ฮิโรโนบุ ซากางูจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ)
ฮิโรโนบุ ซากางูจิ
ซากางูจิในปีค.ศ. 2015
เกิด (1962-11-25) 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 (61 ปี)
ฮิตาจิ จังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
อาชีพนักออกแบบเกม, ผู้กำกับเกม, ผู้อำนวยการเกม, นักเขียนบท, นักเขียน
ผลงานเด่นไฟนอลแฟนตาซี

ฮิโรโนบุ ซากางูจิ (ญี่ปุ่น: 坂口 博信) เป็นนักออกแบบ, ผู้กำกับ และผู้อำนวยการวีดีโอเกมชาวญี่ปุ่น เขาเป็นผู้สร้างเกมชุดยอดนิยมอย่าง ไฟนอลแฟนตาซี รวมถึงเป็นคนตั้งชื่อเกมนี้ด้วยตนเอง เขาลาออกจากบริษัทสแควร์เอนิกซ์ในปีค.ศ. 2004 และย้ายไปทำงานกับบริษัทมิสต์วอล์กเกอร์

ประวัติ[แก้]

ซากางูจิเกิดที่เมืองฮิตาจิ จังหวัดอิบารากิ เดิมทีเขาต้องการเป็นอาจารย์สอนวิชาดนตรีในมหาวิทยาลัย เขาเคยเล่นดนตรีร่วมกับหลายวง และถึงขนาดเคยไปจองสถานที่สำหรับจัดคอนเสิร์ตเล็กๆเองในช่วงมัธยมปลาย ซึ่งเป็นคนเดินสายขายบัตรด้วยตัวเอง[1] เขาเข้าเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮามะ แต่ในปีค.ศ. 1983 ก็ลาออกกลางเทอม[2]

ในรั้วมหาวิทยาลัย วิชาโปรแกรมมิงทำให้เขาเกิดอยากได้คอมพิวเตอร์ Apple II ที่พึ่งวางจำหน่าย แต่คอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีราคาแพงมากเกินเขาจะเอื้อมถึง ทำให้เขาไปซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นอื่นที่หน้าตาคล้ายๆกันที่ถูกกว่ามาแทน และเขาก็เริ่มหางานพาร์ทไทม์ทำเพื่อหารายได้เสริม และเขาได้งานพาร์ทไทม์ที่บริษัทสแควร์ บริษัทลูกที่ตั้งขึ้นใหม่ของบริษัทไฟฟ้าเด็งยูฉะ[3] แม้เขายังไม่ล้มเลิกความฝันที่อยากเป็นอาจารย์วิชาดนตรี แต่ก็คิดว่าการทำงานที่สแควร์อาจช่วยพัฒนาทักษะโปรแกรมมิงไปพลางๆได้[1]

เมื่อบริษัทสแควร์แยกการดำเนินงานออกมาเป็นเอกเทศเต็มตัวในปีค.ศ. 1986[4] ซากางูจิก็กลายเป็นพนักงานประจำในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายแผนงานและพัฒนา เกมแฟมิคอมหลายๆเกมที่เขารับผิดชอบในช่วงแรกนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เขาเริ่มตั้งคำถามตัวเองว่าเขาเลือกเส้นทางอาชีพถูกหรือไม่ ตัวเองเหมาะสมเป็นนักทำเกมหรือไม่[5][6] เขาจึงเดิมพันอนาคตตัวเองไว้กับแผนเกมสวมบทบาทชื่อว่า Fighting Fantasy เขาคิดว่าถ้าเกมนี้ไม่ประสบความสำเร็จอีกเขาจะลาออกและกลับไปเรียนมหาวิทยาลัย นั่นทำให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเกมนี้เป็น Final Fantasy[6]>[7][8] เกมนี้วางตลาดญีปุ่นในปีค.ศ. 1987 และประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย

ผลงานเกม[แก้]

