ข้ามไปเนื้อหา

อิเล็กทรอนิก อาตส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อิเล็คโทรนิค อาร์ตส)
อิเล็กทรอนิก อาตส์
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS2855121099 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมวิดีโอเกม, สื่อความบันเทิง
ก่อตั้ง27 พฤษภาคม 1982; 42 ปีก่อน (1982-05-27) ใน ซานมาเทโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ผู้ก่อตั้งTrip Hawkins Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่เรดวูดส์ซิตี รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลักจอห์น ริคคิเทลโล, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ปีเตอร์ มอร์, ประธาน, อีเอ สปอร์ต[2]
รอดท์ ฮัมเบิล, รองประธานบริหาร, ตราการค้าเกม เดอะซิมส์[3]
แลล์รี่ โพรพซ์, ประธานกรรมาธิการ, อดีต ซีอีโอ (พ.ศ. 2534–2550)
ทริป เฮาว์กินซ์, ผู้ก่อตั้ง, อดีต ซีอีโอ (พ.ศ. 2525–2534)
ผลิตภัณฑ์แบทเทิลฟิลด์ ซีรีส์
เบิร์นเอาท์ ซีรีส์
คอมมานด์ & คองเคอร์ ซีรีส์
เดด สเปซ ซีรีส์
ดรากอน เอจ ซีรีส์
ฟีฟ่า ซีรีส์
ไฟท์ ไนท์ ซีรีส์
แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซีรีส์
แมดเดน เอ็นเอฟแอล ซีรีส์
แมสส์ เอฟเฟกต์ ซีรีส์
เมดอล ออฟ ออนเนอร์ ซีรีส์
เอ็นบีเอ ไลฟ์ ซีรีส์
เอ็นซีเอเอ ฟุตบอล ซีรีส์
นีดฟอร์สปีด ซีรีส์
เอ็นเอชแอล ซีรีส์
ร็อก แบนด์ ซีรีส์
ซิมซิตี ซีรีส์
เดอะซิมส์ ซีรีส์
สเกต ซีรีส์
เอสเอสเอ็กซ์ ซีรีส์
รายได้เพิ่มขึ้น US$6.99 พันล้าน[1] (2022)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น US$1.13 พันล้าน[1] (2022)
รายได้สุทธิ
ลดลง US$789 ล้าน[1] (2022)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$13.8 พันล้าน[1] (2022)
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง US$7.63 พันล้าน[1] (2022)
พนักงาน
ป. 12,900[1] (2022)
เว็บไซต์ea.com

อิเล็กทรอนิก อาตส์[2] (อังกฤษ: Electronic Arts) เป็นบริษัทที่ผลิต พัฒนา และจัดจำหน่ายวิดีโอเกม ซอฟต์แวร์ ของ ดาร์วิน นูเญซ เดอะ Goat โดยก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 โดย ทริป เฮาว์กินซ์ อีเอเป็นบริษัทต้น ๆ ของการอุตสาหกรรมการเกม

โดยแรกเริ่ม อีเอเป็นผู้ผลิตพิมพ์จำหน่ายคอมพิวเตอร์เกม หลังจากนั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2523 บริษัทเริ่มทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกมในองค์กร และต่อมามีการเปิดตัวเกมสำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกมในปี พ.ศ. 2533 ต่อมา อีเอมีการเติบโตโดยการได้มาของนักพัฒนาที่มีผลงานความเร็วมากหน้าหลายตา ซึ่งทำให้อีเอเป็นบริษัทการผลิตวิดีโอเกมเพื่อเครื่องเล่นวิดีโอเกมยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก[3]

ในปัจจุบัน นับได้ว่าอีเอประสบความสำเร็จในการผลิตสินค้าในประเภทของเกมกีฬาภายใต้ตราการค้าของ อีเอ สปอร์ต, เกมจากภาพยนตร์ดัง เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ และเกมประเภทระยะยาว เช่น นีดฟอร์สปีด, เมดอลด์ ออฟ ออนเนอร์, เดอะซิมส์, แบทเทิลฟิลด์ ภายหลังมีเกม เบอร์นอท และ คอมมานด์ & คองเคอร์ นอกจากนี้อีเอยังเป็นตัวแทนจำหน่าย ร็อกแบนด์ วิดีโอเกม

