เดอะซิมส์ (ชุดวิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกมชุดเดอะซิมส์)
เดอะซิมส์
สัญลักษณ์ของเกมชุด เดอะซิมส์ (2557–ปัจจุบัน)
ประเภทจำลองสถานการณ์ชีวิต
ผู้พัฒนาแมกซิส (พ.ศ. 2543–พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2556–)
เดอะซิมส์สตูดิโอ (พ.ศ. 2549–)
ผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิก อาตส์
ผู้จัดสร้างวิลล์ ไรต์
ระบบปฏิบัติการหลากหลาย
ลงครั้งแรกบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์
วางจำหน่ายครั้งแรกเดอะซิมส์
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
จำหน่ายครั้งล่าสุดเดอะซิมส์ 4: คอตเทจลีฟวิง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ภาคแยกSee below

เดอะซิมส์ (อังกฤษ: The Sims) เป็นหนึ่งในชุดวิดีโอเกมที่พัฒนาโดยแม็กซิส และจัดจำหน่ายโดยอิเลคโทรนิค อาร์ต เดอะซิมส์เป็นหนึ่งในชุดวิดีโอเกมที่ประสบความสำเร็จตลอดกาล โดยเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 มีการรายงานว่าชุดเกม เดอะซิมส์ มียอดขายมากกว่า 100 ล้านชุด[1] และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ชุดเกม เดอะซิมส์ ได้ชื่อว่าเป็นชุดเกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดเกมหนึ่งในประวัติศาสตร์[2]

โลกของเดอะซิมส์เป็นโลกแห่งจินตนาการที่ดำเนินอยู่ภายในเกม ผู้เล่นจะต้องควบคุมซิมส์คนหนึ่งหรือครอบครัวซิมส์ครอบครัวหนึ่ง และมีหน้าที่ตัดสินใจหรือสั่งการให้ตัวละครที่เราควบคุมอยู่ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ โดยมีหลักการว่า คำสั่งที่เราป้อนให้ตัวละครชาวซิมส์นั้น ควรจะเป็นคำสั่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของชาวซิมส์ในขณะนั้นมากที่สุดและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด ผู้เล่นจะต้องช่วยให้ตัวละครที่ตนเองควบคุมสามารถดำเนินชีวิตในโลกของพวกเขาได้อย่างปกติสุข นอกจากตัวเกมภาคหลักแต่ละภาคยังมีภาคเสริมอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายในการเล่นตามมาอีกมากมาย

ประวัติ[แก้]

จากรูปคือเกมทั้งหมดในเกมชุดเดอะซิมส์

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ได้ประกาศอย่างเป็นเป็นทางการว่าเกมชุด เดอะซิมส์ ถูกจำหน่ายไปมากกว่า 52 ประเทศ[3] และเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เกมชุดเดอะซิมส์ทำลายสถิติด้วยการจำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านชุด[1] และได้ชื่อว่าเป็นชุดเกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดเกมหนึ่งในประวัติศาสตร์[2]

ชุดเกมหลัก[แก้]

เดอะซิมส์[แก้]

เดอะซิมส์ (อังกฤษ: The Sims) เป็นเกมแรกในตระกูลเดอะซิมส์ เดิมวางจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 มีภาคเสริมทั้งหมด 7 ภาค (รวมกับตัวหลักแล้วมีทั้งหมด 8 ภาค) ซึ่งภาคเสริมเหล่านี้ถูกนำไปจัดรวมเป็นกล่องเดียวกับภาคหลัก หรือภาคเสริมด้วยกันในหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการผลิตในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น เพลย์สเตชัน 2, เกมบอย แอดวานซ์ ฯลฯ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545 มีรายงานว่าเกมเดอะซิมส์มียอดจำหน่ายไปมากกว่า 6.3 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก และยังเป็น เกมคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประวัติศาสตร์ แซงหน้าเกมมิสท์ที่มียอดจำหน่ายเท่ากันในเวลานั้นอีกด้วย[4]

เดอะซิมส์ 2[แก้]

