หอยแครง
หน้าตา
หอยแครง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Mollusca |
ชั้น: | Bivalvia |
ชั้นย่อย: | Pteriomorphia |
อันดับ: | Arcoida |
วงศ์: | Arcidae |
สกุล: | Tegillarca |
สปีชีส์: | T. granosa |
ชื่อทวินาม | |
Tegillarca granosa (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
หอยแครง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tegillarca granosa) เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร
- ถิ่นอาศัย: พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว ในน่านน้ำไทยพบมากที่จังหวัดชลบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, ปัตตานี
- อาหาร: พวกไดอะตอม, แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิด
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
[แก้]หอยแครงเป็นหอยสองฝาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเนื้อใช้รับประทานเป็นอาหารที่ให้โปรตีน นิยมนำไปปรุงด้วยการเผาหรือลวก ส่วนเปลือกใช้ทำเครื่องประดับของชำร่วย หรือ บดผสมลงในอาหารไก่ และยังทำเป็นปูน[2] รวมถึงทำเป็นวัสดุสังเคราะห์ทดแทนกระดูกมนุษย์ได้ด้วย[3]
กรมประมงจึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงกันอยู่ที่แถบจังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สตูล และปัตตานี
นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ
[แก้]สันนิษฐานว่าคำว่า "แครง" หรือ "คราง" นั้นมาจากภาษาชวา-มลายู ที่เรียกหอยจำพวกหอยแครงและหอยครางว่า "เกอรัง" หรือ "กรัง" (kerang, krang) จึงเพี้ยนเป็นแครงกับครางในที่สุด[4][5][6]
ดูเพิ่ม
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ หอยแครง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ WoRMS taxon details (อังกฤษ)
- ↑ "การทำปูนจากเปลือกหอย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-28. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
- ↑ มช. เจ๋งนำเปลือกหอยแครงทดแทนกระดูกมนุษย์ จากเดลินิวส์
- ↑ จอม ปัทมคันธิน. แฟนหอยพันธุ์แท้. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ชบาเงิน, 2555. 185 หน้า. หน้า 108. ISBN 978-616904682-0
- ↑ หอยแครงจากสนุกดอตคอม
- ↑ "การเลี้ยงหอยแครง จากเว็บไซต์กรมประมง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.