อากุ้ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อากุ้ย
อากุ้ย
ชื่อพื้นเมือง
阿桂
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2260
เสียชีวิต10 ตุลาคม พ.ศ. 2340 (80 ปี)
รับใช้ราชวงศ์ชิง
ชั้นยศเสนาบดีกรมกลาโหม
เสนาบดีสภาแห่งราชวงค์ชิง
บิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเจียชิ่ง
หน่วยกองธงขาว
บังคับบัญชาสงครามต้าชิง-พม่า (พ.ศ. 2311–2312)
ปราบจราจลในมณฑลเสฉวน(พ.ศ. 2314-2319)
ปราบจลาจลในมณฑลกานซู่ (พ.ศ. 2324)
บุกเกาะไต้หวัน (พ.ศ. 2329-2330)

อากุ้ย (จีน: 阿桂; พินอิน: Āguì; เวด-ไจลส์: A-kuei) แห่งกองธงขาว เป็นแม่ทัพคนสำคัญของจักรพรรดิเฉียนหลง ผู้ทำศึกมากมายตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทั้งสิบการทัพใหญ่และอีกหลายต่อหลายศึก ภายหลังอากุ้ยได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเจียชิ่งและองค์ชายหย่งหลิน โดยหลังจากอากุ้ยเสียชีวิต จักรพรรดิเจียชิ่งยกย่องอากุ้ยเป็นเสมือนจุ้นหวัง และให้วาดภาพอากุ้ยสวมเครื่องแบบของเชื้อพระวงศ์ โดยภาพดังกล่าววาดขึ้นในปีเจียชิ่งที่ 3 [1]

สงครามจีน-พม่า[แก้]

หนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญของสงครามต้าชิง-พม่า ซึ่งเขาเดินทางมาพร้อมกับขุนนางระดับสูงของต้าชิงอีกหลายคน โดยในศึกครั้งนี้อากุ้ยนับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารตลอดการศึก โดยเขาได้กล่าวกับผู้ใต้บังคับบัญชาเอาไว้ว่า "อันหลักแห่งการทหารแต่โบราณ ย่อมถือเรื่องเสบียงทหารเป็นหลักใหญ่แห่งกองทัพ" [2] แต่ครั้งนี้ต้าชิงเองก็ต้องมาเจอกับยอดแม่ทัพของฝ่ายพม่าที่มีสติปัญญาไม่แพ้ฝั่งจีนเลย ทำให้การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตของเขา สุดท้ายกองทัพพม่าสามารถล้อมกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ ฟู่เหิงตัดสินใจจะทำสงครามตัดสินกับทางพม่า แต่อากุ้ยได้ห้ามเอาไว้และเขายังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญซึ่งทำให้การเจรจาเกิดขึ้นมาได้ แม้จะถูกต่อต้านอย่างหนักจากฟู่เหิงก็ตาม แต่ด้วยขณะนั้นแม่ทัพนายกองของฝ่ายต้าชิงต่างก็เห็นด้วยกับการตัดสินใจของอากุ้ย ทำให้สุดท้ายจีน-พม่าสามารถบรรลุสนธิสัญญากองตน เป็นการปิดฉากสงครามลง ในวันที่ 22 ธันวาคม 2312 หลังกลับถึงเมืองหลวงเขาได้ถูกจักรพรรดิเฉียนหลง ตำหนิอย่างรุนแรงหลังเห็นฟู่เหิงต้องมาเสียชีวิต โดยพระองค์ตำหนิอากุ้ยที่ไม่เตือนฟู่เหิงจนทำให้กองทัพต้าชิงต้องสูญเสียอย่างหนัก และกล่าวว่า "บัดนี้ราชวงศ์แห่งสวรรค์ของข้าต้องถูกพวกคนเถื่อนดูแคลน" [3]

ผลงานหลังจากนั้น[แก้]

  • ปราบจราจลในมณฑลเสฉวน (พ.ศ. 2314-2319) [4]
  • ปราบจลาจลในมณฑลกานซู่ (พ.ศ. 2324) [5]
  • บุกเกาะไต้หวัน (พ.ศ. 2329-2330) [6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Asian Studies เอเชียศึกษา & ชมรมผู้สนใจข้อมูลราชวงศ์ชิง | พงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿) เล่มที่ 318 บรรพที่ 105
  2. Asian Studies เอเชียศึกษา | พงศาวดารราชวงศ์ชิง (清史稿) เล่มที่ 318 บรรพที่ 105
  3. Dai, Yingcong (2004). "A Disguised Defeat: The Myanmar Campaign of the Qing Dynasty". Modern Asian Studies. 38
  4. Hoiberg, Dale H., ed. (2010). "A-kuei". Encyclop?dia Britannica. I: A-Ak – Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclop?dia Britannica
  5. Lipman, Jonathan Neaman (1998). Familiar Strangers: A History of Muslims in Northwest China. Hong Kong University Press.
  6. Dupuy, R. Ernest; Dupuy, Trevor N. (1986). The Encyclopedia of Military History from 3500 B.C. to the Present (2nd Revised ed.). New York, NY: Harper & Row, Publishers.