แม็กซิสได้จำหน่ายเกม The Sims 2 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2547 . โดยภาพของเกมนี้จะใช้กราฟิก 3D ช่วยทำให้เกมดูน่าเล่นขึ้นกว่าเดิม โดยสิ่งที่เพิ่มเข้ามาจากเดอะซิมส์ตัวก่อนก็คือ ชาวซิมส์มีวิวัฒนาการ 6 ช่วงอายุ คือ ทารก วัยเด็กหัดเดิน วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา (ในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน มีช่วงอายุวัยมหาลัยเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเฉพาะชาวซิมส์ที่เข้ามหาวิทยาลัย) ชาวซิมส์จะเสียชีวิตเองเมื่ออายุขัยในวัยชรา ซึ่งช่วงอายุขัยในวัยชรากำหนดโดยค่าคะแนนปณิธานตอนเริ่มแรกที่ย่างเข้าสู่วัยชรา และตัวเกมยังมีระบบ "แบบสัปดาห์" ทำให้เด็กๆได้อยู่ที่บ้านหลังจากกลับจากโรงเรียน และยังมี "วันหยุดพักผ่อน" สามารถหยุดงานแล้วไม่มีผลกระทบใดๆจากงานที่ทำ อีกทั้งยังมี "แถบระดับปณิธาน" ชาว ซิมส์แต่ละคนมีความปรารถนาและความกลัวที่สอดคล้องกับปณิธาน ช่วงวัยของเขาและเหตุการณ์ปัจจุบัน เมื่อความปรารถนาบรรลุผล ระดับคะแนนปณิธานจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าสิ่งที่กลัวเป็นจริง ระดับคะแนนปณิธานจะลดลง และยังมี "รางวัลปณิธาน" คุณสามารถซื้อได้โดยใช้ "คะแนนปณิธาน" โดยคะแนนปณิธาณจะได้จากความปรารถนาที่บรรลุผลเท่านั้น หากสิ่งที่กลัวนั้นเป็นจริง คะแนนปณิธานจะลดลง.

โดยในเกม เดอะซิมส์ 2 นั้นจะข้ามเวลาไปเมื่อ 25 ปีหลังจากตัวเกมเดอะซิมส์ อย่างเช่นครอบครัวโกธได้มีปริศนาการหายตัวไปอย่างลึกลับของเบลล่า โกธในช่วงระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากตัวเกมได้เปลี่ยนรูปแบบจากสไปรต์ 2 มิติไปเป็นรูปแบบสามมิติ เดอะซิมส์ 2 จึงได้มีการทำให้คอนเทนต์ต่างๆสูงขึ้นจากพื้นดิน เนื่องจากเดอะซิมส์ 2 ไม่ได้ทำให้มีความเข้ากันได้กับรุ่นแรกของชุดเกมหลัก อย่างไรก็ตามวัตถุและคุณสมบัติบางอย่างได้ทำซ้ำหรือทำขึ้นมาใหม่สำหรับภาคต่อภาคนี้

เพราะหน้าตาและละแวกเพื่อนบ้านสามารถเลือกได้มากยิ่งขึ้น, อีกทั้งภาคนี้มีทั้งภาคเสริม 8 ภาค และชุดไอเท็มเสริมอีก 9 ภาค (รวมกับตัวหลักแล้ว) ทั้งหมดมี 18 ภาค

เดอะซิมส์ 3[แก้]

เดอะซิมส์ 3 นั้นทางอีเอได้ประกาศอย่างเป็นการแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549. มีวางจำหน่ายไปทั่วโลกและจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอล ดาวน์โหลด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 [5] การผลิตของ เดอะซิมส์ 3 นั้นเริ่มต้นหลังจากที่ เดอะซิมส์ 2จำหน่ายไปได้ 2 ปีกว่า โดยตัวเกมนั้นจะถูกย้อนไปเมื่อ 25 ปีก่อนจากตัวเกมเดอะซิมส์, โดยเกมนี้ได้เปิดโอกาสให้สามารถเดินไปไหนต่อไหนได้โดยที่ไม่รอยต่อ และได้ปรับปรุงหน้าจอผู้ใช้ ซึ่งในภาคสามนี้จะมีภาคเสริมอื่นๆอีกในอนาคต

