ข้ามไปเนื้อหา

ค่ายผู้ลี้ภัยอัชชาฏี

พิกัด: 31°31′55.91″N 34°26′43.42″E / 31.5321972°N 34.4453944°E / 31.5321972; 34.4453944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัชชาฏี
การถอดเสียงอาหรับ
 • อาหรับمخيم الشاطئ
 • ละตินmukhayyam ash-Shati (ทางการ)
Beach camp (ไม่ทางการ)
ค่ายผู้ลี้ภัยอัชชาฏี
ค่ายผู้ลี้ภัยอัชชาฏี
อัชชาฏีตั้งอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์
อัชชาฏี
อัชชาฏี
ที่ตั้งอัชชาฏีในรัฐปาเลสไตน์
พิกัด: 31°31′55.91″N 34°26′43.42″E / 31.5321972°N 34.4453944°E / 31.5321972; 34.4453944
รัฐปาเลสไตน์
เขตผู้ว่าการกาซา
ควบคุมโดย กองกำลังป้องกันอิสราเอล
การปกครอง
 • ประเภทค่ายผู้ลี้ภัย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1949)
พื้นที่
 • ทั้งหมด520 ดูนัม (0.52 ตร.กม. หรือ 0.20 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2017)[1]
 • ทั้งหมด40,734 คน
 • ความหนาแน่น78,000 คน/ตร.กม. (200,000 คน/ตร.ไมล์)

อัชชาฏี (อาหรับ: مخيم الشاطئ) มีอีกชื่อว่า ชาฏี หรือ บีชแคมป์ (อังกฤษ: Beach camp) เป็นค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในนครกาซา เขตผู้ว่าการกาซา ฉนวนกาซาตอนเหนือริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

อัชชาฏีได้รับการสถาปนาใน ค.ศ. 1948 เมื่อชาวปาเลสไตน์ประมาณ 23,000 คนหนีหรือถูกขับไล่จากนครจาฟฟา, โลด และเบียร์ชีบา กับหมู่บ้านโดยรอบในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 พื้นที่ทั้งหมดของค่ายนี้อยู่ที่ 520 ดูนัม[2]

สำนักงานสถิติกลางแห่งปาเลสไตน์รายงานว่า อัชชาฏีมีประชากรใน ค.ศ. 2017 ที่ 40,734 คน[1] เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2023 สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติ (UNRWA) รายงานผู้ลี้ภัยที่ 90,173 คน[2] ค่ายนี้เป็นค่ายผู้ลี้ภัยในดินแดนปาเลสไตน์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3

ปัจจุบันค่ายนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังป้องกันอิสราเอล[3]

ประวัติ

[แก้]

อัชชาฏีได้รับการสถาปนาใน ค.ศ. 1948 เมื่อชาวปาเลสไตน์ประมาณ 23,000 คนที่หนีหรือถูกขับไล่โดยทหารอาสาไซออนิสต์จากนครจาฟฟา, โลด และเบียร์ชีบา กับหมู่บ้านโดยรอบในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ใน ค.ศ. 1971 ทางการอิสราเอลทำลายที่พักพิงกว่า 2,000 แห่งเพื่อขยายถนน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ผู้ลี้ภัยประมาณ 8,000 คนถูกบังคับให้ออกจากค่ายไปยังโครงการบ้านจัดสรรที่ชัยค์ริฎวานในนครกาซา[2][4][5][6]

ใน ค.ศ. 2023 อัชชาฏีถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งในช่วงสงครามอิสราเอล–ฮะมาส จากนั้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน เมื่ออิสรเาอลเข้ารุกรานฉนวนกาซา กองกำลังป้องกันอิสราเอลกล่าวว่าพวกเขาสังหารฝ่ายฮะมาสในพื้นที่อัชชาฏีประมาณ 150 คน[7] ต่อมาเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน กองกำลังป้องกันอิสราเอลเข้ายึดครองพื้นที่นี้ทั้งหมด[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Preliminary Results of the Population, Housing and Establishments Census, 2017 (PDF). Palestinian Central Bureau of Statistics (PCBS) (Report). State of Palestine. February 2018. pp. 64–82. สืบค้นเมื่อ 2023-10-24.
  2. 2.0 2.1 2.2 Beach Camp United Nations Relief and Works Agency (UNRWA)
  3. "The battle of northern Gaza is almost over". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2024-01-09.
  4. Badil เก็บถาวร 2012-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน During the 1970s, the Israeli military administration destroyed thousands of refugee shelters in the occupied Gaza Strip under the guise of security. Large refugee camps were targeted in particular. Refugees were forcefully resettled in other areas of the occupied Gaza Strip, with a smaller number transferred to the occupied West Bank. In the occupied Gaza Strip, several housing projects were established for these refugees. Some of these projects today are referred to as camps. These include the Canada project (1972), the Shuqairi project (1973), the Brazil project (1973), the Sheikh Radwan project (1974), and the al-Amal project (1979).
  5. Palestine Israel Journal Refugee Resettlement: The Gaza Strip Experience by Norma Masriyeh
  6. Badil เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Continuing Catastrophe --1967 and beyond
  7. Fabian, Emanuel (2023-11-10). "IDF says troops captured key Hamas strongholds in Gaza City today, killing 150 terrorists". Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-11. สืบค้นเมื่อ 2023-11-13.
  8. "Israeli military says it has taken control of Al-Shati refugee camp in northern Gaza". CNN (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-14. สืบค้นเมื่อ 2024-01-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]