เกลือสมุทร

เกลือสมุทร เป็นเกลือที่ได้จากการกลายเป็นไอของน้ำทะเล ใช้ในการทำอาหารและเครื่องสำอาง มักมีราคาแพงกว่าเกลือแกง
องค์ประกอบ[แก้]
โดยหลักแล้วน้ำทะเลประกอบด้วยไอออนเกลือต่าง ๆ ดังรายการข้างล่าง ซึ่งเรียงตามสัดส่วนโดยน้ำหนัก[2]
คลอไรด์ (Cl-) | 55.03% |
โซเดียม (Na+) | 30.59% |
ซัลเฟต (SO42-) | 7.68% |
แมกนีเซียม (Mg2+) | 3.68% |
แคลเซียม (Ca2+) | 1.18% |
โพแทสเซียม (K+) | 1.11% |
ไบคาร์บอเนต (HCO3-) | 0.41% |
โบรไมด์ (Br-) | 0.19% |
บอเรต (BO33-) | 0.08% |
สทรอนเตียม (Sr2+) | 0.04% |
อื่น ๆ | 0.01% |
แม้ความเค็มของน้ำทะเลจะแตกต่างกันทั่วโลก สัดส่วนของไอออนดังตารางข้างบนยังค่อนข้างคงที่
สุขภาพ[แก้]
ตามข้อมูลของมาโยคลินิกและศาสตราจารย์ชาวออสเตรเลีย บรูซ นีล ผลกระทบด้านสุขภาพจากการย่อยเกลือสมุทรหรือเกลือแกงทั่วไปนั้นเหมือนกัน[3][4]
ไอโอดีน ซึ่งเป็นธาตุสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์[5] พบปริมาณน้อยเฉพาะในเกลือสมุทรเท่านั้น[6] อย่างไรก็ดี เกลือหิน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วขาดสารประกอบไอโอดีนเมื่อเทียบกับเกลือสมุทร สามารถเติมไอโอดีนได้ในทางอุตสาหกรรมเพื่อการใช้รักษาป้องกันโรคคอพอก และโรคที่เกิดจากการขาดไอโอดีนอื่น ๆ ความเข้มข้นของไอโอดีนในเกลือสมุทรแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ newmedia (2017-03-17). "ท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง : แหล่งผลิตเกลือสมุทรใหญ่ที่สุดในประเทศ จ.เพชรบุรี". สำนักข่าวไทย. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.[ลิงก์เสีย]
- ↑ The chemical composition of seawater
- ↑ Zeratsky, Katherine (27 August 2009). "Is sea salt better for your health than table salt?". Mayoclinic.com. Mayo Foundation for Medical Education and Research. สืบค้นเมื่อ 22 April 2011.
- ↑ Australian Broadcasting Corporation - Health and Wellbeing (23 November 2010) - Rae Fry and Professor Bruce Neal - Retrieved 23 November 2010
- ↑ Fisher, Peter W. F. and Mary L'Abbe. 1980. Iodine in Iodized Table Salt and in Sea Salt. Can. Inst. Food Sci. Technolo. J. Vol. 13. No. 2:103–104. April
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2013-02-14. สืบค้นเมื่อ 2011-10-01.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เกลือสมุทร |