ข้ามไปเนื้อหา

อิสมาอีล ฮะนียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสมาอีล ฮะนียะฮ์
إسماعيل هنية
ฮะนียะฮ์ใน ค.ศ. 2022
นายกรัฐมนตรีองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม ค.ศ. 2006 – 2 มิถุนายน ค.ศ. 2014
พิพาทตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2007[a]
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้าอะห์มัด กุเรียะอ์
ถัดไปรอมี ฮัมดัลลอฮ์
ประธานสำนักการเมืองฮะมาส
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2024
รองศอเลียะห์ อัลอารูรี[1]
(2017–2024)
ก่อนหน้าคอลิด มัชอัล
ถัดไปTBD
หัวหน้าฮะมาสในฉนวนกาซา
ดำรงตำแหน่ง
2 มิถุนายน ค.ศ. 2014 – 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017
ผู้นำคอลิด มัชอัล
ถัดไปยะห์ยา ซินวาร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 1962/1963
ค่ายผู้ลี้ภัยอัชชาฏี ฉนวนกาซาภายใต้การยึดครองของอียิปต์
เสียชีวิต (อายุ 62)
เตหะราน ประเทศอิหร่าน
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
เชื้อชาติปาเลสไตน์
พรรคการเมืองฮะมาส
บุตร13 คน[b]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิสลามกาซา (BA)

อิสมาอีล ฮะนียะฮ์ (อาหรับ: إسماعيل هنية, อักษรโรมัน: Ismaʻīl Haniyya, ออกเสียง; ค.ศ. 1962/1963 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2024) เป็นนักการเมืองชาวปาเลสไตน์ที่เป็นผู้นำทางการเมืองของฮะมาส องค์กรที่ปกครองฉนวนกาซาตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ที่ทางอิสราเอล สหรัฐ และประเทศอื่น ๆ จัดให้เป็นองค์กรก่อการร้าย[2] เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในประเทศกาตาร์ตั้งแต่ ค.ศ. 2017 จนกระทั่งถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 2024[3]

ฮะนียะฮ์เกิดที่ค่ายผู้ลี้ภัยอัชชาฏีเมื่อช่วง ค.ศ. 1962 หรือ 1963 ในฉนวนกาซาที่อียิปต์ควบคุมในขณะนั้น[4][5][6][7] จากพ่อแม่ที่ถูกขับไล่หรือหนีจากอัชเกล็อนในช่วงสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1948 เขาได้รับปริญญาตรีสาขาวรรณกรรมอาหรับใน ค.ศ. 1987 จากมหาวิทยาลัยอิสลามกาซา[8][9] ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาเริ่มมีส่วนกับฮะมาสครั้งแรกหลังจากกลุ่มนั้นก่อตั้งขึ้นในช่วงอินติฟาเฎาะฮ์ครั้งแรกต่อการครอบครองของอิสราเอล ทำให้เขาถูกจำคุกหลังเข้าร่วมการชุมนมถึงสามครั้งสั้น ๆ หลังได้รับการปล่อยตัวใน ค.ศ. 1992 เขาลี้ภัยไปเลบานอน ปีถัดมาจึงกลับมาเป็นคณบดีมหาวิทยาลัยอิสลามกาซา ฮะนียะฮ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสำนักงานฮะมาสใน ค.ศ. 1997 และต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นตามตำแหน่งขององค์กร[10]

ฮะนียะฮ์เป็นหัวหน้าในรายชื่อสมาชิกฮะมาสที่ชนะการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของปาเลสไตน์ใน ค.ศ. 2006 ที่หาเสียงในด้านการต่อต้านด้วยอาวุธและการก่อการร้ายต่ออิสราเอล และกลายเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตาม มะห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธฮะนียะฮ์จากการดำรงตำแหน่งในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เนื่องด้วยความขัดแย้งฟะตะห์–ฮะมาสในขณะนั้น ฮะนียะฮ์ไม่ยอมรับคำสั่งของอับบาสและยังคงใช้สิทธิอำนาจของนายกรัฐมนตรีในฉนวนกาซาต่อไป[11] ฮะนียะฮ์เป็นหัวหน้าฮะมาสในฉนวนกาซาเมื่อ ค.ศ. 2006 จนถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 ที่แทนที่ด้วยยะห์ยา ซินวาร ฮะนียะฮ์ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีแนวคิดรอบรู้และเป็นกลางที่สุดคนหนึ่งในกลุ่มฮะมาส[12]