ภาคเสริมตัวแรกของเดอะซิมส์ 3 มีชื่อว่า เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ซึ่งพัฒนาโดย The Sims Division ได้วางจำหน่ายแล้ว รวมถึงชุดไอเท็มเสริม ไฮ-เอนด์ ลอฟท์ ซึ่งเป็นชุดไอเท็มเสริมที่ครบรอบ 10 ปี เกมเดอะซิมส์ ได้แถมไอเท็มจากเดอะซิมส์ และเดอะซิมส์ 2 ได้วางจำหน่ายแล้ว และภาคเสริมล่าสุดคือ เดอะซิมส์ 3 แอมบิชันส์ และนอกจากนี้ยังมีสิ่งของเพิ่มเติมให้ดาวน์โหลดอีกใน The Sims 3 Store

เดอะซิมส์ 4[แก้]

จากข้อมูลของเว็บไซต์หลักอย่างเป็นทางการของเดอะซิมส์ เดอะซิมส์4 นี้ได้เปิดเผยภาพแล้วและจะทำการเปิดตัวในปี 2014 [6]

ชุดเกมที่นอกเหนือจากนี้[แก้]

เดอะซิมส์ ออนไลน์[แก้]

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ทางแม็กซิสได้จำหน่ายเกม เดอะซิมส์ ออนไลน์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อีเอ แลนด์, ซึ่งดัดแปลงมาจากเกมเดอะซิมส์ที่ ได้รับความนิยมอย่างสูง ผู้ใช้ต้องเสียค่าสมาชิกรายเดือน เนื่องจากการเล่นแบบออนไลด์ยังมีค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่มีผู้เล่นมากนักโครงการ ถูก EA ปรับปรุงในชื่อ EA-Land และเปิดให้บริการในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องเสียค่าสมาชิกรายเดือน แต่ผู้เล่นจะต้องจ่ายเงินจริงสำหรับซื้อเงินในเกม (หน่วยเงินเป็นซิโมลีน) และผู้เล่นสามารถเปลี่ยนเงินในเกมเป็นเงินจริงได้ แต่เมื่อถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 อีเอแลนด์ จึงปิดเซิร์ฟเวอร์เกมนี้ไป. เป็นผลมาจากยอดผู้เล่นที่น้อยจนเกินไป ไม่ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงไม่ได้รับความนิยม

มายซิมส์[แก้]

มายซิมส์ เป็นหนึ่งในเกมชุด เกมคอนโซล ตัวเกมนี้ผลิตโดย อีเอ จำหน่ายในรูปแบบเครื่องเล่น Wii และ Nintendo DS. โดยตัวละครจะคล้ายๆ Chibi (หรือตัวการ์ตูนญี่ปุ่นตัวเล็กๆ) (จะคล้ายกับเครื่องเล่น Wii ที่ใช้ Mii อวตารเป็นหลัก). เป็นเกมชุดตัวแรกที่แยกจากเดอะซิมส์ วางจำหน่ายเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2550. (ในประเทศไทย มายซิมส์จะมีจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบ พีซี เท่านั้น)

เดอะซิมส์ สตอรี่[แก้]

เดอะซิมส์ สตอรี่ เป็นเกมในตระกูล "เดอะซิมส์", ถอดแบบมาจากเดอะซิมส์ 2, และสามารถเล่นบน โน้ตบุ๊คได้, เกมนี้ยังมีความต้องการของระบบเหมือนเดอะซิมส์ 2เช่นเดิม, แต่ถ้าคุณเล่นบน เดสก์ท็อป. จะมีเพียงโหมดเดียว แต่ถ้าคุณเล่นบนโนัตบุ๊ค จะมีโหมดหยุดอัตโนมัติ ในเวลาที่คุณปิดฝาจอโน้ตบุ๊ค ตัวเกมจะหยุดชั่วคราว แล้วก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกครั้งเมื่อเปิดฝาจอโน้ตบุ๊ค[7] ในตอนนี้, ทั้งสามเกมได้จัดจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว.[8]

เดอะซิมส์ คานิวอล[แก้]

เดอะซิมส์ เมดิวัล[แก้]

ชุดเกมสำหรับคอนโซลและเครื่องเล่นพกพา[แก้]

ยุค เดอะซิมส์[แก้]

เดอะซิมส์เป็นเกมแรกที่ลงบนเครื่องคอนโซล ซึ่งใช้ชื่อเดียวกับเกมภาคหลักที่ลงบนเครื่องพีซี

เดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์ เป็นหนึ่งในเกมชุดคอนโซล เดอะซิมส์ เดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์ จำหน่ายในรูปแบบ เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์, นิทเทนโด เกมคิวบ์, เกมบอย แอดวานซ์ และ เอ็น-เกจ จำหน่ายในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2546. ดังนั้นในเกมนี้ ชาวซิมส์สามารถออกจากบ้านแล้วมาพื้นที่ต่างๆในเกมได้อย่างเช่น Shiny Things Lab หรือ Casa Caliente. ตัวเกมจะมีสองโหมดคือ Bust Out Mode คุณจะต้องเล่นตามภารกิจในเกมเพื่อปลดล็อกสิ่งของต่างๆ และโหมด Freeplay นั้น เปิดโอกาสให้คุณเล่นและดูแลชีวิตเหมือนในเกม เดอะซิมส์ ในรูปแบบพีซี. ตัวเกมดังกล่าวไม่ทำในรูปแบบพีซี เพราะตัวเกมส่วนใหญ่มาจากเดอะซิมส์ตัวหลัก ตัวเกมนี้จึงเหมาะสมกับ เดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์ นอกเสียจาก ความตั้งใจที่จะให้ชาวซิมส์ได้เลื่อนขั้นและทำให้สำเร็จตามเป้าหมายในเกม. ในเพลย์สเตชัน 2 มีระบบออนไลน์ให้เลือกเล่นได้, อย่างไรก็ตามทางอีเอ จะไม่มีการสนับสนุนเกมเดอะซิมส์ บัสติน' เอ้าท์อีกต่อไป

เดอะเอิร์บ  : ซิมส์ อิน เดอะ ซิตี ตัวเกมจะอยู่ในเมือง, น่าจะเป็นเมืองซิมซิตี. ผู้เล่นจะต้องทำให้ตัวเองมีชื่อเสียงและทำให้ตัวเองโดดเด่นให้ได้. ตัวเกมนี้จำหน่ายในรูปแบบของ เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์, นินเทนโด ดีเอส, นิทเทนโด เกมคิวบ์ และ เกมบอย แอดวานซ์. อีกทั้งยังให้นักร้องวง The Black Eyed Peas เป็นตัวละคร NPC อีกด้วย.

ยุค เดอะซิมส์ 2[แก้]

เดอะซิมส์ 2, เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน, และ เดอะซิมส์ 2 โดดเดี่ยวสตอรี่ ทั้งสามเกมได้ปล่อยลงบนเครื่องคอนโซลรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นินเทนโด วี, เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์ 360 และ นินเทนโด ดีเอส สำหรับเกม เดอะซิมส์ 2 อพาร์ตเมนต์ เพ็ทส์, เป็นภาคต่อจาก เดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วน ซึ่งได้ปล่อยลงบนเครื่อง นินเทนโด ดีเอส เท่านั้น

ยุค เดอะซิมส์ 3[แก้]

เดอะซิมส์ 3 และ เดอะซิมส์ 3 เวิลด์ แอดเวนเจอร์ส ได้เปิดตัวแล้วบนเครื่อง ไอโฟน และ ไอพอดทัช ส่วนเกมเดอะซิมส์ 3 บนเครื่อง นินเทนโด วี, เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 และ นินเทนโด ดีเอส กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเกม

ยุค เดอะซิมส์ 4[แก้]

อิเลคโทรนิค อาร์ต ได้ประกาศเปิด เดอะซิมส์ รุ่นที่ 4 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2556[9] ช่วงแรกที่ได้มีการประกาศนั้น มีเพียงแต่ข้อมูลเพียงเล็กน้อย รวมถึงตราสัญลักษณ์ในเกม รูปแบบบางส่วน และตัวอย่างวิดีโอการเล่น โดยเผยแพร่บน YouTube เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2557 ได้มีประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกม โดยประกาศวันจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน 2557 ในงาน E3 2014 เดือนตุลาคมหลังได้มีการจำหน่าย เดอะซิมส์ 4 ทีมงานก็ได้มีการประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพทช์ใหม่ที่สามารถอัปเดตได้ฟรีจาก Origin โดยมีส่วนเสริมพิเศษที่ถูกตัดออกไปในภาคนี้ เช่นระบบการตายของซิมส์ สระน้ำ และอาชีพใหม่ ในเดือนธันวาคม ภายในปีเดียวกันก็ได้ประกาศตัวชุดเกมเสริม (Game Pack) ใหม่สำหรับเดอะซิมส์ 4 ในชื่อ เอาต์ดอร์รีทรีต (Outdoor Retreat) สามารถซื้อได้ในแบบดิจิตอลเท่านั้น[10] และได้จำหน่ายในเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558

ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศภาคเสริมตัวแรกในชื่อ เดอะซิมส์ 4 เก็ตทูเวิร์ค (Get to Work)[11] โดยผู้เล่นที่มีภาคเสริมชุดนี้ จะสามารถพาซิมส์ไปทำงานได้ในที่ทำงานจริง โดยมีอาชีพที่เพิ่มมาใหม่คือ แพทย์, นักสืบ, นักวิทยาศาสตร์ และผู้ประกอบการธุรกิจ ที่สามารถเปิดธุรกิจได้แบบของตนเอง อีกทั้งมีระบบการเจ็บป่วยของซิมส์[12]ที่เพิ่มมาในภาคเสริมนี้อีกด้วย

รางวัลแห่งความสำเร็จ[แก้]

รางวัลแห่งความสำเร็จที่ เดอะซิมส์ เป็นเกมที่ได้รางวัล Guinness World Records awarding ติดต่อมาถึง 5 สมัย และยังได้รางวัล Guinness World Records: Gamer's Edition 2008 อีกด้วย รวมถึงรางวัล "World's Biggest-Selling Simulation Series"(เกมแนวจำลองชีวิตที่ขายดีที่สุดในโลก) และยังได้รางวัล "Best Selling PC Game of All Time"(เกมคอมพิวเตอร์ที่ขายดีตลอดกาล) สำหรับเดอะซิมส์ 1 ตัวหลัก สามารถขายได้ 16 ล้าน ก๊อปปี้ และก็สามารถขายได้ทั้งหมด (เมื่อรวมเดอะซิมส์และเดอะซิมส์ 2 ทั้งภาคเสริมและตัวหลักแล้ว) 100 ล้านก๊อปปี้

อนาคตของเดอะซิมส์[แก้]

กว่าระยะเวลา 5 ปี ที่ The Sims 3 ออกมาให้พวกเราได้เล่นกันพร้อมกับ DLC หรือภาคเสริมที่ทยอยออกมาให้เล่นกันเรื่อยๆ แบบซื้อแทบไม่ทัน มาวันนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ The Sims 4 จะคลอดออกมาให้พวกเราได้สนุกไปกับชาวซิมส์ในภาคใหม่ที่ได้รับการปรุงแต่งให้น่าสนใจและดูสมจริงมากยิ่งขึ้นกันบ้าง แต่เชื่อเถอะว่าเดี๋ยวก็มีภาคเสริมตามออกมาขายเป็นขบวนรถไฟเหมือนเดิม!!ในอนาคตคาดว่าจะมีเกม The Sim 5,6,7...ๆลๆ มีไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ผลิตจะเลิกทำ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Sims Celebrates 100 Million Sold Worldwide" (PDF) (Press release). Electronic Arts. 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  2. 2.0 2.1 "IGN: The Sims 3 Set for Global Launch in 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  3. "The Sims Franchise Celebrates Its Fifth Anniversary and Continues to Break Records". TMC Net. 2005-02-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-19.
  4. Walker, Trey (2002-03-22). "The Sims overtakes Myst". GameSpot. CNET Networks. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
  6. http://thesims.com/en_US/thesims4เก็บถาวร 2013-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "About - The Sims Stories". The Sims 2 (EA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
  8. "About The Sims Stories: Coming Winter 2008". Yahoo! Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-03. สืบค้นเมื่อ 2007-10-31.
  9. "Maxis Unveils The Sims 4". EA News. May 6, 2013. สืบค้นเมื่อ December 3, 2013.
  10. "Just what Is a Game Pack?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-27. สืบค้นเมื่อ December 19, 2014.
  11. http://simsvip.com/2015/02/04/the-sims-4-get-to-work-expansion-pack-trailer-released/
  12. "Your Sim, M.D." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]