อ็องรี ฌีโร
อ็องรี ฌีโร | |
---|---|
ฌีโรในกาซาบล็องกา 19 มกราคม ค.ศ. 1943 | |
ประธานร่วมของคณะกรรมการแห่งการปลดปล่อยชาติฝรั่งเศส (พร้อมกับชาร์ล เดอ โกล) | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มิถุนายน ค.ศ. 1943 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 | |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งนี้ได้รับการจัดตั้ง |
ถัดไป | ตำแหน่งนี้ถูกยกเลิก |
ผู้บัญชาการสูงสุดทางทหารและพลเรือนจากแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสและแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ธันวาคม ค.ศ. 1942 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1943 | |
ก่อนหน้า | ฟร็องซัว ดาร์ล็อง (ฐานะข้าหลวงใหญ่) |
ถัดไป | ตำแหน่งนี้ถูกยกเลิก |
สมาชิกของสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ จากมอแซล | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มิถุนายน ค.ศ. 1946 – 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อ็องรี ออนอเร ฌีโร 18 มกราคม ค.ศ. 1879 ปารีส ฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 11 มีนาคม ค.ศ. 1949 ดีฌง ฝรั่งเศส | (70 ปี)
พรรคการเมือง | พรรคสาธารณรัฐนิยมแห่งเสรีภาพ |
รางวัล | เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเสรี |
สังกัด | กองทัพบกฝรั่งเศส |
ประจำการ | ค.ศ. 1900–1944 |
ยศ | พลเอกทหารบก |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามริฟ สงครามโลกครั้งที่สอง |
อ็องรี ออนอเร ฌีโร (18 มกราคม ค.ศ. 1879 - 11 มีนาคม ค.ศ. 1949) เป็นนายพลชาวฝรั่งเศสและผู้นำของกองกำลังฝรั่งเศสเสรีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งเขาถูกบังคับให้เกษียณใน ค.ศ. 1944
เกิดในครอบครัวชาวอาลซัสในกรุงปารีส จบการศึกษาจากสถาบันวิชาทหารแซ็ง-ซีร์ (Saint-Cyr military academy) และเข้ามาเป็นทหารในแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศส เขาได้รับบาดเจ็บและถูกทหารเยอรมันจับกุมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่สามารถหลบหนีออกจากค่ายเชลยศึกมาได้ ในช่วงระหว่างสงคราม ฌีโรได้เดินทางกลับไปยังแอฟริกาเหนือและเข้าต่อสู้รบในสงครามริฟ ซึ่งทำให้เขาได้รับปูนบำเหน็จด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ฌีโรได้สู้รบในเนเธอร์แลนด์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 เขาถูกทหารเยอรมันจับกุมอีกครั้ง แต่สามารถหลบหนีจากการถูกคุมขังได้สำเร็จอีกครั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1942 ภายหลังจากการวางแผนอย่างรอบคอบเป็นเวลาสองปี จากภายในฝรั่งเศสเขตวีชี เขาทำงานให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างลับ ๆ และได้รับมอบหมายหน้าที่ในบังคับบัญชาการต่อกองกำลังทหารฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือภายหลังปฏิบัติการคบเพลิง (พฤศจิกายน ค.ศ. 1942) ตามมาด้วยการลอบสังหารฟร็องซัว ดาร์ล็อง ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1943 เขาเข้าร่วมในการประชุมกาซาบล็องกาพร้อมกับชาร์ล เดอ โกล, วินสตัน เชอร์ชิล และแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ต่อมาในปีเดียวกัน ฌีโรและเดอ โกล ได้เป็นประธานร่วมของคณะกรรมการแห่งการปลดปล่อยชาติฝรั่งเศส แต่กลับสูญเสียแรงสนับสนุนและลาออกจากตำแหน่งด้วยคับข้องใจในเดือนเมษายน ค.ศ. 1944
หลังสงคราม ฌีโรได้รับเลือกให้เข้าสู่สมัชชาร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สี่ เขาเสียชีวิตในดีฌงใน ค.ศ. 1949