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ฮะนียะฮ์ได้รับเลือกเป็นประธานสำนักการเมืองฮะมาสแทนที่คอลิด มัชอัล ในเวลานั้น ฮะนียะฮ์ย้ายที่อยู่จากฉนวนกาซาไปยังกาตาร์[13][14] ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ฮะมาสทำการโจมตีอิสราเอลในวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเขาฉลองที่โดฮา[15] หลังการโจมตีของฮะมาสในช่วงปลาย ค.ศ. 2023 ทางอิสราเอลประกาศเจตจำนงสังหารผู้นำฮะมาสทั้งหมด[15] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 การิม ข่าน อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ประกาศเจตนารมณ์ที่จะทำการออกหมายจับฮะนียะฮ์และผู้นำฮะมาสคนอื่น ๆ ฐานอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนในปาเลสไตน์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ[16][17][18] ในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 ฮะนียะฮ์ถูกลอบสังหารในที่พำนักที่เตหะราน เพื่อไปชมพิธีเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีีคนใหม่[19][6]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

อิสมาอีล อับดุสซะลาม อะห์มัด ฮะนียะฮ์เกิดในครอบครัวมุสลิมชาวปาเลสไตน์ที่ค่ายผู้ลี้ภัยอัชชาฏีบริเวณฉนวนกาซาที่อียิปต์ยึดครอง[20] พ่อแม่ของเขาถูกขับไล่หรือหนีจากอัชเกล็อนในช่วงสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่อิสราเอลก่อตั้งขึ้นในขณะนั้น[8] ตอนวัยเด็ก เขาทำงานที่อิสราเอลเพื่อช่วยเหลือครอบครัว[21] เขาเข้าเรียนในโรงเรียนที่สหประชาชาติดำเนินการและจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิสลามกาซาด้วยปริญญาตรีสาขาวรรณกรรมอาหรับใน ค.ศ. 1987[8][9] โดยเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับฮะมาสตอนที่เรียนในมหาวิทยาลัย[8] เขาเคยเป็นหัวหน้าสภานักศึกษาที่เป็นตัวแทนอิควานัลมุสลิมีนใน ค.ศ. 1985 ถึง 1986[9] เขาจบการศึกษาประมาณช่วงที่เกิดอินติฟาเฎาะฮ์ครั้งแรกต่อการครอบครองของอิสราเอล ซึ่งเป็นช่วงที่เขาเข้าร่วมประท้วงต่อต้านอิสราเอล[8]

การเคลื่อนไหวช่วงต้น

[แก้]

มุมมอง

[แก้]

ฮะนียะฮ์ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีแนวคิดรอบรู้และเป็นกลางที่สุดคนหนึ่งในกลุ่มฮะมาส[12]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เสียชีวิต

[แก้]

ณ วันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 ฮะนียะฮ์ถูกลอบสังหารที่เตหะราน ซึ่งเขาจะเดินทางไปพบกับแมสอูด เพเซชคียอน ประธานาธิบดีอิหร่านคนใหม่[22] ฮะมาสกล่าวว่าเขากับบอดีการ์ดคนหนึ่งถูกฆ่าโดยการโจมตีทางอากาศของ "พวกไซออนนิสต์" ที่บ้านพัก[23][24] ตอนนั้นเขามีอายุ 62 ปี เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า ฮะนียะฮ์ถูกลอบสังหารโดยใช้ระเบิดที่จุดชนวนจากระยะไกลที่ซ่อนไว้ในห้องพักเกสต์เฮาส์ของเขาเมื่อสองเดือนก่อน เมื่อได้รับการยืนยันว่าเขาอยู่ในนั้น จึงจุดระเบิดขึ้น[25]

