินส์ กอร์นีลเยอ |
พื้นที่ | |
• พื้นดิน | 4,971.76 ตร.กม. (1,919.61 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 164.75 ตร.กม. (63.61 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 1 |
ประชากร (2009) | |
• พื้นดิน | 1,999,135 คน |
• อันดับ | ที่ 4 |
• ความหนาแน่น | 400 คน/ตร.กม. (1,000 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 6 |
รหัส ISO 3166 | NL-GE |
ศาสนา(1999) | โปรเตสแตนต์ ร้อยละ 31 โรมันคาทอลิก ร้อยละ 29 |
เว็บไซต์ | www.gelderland.nl |
เกลเดอร์ลันด์ (ดัตช์: Gelderland) เป็นจังหวัดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ตอนกลาง-ตะวันออกของประเทศ มีมาตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน เมืองหลักของจังหวัดชื่อเมืองอาร์เนม มีเมืองสำคัญอื่นเช่นเมืองไนเมเคินและอาเพลโดร์นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน จังหวัดเกลเดอร์ลันด์เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีพื้นที่ราว 5,136 ตารางกิโลเมตรโดยมีผืนน้ำ 169 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2,084,478 คนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ตำนานพื้นบ้านเล่าว่า ราว ค.ศ. 878 ขุนนางแห่งพอนต์นามว่า วิชาร์ด และลูโพลด์ ได้ต่อสู้กับมังกรไฟและได้ใช้หอกแทงมังกรร้าย ก่อนมังกรจะสิ้นใจได้ส่งเสียงคำรามเป็นครั้งสุดท้ายซ้ำๆว่า "เกลเรอ เกลเรอ" ขุนนางทั้งสองได้สถาปนาเมืองใหม่ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมครั้งนี้ชื่อ เมืองเกลเดิร์น (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี ใกล้ชายแดนประเทศเนเธอร์แลนด์)[2] เมืองนี้ได้เป็นที่มาของการตั้งชื่อเคานต์เกลเดอร์ส ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ครั้งแรกในบันทึกของเจราร์ดที่ 3 แห่งวาสเซินเบิร์กเมื่อปี ค.ศ. 1096
ต่อมา เคานต์เกลเดอร์สขยายใหญ่ขึ้นจากการผนวกรวมกับเคานต์ซุตเพนผ่านการแต่งงานของขุนนางผู้ครองแคว้น ทำให้เกลเดอร์สมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ตามแถบแม่น้ำไรน์ แม่น้ำวาล แม่น้ำเมิซ และแม่น้ำไอส์เซิล จึงเป็นเคานต์ที่มีความสำคัญในยุคกลาง เป็นแหล่งผลประโยชน์ที่สำคัญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
หลังจากนั้น เคานต์ได้ผนวกรวมกับเมืองไนเมเคิน ยกระดับขึ้นเป็นดัชชีเมื่อปี ค.ศ. 1339 ด้วยการสถาปนาของจักรพรรดิลูทวิชที่ 4 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองยือริช (Jülich) ต่อมาเมื่อดัชชีเบอร์กันดีเรืองอำนาจขึ้นในแถบนี้ ดัชชีเกลเดอร์สกลับไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของเบอร์กันดี แต่ในที่สุดต้องมาตกอยู่ใต้การปกครองของเบอร์กันดีที่ตกเป็นของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 บีบบังคับให้เจ้านครต้องยกเมืองให้เมื่อปี ค.ศ. 1543[3]
ดัชชีเกลเดอร์สเข้าร่วมกับสาธารณรัฐดัตช์ในการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน จนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1648 หลังจากนั้น ถูกพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสยึดครองเป็นระยะเวลาสั้นๆในปี ค.ศ. 1672 และเมืองหลวงของดัชชี คือ เกลเดิร์น ตกเป็นของปรัสเซียในปี ค.ศ. 1713 ต่อมาเมื่อจักรพรรดินโปเลียนยึดครองเนเธอร์แลนด์ในช่วง ค.ศ. 1795 เกลเดอร์สตกเป็นของฝรั่งเศสโดยปริยาย ก่อนที่จะได้รับอิสรภาพอีกครั้งเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสล่มสลายเมื่อจักรพรรดินโปเลียนแพ้สงครามและเนเธอร์แลนด์มีการก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1815 ซึ่งเกลเดอร์สได้กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศนับตั้งแต่นั้น[3]
เนเธอร์แลนด์ถูกเยอรมนียึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงท้ายสงคราม ทหารพลร่มของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ต่อสู้กับทหารนาซี เยอรมนีอย่างดุเดือดที่ยุทธการที่อาร์เนม เป็นช่วงเวลาสำคัญที่นำมาสู่การปลดปล่อยเนเธอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งนี
ภูมิศาสตร์
[แก้]เกลเดอร์ลันด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 54 เทศบาล ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น 4 กลุ่ม (COROP) ได้แก่
- กลุ่มเวลูเวอ (Veluwe)
- อาเพลโดร์น
- บาร์เนเวลด์
- เอเด
- เอลบูร์ก
- เอเป
- แอร์เมโล
- ฮาร์เดอร์ไวค์
- ฮาทเทม
- แฮร์เดอร์
- ไนเคิร์ก
- นุนสเปต
- โอลเดบรูก
- พุทเทิน
- สเคอร์เพ็นเซล
- โฟร์สท์
- วาเคินนิงเงิน
- กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้
- อูเริน
- คูเลมบอร์ก
- เกลเดอร์มาลเซิน
- ลิงเงวาล
- มาสดรีล
- เนเดอร์-เบทูเวอ
- เนไรเนิน
- ทีล
- เวสท์มาสเอ็นวาล
- ซาลท์บอมเมล
- กลุ่มหัวมุม (Achterhoek)
- อาลเทิน
- เบร์กเคลลันด์
- บรงค์โฮรสท์
- บรูมเมิน
- ดูทินเคิม
- โลเคิม
- มงต์แฟร์ลันด์
- โอสท์เกลเรอ
- เอาเดอ ไอส์เซิลสเทร็ก
- วินเทอร์สไวค์
- ซุทเพน
- กลุ่มอาร์เนม-ไนเมเคิน
วัฒนธรรม
[แก้]เกลเดอร์ลันด์มีพิพิธภัณฑ์จำนวนมากตั้งอยู่ภายในตัวจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์อาร์เนม พิพิธภัณฑ์ฟาลค์โฮฟที่ไนเมเคิน พระราชวังเฮทโลที่อาเพลโดร์น นอกจากนี้ยังมีโรงละคร ลานคอนเสิร์ต และสนามฟุตบอลหลายแห่ง
วัฒนธรรม
[แก้]เกลเดอร์ลันด์มีพิพิธภัณฑ์จำนวนมากตั้งอยู่ภายในตัวจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์อาร์เนม พิพิธภัณฑ์ฟาลค์โฮฟที่ไนเมเคิน พระราชวังเฮทโลที่อาเพลโดร์น นอกจากนี้ยังมีโรงละคร ลานคอนเสิร์ต และสนามฟุตบอลหลายแห่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://opendata.cbs.nl/statline/#/CBS/nl/dataset/37230ned/table
- ↑ Geldersche volksalmanak Volumes 21-22; Nijhoff & son; 1855
- ↑ 3.0 3.1 "Gelderland". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.