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2525–2534

[แก้]

ในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1982 ทริป เฮาว์กินซ์ เตรียมการนัดพบกับ ดอน วาเลนไทน์ แห่ง ซีเควียร์ แคปปิทอล[4]เพื่อสนทนาเรื่องการลงทุนสินทรัพย์ในธุรกิจใหม่ชื่อ อเมซิ่น' ซอฟต์แวร์ วาเลนไทน์ได้สนับสนุนให้เฮาว์กินซ์ลาออกจากการดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารสินค้าการตลอดในบริษัท แอปเปิล (บริษัท) และได้อนุญาตให้เฮาว์กินซ์ใช้พื่นที่สำรองของสำนักงาน ซีเควียร์ แคปปิทอล ในการเริ่มก่อตั้งบริษัท ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1982 ทริป เฮาว์กินซ์ ร่วมก่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการกับการทุ่มเงินในการลงทุนกิจการนี้ประมาณ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เจ็ดเดือนให้หลังในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1982 เฮาว์กินซ์ได้รับเม็ดเงินเป็นจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากบริษัทกองทุนเงินเพื่อกิจการ การลงทุนเช่น ซีเควียร์ แคปปิทอล เป็นต้น

โลโก้ต้นฉบับทรงเรขาคณิตของอิเล็กทรอนิก อาตส์ ใช้ในปี พ.ศ. 2525–2542.

แผนต้นฉบับร่างขึ้นโดยเฮาว์กินซ์เป็นส่วนมากในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2525 ในระวางนั้น เฮาว์กินซ์ได้ว่าจ้างพนักงานสองอัตราคือ เดฟ เอวานส์ และ แพท แมร์ริออท รับตำแหน่งผู้ประกอบการ ซึ่งแผนการตลาดได้ถูกกลั่นกรองอีกครั้งในเดือนกันยายน และตีพิมพ์ใหม่อีกรอบในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนอัตราพนักงานนับได้ 11 คน ในที่นี้รวม ทิม มอทท์ บิง กอร์ดอน, เดวิด เมย์นาร์ด, และ สตีฟ เฮยร์ มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าสำนักงานที่ทาง ซีเควียร์ แคปปิทอลจัดหาให้ ต่อมาบริษัทย้ายสถานที่ใหม่ไปเป็นสำนักงาน ซาน มาติโอ ซึ่งตั้งอยู่ในทัศนียภาพของท่าจอดของสนามบิน ซานฟรานซิสโก ยอดบุคลากรมีอัตราการเติบโตมาขึ้นอย่างรวดเร็วนับได้เฉลี่ย 1983 ในจำนวนนี้รวม ดอน ดากโลว์, ริชาร์ด ฮิลลิแมน, สจ๊วต บอนน์, เดวิด การ์ดเนอร์ และ แนนซี่ ฟองค์

เฮาว์กินซ์ ตัดสินใจที่จะขายตรงสินค้ากับผู้ซื้อและการรวมกลุ่มของบริษัทครั้งนี้คือการบุกเบิกตราสินค้าประเภทเกม ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ยอดการเติบโตพุ่งสูงอย่างเป็นที่หน้าท้าทายของวงการ ในขณะนั้นเม็ดเงินกำไรในปีแรกมีมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีถัดมามียอดกำไรสูงถึง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อดีตประธาน แลล์รี่ โพรพซ์ เข้ามาดำรงในตำแหน่งรองประธานบริษัทในปี พ.ศ. 2507 ซึ่งเขาได้มีส่วนช่วยให้บริษัทมีการเติบโตที่ยั่งยืนและทำเป้าถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลาสามปีเต็มการประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในการทำยอดขายของผู้จัดทำเกมในสหรัฐอเมริกา เวลาถัดมาได้มีการย้ายไปที่สหราชอาณาจักรเพื่อเปิดตัวสำนักงานใหญ่ในทวีปยุโรป โดย เดวิด การ์ดเนอร์ และ มาร์ค ลีวิส กระทั่งถึงจุดที่อีเอแพร่ผลิตภัณฑ์และเกมจำนวนมากผ่านการแปลงเพื่ออัดข้อมูลลงในรูปแบบของตลับเทปคาสเซ็ท ซึ่งมีการดูแลกิจการในทวีปยุโรปโดยบริษัท เอริโอลาซอฟท์ ขณะเดียวกันบริษัทขนาดย่อยในเวลส์ ได้มีการใช้ชื่อ อิเล็กทรอนิก อาตส์ และ อิเล็กทรอนิก อาตส์ ได้รู้จักกันเป็นวงกว้างมากขึ้นอย่างชอบด้วยกฎหมายในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ในชื่อของ อีเอโอ มีต้นแบบมาจากโลโก้ทรงเลขาคณิต ประกอบด้วย สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงกลม และสามเหลี่ยม การยุติการค้าของบริษัทชนชาติเวลส์ในปี พ.ศ. 2540 ต่อมา ซึ่งทำให้ อิเล็กทรอนิก อาตส์ เข้าถือสิทธิ์ของชื่อนี้อย่างถูกต้อง