มีการทำพิธีศพแก่ฮะนียะฮ์ที่เตหะรานในวันที่ 1 สิงหาคม โดยมีแอลี ฆอเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน เป็นผู้นำละหมาด ส่วนที่หลงเหลือของฮะนียะฮ์จะถูกนำไปฝังที่โดฮา ประเทศกาตาร์[26]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ฮะนียะฮ์ถูกอับบาสปฏิเสธในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ซึ่งเขาแต่งตั้งฟัยยาดแทน สภานิติบัญญัติที่ยังคงรับรองฮะนียะฮ์มองว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดยองค์การบริหารปาเลสไตน์ปกครองเวสต์แบงก์ ส่วนฮะมาสปกครองฉนวนกาซา จากนั้นมีการจัดตั้งรัฐบาลรวมใน ค.ศ. 2014
  2. เสียชีวิต 3 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Hamas appoints West Bank terror chief as its deputy leader". The Times of Israel. 5 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  2. Alshawabkeh, Lina (17 October 2023). "Who are the leaders of Hamas?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2024.
  3. "Ismail Haniyeh". Counter Extremism Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2023. สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.
  4. Vinall, Frances (31 July 2024). "What to know about Ismail Haniyeh, the Hamas leader killed in Iran". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2024. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024. Haniyeh was born in January 1963, according to the Hamas media office [...]
  5. "Ismail Haniyeh". Encyclopædia Britannica. 31 July 2024. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024. born 1962?
  6. 6.0 6.1 Livni, Ephrat; Abdulrahim, Raja (31 July 2024). "Ismail Haniyeh, a Top Hamas Leader, Is Dead at 62". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2024. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024. Mr. Haniyeh was born in 1962 [...]
  7. Fischbach, Michael R. "Haniyeh, Ismail". encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024. Haniyeh was born in 1962 (some sources say January 1963) [...]
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Profile: Hamas PM Ismail Haniya". BBC. 14 December 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2021. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  9. 9.0 9.1 9.2 Macintyre, Donald (3 January 2009). "Hamas PM Ismail Haniyeh at war with Israel – and his own rivals". Belfast Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2022. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  10. "Who was Ismail Haniyeh, the Hamas political leader killed in Tehran?". CNN.
  11. "Abbas sacks Hamas-led government". BBC News. 14 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2007. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  12. 12.0 12.1 "Tough-talking Haniyeh was seen as the more moderate face of Hamas". Reuters. 31 July 2024. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024.
  13. "Ex-Gaza leader Haniyeh reportedly to replace Mashaal as Hamas head". The Times of Israel. 5 September 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2023. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  14. Akram, Fares (7 May 2017). "Hamas says Ismail Haniyeh chosen as Islamic group's leader". Yahoo News. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2017. สืบค้นเมื่อ 7 May 2017.
  15. 15.0 15.1 Rothwell, James; Shamalakh, Siham (8 October 2023). "Ismael Haniyeh profile: Hamas leader who cheered Oct 7 and led ceasefire negotiations". The Telegraph. ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024.
  16. Khan, Karim A.A. (20 May 2024). "Statement of ICC Prosecutor Karim A.A. Khan KC: Applications for arrest warrants in the situation in the State of Palestine". icc-cpi.int. International Criminal Court. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2024. สืบค้นเมื่อ 20 May 2024.
  17. Ray, Siladitya (20 May 2024). "ICC Seeks Arrest Warrants For Benjamin Netanyahu And Hamas Leader Yahya Sinwar". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  18. Kottasová, Ivana (20 May 2024). "EXCLUSIVE: ICC seeks arrest warrants against Sinwar and Netanyahu for war crimes over October 7 attack and Gaza war". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2024. สืบค้นเมื่อ 20 May 2024.
  19. "Hamas leader Ismail Haniyeh killed in raid on Iran residence, says Palestinian group". The Guardian. 31 July 2024. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024.
  20. "Profile: Ismail Haniya, Hamas' political chief". Al Jazeera. 9 May 2017. สืบค้นเมื่อ 5 June 2024.
  21. "Legitimacy of Israel's War on Hamas Undermined by Civilian Toll". Diplomacy in Ireland - The European Diplomat. 13 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2024. สืบค้นเมื่อ 1 May 2024.
  22. "Hamas's political chief Ismail Haniyeh assassinated in Iran". Al Jazeera. 31 July 2024.
  23. Aggarwal, Mithil (31 July 2024). "Hamas chief Ismail Haniyeh killed in Israeli airstrike in Iran, Hamas says". NBC. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024.
  24. "Palestinian President Abbas 'strongly condemns' killing of Hamas chief Haniyeh". al-Arabiya. 31 July 2024. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024.
  25. Bergman, Ronen; Mazzetti, Mark; Fassihi, Farnaz (2024-08-01). "Bomb Smuggled Into Tehran Guesthouse Months Ago Killed Hamas Leader". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2024-08-01.
  26. "Haniyeh Funeral Procession Under Way In Iran". RFE/RL. August 1, 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]