ปี ชื่อเกม เครื่องเล่น บทบาท ส่วนร่วมอื่น
1984 The Death Trap NEC PC-8801, NEC PC-9801, FM-7 ผู้ออกแบบ
1985 Will: The Death Trap II NEC PC-8801, NEC PC-9801, FM-7 ผู้ออกแบบ
1986 Cruise Chaser Blassty NEC PC-8801, NEC PC-9801, Sharp X1 ผู้ออกแบบ
King's Knight แฟมิคอม ผู้ออกแบบ
1987 3-D WorldRunner แฟมิคอม ผู้ออกแบบ
Rad Racer แฟมิคอม ผู้ออกแบบ
Nakayama Miho no Tokimeki High School แฟมิคอม ผู้ออกแบบ
JJ แฟมิคอม ผู้ออกแบบ
Final Fantasy แฟมิคอม ผู้ออกแบบ
1988 Final Fantasy II แฟมิคอม ผู้กำกับ
1990 Final Fantasy III แฟมิคอม ผู้กำกับ
1991 Final Fantasy IV ซูเปอร์แฟมิคอม ผู้กำกับ
1992 Final Fantasy V ซูเปอร์แฟมิคอม ผู้กำกับ
1993 Romancing SaGa 2 ซูเปอร์แฟมิคอม ผู้อำนวยการผลิต
1994 Final Fantasy VI ซูเปอร์แฟมิคอม โครงเรื่องต้นฉบับ[9] ฝ่ายผลิต
1995 Front Mission ซูเปอร์แฟมิคอม หัวหน้า
Chrono Trigger ซูเปอร์แฟมิคอม ผู้ออกแบบ[10] หัวหน้า
Seiken Densetsu 3 ซูเปอร์แฟมิคอม ส่วนช่วยพิเศษ
Romancing SaGa 3 ซูเปอร์แฟมิคอม ผู้อำนวยการผลิต
1996 Bahamut Lagoon ซูเปอร์แฟมิคอม หัวหน้า
Front Mission: Gun Hazard ซูเปอร์แฟมิคอม หัวหน้า
Super Mario RPG ซูเปอร์แฟมิคอม หัวหน้างานฝ่ายผลิต
Treasure Hunter G ซูเปอร์แฟมิคอม General producer
Tobal No. 1 PlayStation หัวหน้า
1997 Final Fantasy VII PlayStation ผู้ออกแบบ, โครงเรื่องต้นฉบับ ฝ่ายผลิต
Bushido Blade PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Tobal 2 PlayStation หัวหน้า
Final Fantasy Tactics PlayStation ฝ่ายผลิต
Einhänder PlayStation หัวหน้า
1998 Xenogears PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Bushido Blade 2 PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Parasite Eve PlayStation แนวคิด ฝ่ายผลิต
Soukaigi PlayStation หัวหน้า
Brave Fencer Musashi PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Ehrgeiz PlayStation หัวหน้า
Chocobo's Dungeon 2 PlayStation ฝ่ายผลิต
1999 Final Fantasy VIII PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Chocobo Racing PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
SaGa Frontier 2 PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Legend of Mana PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Front Mission 3 PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Chrono Cross PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Parasite Eve 2 PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Chocobo Stallion PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
2000 Vagrant Story PlayStation ผู้อำนวยการผลิต
Driving Emotion Type-S PlayStation 2 ผู้อำนวยการผลิต
Final Fantasy IX PlayStation บทภาพ ฝ่ายผลิต
The Bouncer PlayStation 2 ผู้อำนวยการผลิต
2001 Final Fantasy X PlayStation 2 ผู้อำนวยการผลิต
2002 Kingdom Hearts PlayStation 2 ผู้อำนวยการผลิต
Final Fantasy XI PlayStation 2, Microsoft Windows ผู้อำนวยการผลิต
2003 Final Fantasy Tactics Advance Game Boy Advance ผู้อำนวยการผลิต
Final Fantasy X-2 PlayStation 2 ผู้อำนวยการผลิต
2006 Final Fantasy XII PlayStation 2 ส่วนช่วยพิเศษ
Blue Dragon Xbox 360 บทภาพ, เนื้อเพลง หัวหน้า
2007 ASH: Archaic Sealed Heat Nintendo DS ผู้อำนวยการผลิต
Lost Odyssey Xbox 360 บทภาพ, เนื้อเพลง หัวหน้า
2008 Blue Dragon Plus Nintendo DS บทภาพ
Away: Shuffle Dungeon Nintendo DS บทภาพ
Blue Dragon: Awakened Shadow Nintendo DS บทภาพ Executive director
2011 The Last Story Wii ผู้กำกับ, ผู้ออกแบบ, บทภาพ, เนื้อเพลง
2012 Party Wave iOS, Android ผู้กำกับ, เพลง Surfing
2014 Terra Battle iOS, Android ฝ่ายผลิต
2017 Terra Battle 2 iOS, Android, Microsoft Windows ฝ่ายผลิต
TBA Terra Wars iOS, Android, Microsoft Windows ฝ่ายผลิต
TBA Fantasian iOS ฝ่ายผลิต

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Parkin, Simon (January 2018). "Never-Ending Story: The Untold Legend of the World's Greatest RPG". Edge. 314: 56–91.
  2. Castaneda, Karl (March 5, 2006). "Sin & Redemption 6". Gaming Vision Network. สืบค้นเมื่อ April 14, 2013.
  3. Fujii, Daiji (January 2006). "Entrepreneurial choices of strategic options in Japan's RPG development" (PDF). Faculty of Economics, Okayama University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 8, 2006. สืบค้นเมื่อ April 26, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. Szczepaniak, John. "Before They Were Famouos". Retro Gamer. Imagine Publishing (35): 76.
  5. Gifford, Kevin (2011-12-21). "Hironobu Sakaguchi on Final Fantasy I's Roller-Coaster Development". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2016. สืบค้นเมื่อ 2013-09-02.
  6. 6.0 6.1 Fear, Ed (2007-12-13). "Sakaguchi discusses the development of Final Fantasy". Develop. Intent Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
  7. "『FF』はどのように世界に広がっていったのか? 坂口博信氏と浜村弘一ファミ通グループ代表が"国際日本ゲーム研究カンファレンス"にて語る". Famitsu. 2015-05-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-05-29.
  8. Kohler, Chris (2009-07-23). "Why's It Called 'Final Fantasy'? Uematsu Explains". Wired. สืบค้นเมื่อ 2013-09-02.
  9. "The Making Of... Final Fantasy VI". Edge. Future Publishing (251): 124–127. March 2013.
  10. V-Jump Festival 1994 (VHS tape). Japan: Shueisha. 1994.