ข้ามไปเนื้อหา

บราซิลสมัยอาณานิคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บราซิลสมัยอาณานิคม

Brasil Colonial
ค.ศ. 1500/1534–ค.ศ. 1808
บราซิลในปีค.ศ. 1534
บราซิลในปีค.ศ. 1534
บราซิลในปีค.ศ. 1750
บราซิลในปีค.ศ. 1750
สถานะอาณานิคมของราชอาณาจักรโปรตุเกส
เมืองหลวงซัลวาดอร์
(ค.ศ. 1549–1763)
รีอูจีฌาเนย์รู
(ค.ศ. 1763–1822)
ภาษาทั่วไปโปรตุเกส (ราชการ)
ตูปีเอาส์ตรัล, เญเองาตู, ภาษาท้องถิ่นหลากหลาย
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (ทางการ)
ศาสนาแอฟริกา-บราซิล, ศาสนายูดาห์, ศาสนาพื้นถิ่น
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1500–1521
พระเจ้ามานูแวลที่ 1 (คนแรก)
• ค.ศ. 1777–1815
สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 (คนสุดท้าย)
อุปราช 
• ค.ศ. 1549–1553
ตูแม ดึ โซซา (คนแรก)
• ค.ศ. 1806–1808
มาร์กุช ดึ นูโรญา (คนสุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
22 เมษายน ค.ศ. 1500/1534
• ยกฐานะเป็นราชอาณาจักรและสถาปนาเป็นสหราชอาณาจักร
13 ธันวาคม ค.ศ. 1808
พื้นที่
• รวม
8,100,200[1] ตารางกิโลเมตร (3,127,500 ตารางไมล์)
สกุลเงินรียัลโปรตุเกส
ขอบเขตของบราซิลใน ค.ศ. 1821 เมื่อร่วมรัฐกับสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ[2]
ถัดไป
สหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ บราซิล
 อุรุกวัย

บราซิลสมัยอาณานิคม (โปรตุเกส: Brasil Colonial) ได้หลอมรวมยุคประวัติศาสตร์ของบราซิล มาตั้งแต่ ค.ศ. 1500 ตั้งแต่การริเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวโปรตุเกส หลังการค้นพบดินแดนโดยเปดรู อัลวารึช กาบรัล จนถึง ค.ศ. 1815 เมื่อบราซิลได้รับการยกฐานะเป็นราชอาณาจักร ร่วมกับราชอาณาจักรโปรตุเกส และราชอาณาจักรแอลการ์ฟในฐานะ สหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ

ในช่วง 300 ปีต้น ๆ ของประวัติศาสตร์ของการล่าอาณานิคมของบราซิล การแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของดินแดนนี้มีพื้นฐานมาจากการสกัดต้นบราซิล (pau brazil) (เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16) ซึ่งทำให้ดินแดนนี้มีชื่อเรียกตามต้นไม้ดังกล่าว[3] การผลิตน้ำตาลจากการนำทาสชาวแอฟริกันมาเก็บเกี่ยวต้นอ้อย (เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16–18) และการขุดทองและเพชรที่ได้ค้นพบในใต้ดิน (เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18) ทาสโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่นำมาจากทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของระบบเศรษฐกิจ การส่งออกของบราซิลเกิดขึ้น ภายหลังจากที่ทาสชาวพื้นเมืองใช้เวลาช่วงระยะสั้น ๆ เพื่อทำการตัดต้นบราซิล

เมื่อเปรียบเทียบกับดินแดนของสเปนที่อยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีอุปราชหลายคน ที่มีเขตอำนาจการควบคุมภายในช่วงเริ่มแรกเหนือ นิวสเปน (เม็กซิโก) และเปรู และในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ขยายขอบเขตอำนาจไปถึงบริเวณเขตอุปราชแห่งรีโอเดลาปลาตา และนิวกรานาดา อาณานิคมบราซิลของโปรตุเกสได้ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ชายฝั่ง โดยชาวโปรตุเกส และประชากรของทาสสีผิวดำที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทำงานในพื้นที่สวนน้ำตาล และเหมืองแร่ วัฏจักรแห่งเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูและเชื่อมโยงกับสินค้าส่งออก ยุคน้ำตาลแห่งบราซิลถูกผูกมัดกับการพัฒนาทาสภายในสวนไร่ ทำให้พ่อค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่างแหล่งผลิตน้ำตาล ท่าเรือของบราซิล และทวีปยุโรป ถูกลดความสำคัญ โดยการเติบโตของระบบอุตสาหกรรมน้ำตาล ในทะเลแคริบเบียนบนหมู่เกาะ ที่ประเทศบนทวีปยุโรปได้ยึดอำนาจมาจากสเปน ทองคำและเพชร ถูกค้นพบและถูกขุด อยู่ทางตอนใต้ของบราซิลจนถึงช่วงปลายยุคอาณานิคม ส่วนใหญ่ของเมืองในบราซิลเป็นเมืองท่าและมีการย้ายเมืองหลวงของการปกครองอาณานิคม อยู่หลายครั้ง เพื่อตอบสนองต่อความสำคัญของสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นและลดลงในบางครั้ง

ไม่เหมือนกับอาณานิคมบนทวีปอเมริกาของสเปน ซึ่งแตกแยกออกมาเป็นหลากหลายสาธารณรัฐ เมื่อได้รับเอกราชเป็นของตนเอง บราซิลยังคงเป็นระบบการปกครองเดี่ยวภายใต้ระบอบราชาธิปไตย ซึ่งทำให้เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกา เช่นเดียวกับที่ชาวสเปนที่อยู่ในยุโรป และศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นแหล่งหลักของการรวมตัวกันบนดินแดนที่กว้างใหญ่ และสเปนมีหลากหลายเชื้อชาติ สังคมบราซิลจึงเป็นสังคมที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ด้วยภาษาโปรตุเกสและความเชื่อแบบโรมันคาทอลิก ภาษาโปรตุเกสมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่ออัตลักษณ์ของชาวบราซิล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Society and Education in Brazil" "Authors: Robert J. Havighurst, J. Roberto Moreira" "https://books.google.pt/books?id=u65BLiP8qXEC&pg=PA60
  2. AlgarvesNational Library of Portugal (link "map") http://purl.pt/880/3/ - (general website) "link" http://www.bnportugal.gov.pt Dimension of Brazil in 1821 with Kingdom of Portugal Brazil and Algarves (Source) National Library of Portugal (link "map") http://purl.pt/880/3/ - (general website) "link" http://www.bnportugal.gov.pt
  3. A.J.R. Russell-Wood, Brazil, The colonial era" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 1, p. 410. New York: Charles Scribner's Sons 1996.