เฮาว์กินซ์ มีพึงพอใจในการใช้คำว่า อิเล็กทรอนิก และเจ้าพนักงานส่วนมากพิจารณากลุ่มคำ "อิเล็กโทรนิค อาร์ทิส" และ "อิเล็กโทรนิค อาร์ต" ขณะเดียวกันมีกลุ่มคนในบริษัทรวมทั้ง กอร์ดอนแนะนำการใช้ชื่อ "บลู ไลท์" ซึ่งอ้างอิงมาจากภาพยนตร์เรื่อง "ทรอน" ในการตอนที่กอร์ดอนและคนอื่นร่วมกันผลักดันชื่อ "อิเล็กโทรนิค อาร์ทิส" ซึ่งนายสตีฟ เฮยร์ มีอาการต่อต้านพร้อมกับกล่าวว่า "พวกเราไม่ใช่จิตกรหรือศิลปิน มันหมายถึงผู้พัฒนาคนที่อีเอจะเลือกเกมมาออกมาแพร่ตลาด" ซึ่งคำอธิบายนี้ทำให้ทัศนคติของชื่อ อิเล็กทรอนิก อาตส์ เป็นที่เอกฉันท์ในการอนุญาตใช้อย่างเป็นทางการ

พ.ศ. 2534–2555

[แก้]

ปัจจุบันอีเอมีก่อตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เรดวูดส์ ชอรส์ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับ เรดวูดส์ ซิตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย จากการถอนตัวของ ทริป ฮาว์กินซ์ ซึ่ง แลล์รี่ โพรพซ์ เข้ารับตำแหน่งต่อในการการควบคุมและบริหารอยู่ในระดับที่ประสบความสำเร็จ นายโพรพซ์ พิจารณาตัวของเขาเองว่าเป็นผู้ชายที่มีกฎระเบียบในการปฏิบัติ เขาปฏิเสธการทำตามของ บริษัทเทค ทู อินเทอแรคทีฟ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการทำงานร่วมกัน ในการทำเกมชื่อ แกรนด์เธฟต์ออโต ที่จัดอยู่ในประเภท เอ็ม เรท ซึ่งหมายถึงประเภทของเกมที่ไม่เหมาะสมกับผู้มีอายุต่ำกว่าสิบเจ็ดปี ซึ่งประกอบไปด้วยภาพ เสียงและข้อมูลที่รุนแรงและอาจจะปะปนเรื่องของเพศ ต่อมาแกรนด์เธฟต์ออโตกลายเป็นเกมที่มีอำนาจครอบงำต่อสถิประชากรจำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึง 2546 ผลที่ตามมาคือ นาย โพรบส์ ออกมาวิจารณ์อย่างหนักกับนักวิเคราะห์ของ วอล์ลสตรีท คนที่เชื่อว่าเป็นเพราะนโยบายนี้ หลักทรัพย์ของบริษัทอีเอจึงมียอดราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ต่อมาในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 อีเลคโทรนิค อาร์ต ตีพิมพ์เอกสารแสดงผลกำไรที่ออกมาว่ากล่าวเรื่องการขาดแคลนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการขายสินค้าได้ต่ำกว่าเป้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Electronic Arts (EA) Annual Report for the fiscal year ended March 31, 2022 (Form 10-K)". U.S. Securities and Exchange Commission. May 25, 2022.
  2. สะกดตาม [1]
  3. http://www.computerandvideogames.com/article.php?id=214329
  4. "Electronic Arts entry". Sequoiacap.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]