อาหารไอนุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุดอาหารไอนุ ประกอบด้วยซุปเนื้อกวางและผักภูเขา, ตับปลาแซลมอน และข้าวหุงกับธัญพืช

อาหารไอนุ เป็นอาหารประจำของชาวไอนุในประเทศญี่ปุ่น อันมีเอกลักษณ์เฉพาะต่างจากอาหารญี่ปุ่นของชาวญี่ปุ่น รวมถึงชาวยามาโตะซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ อาหารดิบอย่างซาชิมิมีอยู่อย่างจำกัดในสำรับอาหารไอนุ อาหารส่วนใหญ่จะผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เป็นต้นว่า ต้ม, ย่าง หรือการหมักซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ ปัจจุบันมีชาวไอนุตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮกไกโดทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด และยังมีชาวไอนุอาศัยกระจายบริเวณหมู่เกาะคูริล, ทางตอนใต้ของเกาะซาฮาลิน และทางตอนบนของเกาะฮนชู

ร้านอาหารไอนุมีน้อยและหายากมาก ในญี่ปุ่นมีร้านอาหารไอนุ เช่น ร้านอาชิริโคตันนากาโนชิมะ (Ashiri Kotan Nakanoshima) ในเมืองซัปโปโระ, ร้านโปรนโน (Poron'no) และร้านมารูกิบูเนะ (Marukibune) ในเมืองอากังของจังหวัดฮกไกโด

ส่วนประกอบ[แก้]

อาหาร[แก้]

โอเฮา ซุปดั้งเดิมของไอนุ
  • กีโตกัม (kitokam) ไส้กรอกปรุงรสด้วยปูกูซา
  • มุนจีโรซาโย (munciro sayo) ข้าวต้มที่ทำจากข้าวฟ่าง
  • รุยเบ (ruibe) แซลมอนสไลด์แช่แข็ง เคียงกับซีอิ๊วและผักไผ่น้ำ[7][8][9]
  • ซีโต (sito) เกี๊ยวที่ทำจากข้าวหรือข้าวฟ่าง
  • โอเฮา (ohaw) หรือ รูร์ (rur) ซุปที่เคี่ยวจากกระดูกหรือปลา
    • เจ็ปโอเฮา (cep ohaw) ซุปแซลมอน
    • กัมโอเฮา (kam ohaw) ซุปเนื้อวัว
    • ยุกโอเฮา (yuk ohaw) ซุปเนื้อกวาง
    • ปูกูซาโอเฮา (pukusa ohaw) ซุปปูกูซา
    • ปูกูซากีนาโอเฮา (pukusakina ohaw) ซุปดอกไม้
  • มูนีนีอีโม (munini-imo) แพนเค้กที่ทำจากมันฝรั่งหมัก
  • เมฮุน (mehun) ตับและเครื่องในแซลมอนหมัก
  • ราตัสเก็ป (rataskep) ชิเงรุ คายาโนะและอื่น ๆ อธิบายว่า คือ สตูว์ หรือ อาหารที่ผสมจากของหมักต่าง ๆ[10][11] บางแหล่งข้อมูลก็ว่าเป็นอาหารพิเศษที่ทำจากส่วนผสมพิเศษ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Batchelor & Miyabe 1893 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFBatchelorMiyabe1893 (help)
  2. 2.0 2.1 Honda, Katsuichi (1905). Harukor: An Ainu Woman's Tale (preview). London: Methodist Publishing House. p. 123., saying ratashkep was a "snack" but used non-ordinary special ingredients to appeal to children, like "Amur cork nuts with Chinese millet flour and wild peas, or chestnuts and preserved salmon roe".
  3. Yamada, Takako (2001). The world view of the Ainu: nature and cosmos reading from language (snippet). Kegan Paul. ISBN 978-0710-30732-3.
  4. Batchelor, John; Miyabe, Kingo (1893). Ainu economic plants (google). Transactions of the Asiatic Society of Japan. Vol. 21. Yokohama: R. Meiklejohn.
  5. Batchelor 1905 Ainu-Eng-Ja. dict.
  6. Watanabe, Hitoshi (渡辺仁) (1982). アイヌ民俗調査 (snippet). Vol. 15. 北海道教育委員会., collected from the recollection by Umeko Ando
  7. Chris Rowthorn (1 October 2009). Japan. Lonely Planet. pp. 582–. ISBN 978-1-74179-042-9. สืบค้นเมื่อ 26 May 2012.
  8. Mark K. Watson (14 March 2014). Japan's Ainu Minority in Tokyo: Diasporic Indigeneity and Urban Politics. Routledge. pp. 97–. ISBN 978-1-317-80756-8.
  9. Dave Lowry (January 2010). The Connoisseur's Guide to Sushi: Everything You Need to Know about Sushi Varieties and Accompaniments, Etiquette and Dining Tips, and More. ReadHowYouWant.com. pp. 225–. ISBN 978-1-4587-6414-0.
  10. Kayano 1996, p.208 キナラタシケプ 山菜の寄せ鍋; p.460, ラタシケプ 「混ぜ煮:豆,カポチヤ,イナキピの粉,シコロの実など いろいろな物を混ぜて煮た物」
  11. Dettmer, Hans Adalbert (1989). Ainu-Grammatik: Texte und Hinweise. Vol. 1. Otto Harrassowitz Verlag. p. 843. ISBN 978-3-447-02864-6., where kina rataskep and mun rataskep are mentioned, and translated as "Gräser-Eintopf", "Kräuter-Eintopf" (grasses stew, herbs/worts stew)

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]