อัชเกล็อน
อัชเกล็อน
| |
---|---|
การถอดเสียงHebrew | |
• ISO 259 | ʔašqlon |
• Translit. | Ashkelon |
พิกัด: 31°40′N 34°34′E / 31.667°N 34.567°E | |
ประเทศ | อิสราเอล |
เขต | ใต้ |
ก่อตั้ง |
|
การปกครอง | |
• Mayor | Tomer Glam |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 47,788 ดูนัม (47.788 ตร.กม. หรือ 18.451 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2021)[1] | |
• ทั้งหมด | 149,160 คน |
• ความหนาแน่น | 3,100 คน/ตร.กม. (8,100 คน/ตร.ไมล์) |
เว็บไซต์ | www.ashkelon.muni.il |
อัชเกล็อน (อังกฤษ: Ashkelon หรือ Ashqelon ฮีบรู: , ʾAšqəlōn, [aʃkeˈlon])) เป็นเมืองติดชายฝั่งทะเลในเขตใต้ของประเทศอิสราเอล บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเทลอาวีฟทางทิศใต้ 50 กิโลเมตร (30 ไมล์) และห่างจากเส้นเขตแดนฉนวนกาซาทางทิศเหนือ 13 กิโลเมตร (8 ไมล์)
เมืองสมัยใหม่นี้ตั้งชื่อตามเมืองท่าโบราณที่ชื่อ อัสคาลอน (Ascalon) ซึ่งถูกทำลายเมื่อปี 1270 และปัจจุบันสามารถพบเห็นซากเมืองได้ที่แหล่งโบราณคดีทางปลายตะวันตกเฉียงใต้ของมหานครสมัยใหม่ ซากปรักหักพังเหล่านี้มีอายุย้อนไปถึงยุคหินใหม่และเมืองผ่านอารยธรรมหลายสมัย ทั้งอียิปต์โบราณ คานาอัน ฟิลิสตีน อัสซีเรีย บาบิโลน กรีก แฮสมาเนียน โรมัน เปอร์เซีย อาหรับ และครูเสด
การพัฒนาเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นห่างจากโบราณสถานประมาณ 4 กิโลเมตร ในฐานะเมืองของชาวปาเลสไตน์ที่ชื่อ อัลมัจญ์ดาล (al-Majdal; ฮีบรู: אֵל־מִגְ׳דַּל ʾĒl-Mīǧdal) ประชากรของเมืองมีเพียงมุสลิมและคริสตศาสนิกชนในสมัยก่อนสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 ประชากรมีราว 10,000 คน และในเดือนตุลาคม 1948 เมืองเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์หลายพันคนที่มาจากหมู่บ้านใกล้เคียง[2][3] จนเมืองถูกครอบครองโดยอิสราเอลเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 1948 ซึ่งขณะนั้นประชากรชาวอาหรับได้หนีไปแล้ว หลงเหลือประชากร 2,700 คน ซึ่งมี 500 คน ถูกเนรเทศโดยทหารอิสราเอลเมื่อเดือนธันวาคม 1948 และส่วนที่เหลือถูกเนรเทศเมื่อปี 1950[4] ปัจจุบันประชากรของเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวยิว
จากข้อมูลปี 2021 อัชเกล็อนมีประชากร 149,160 คน เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามใน เขตใต้ของอิสราเอล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Regional Statistics". Israel Central Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 22 February 2023.
- ↑ Masalha, Nur (2012). The Palestine Nakba: Decolonising History, Narrating the Subaltern, Reclaiming Memory. London: Zed Books, Limited. pp. 115–116. ISBN 978-1-84813-970-1.
- ↑ Morris, Benny (2008-10-01). 1948: A History of the First Arab-Israeli War (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. p. 331. ISBN 978-0-300-14524-3 – โดยทาง books.google.com.
- ↑ Kimmerling, Baruch; S Migdal, Joel (2003). "Reconstituting Palestinian Nation". The Palestinian People: A History. United States of America: Harvard University Press. p. 172. ISBN 978-0-674-03959-9 – โดยทาง books.google.com.