หยาง ช่างคุน
หยาง ช่างคุน | |
---|---|
杨尚昆 | |
![]() หยางในทศวรรษที่ 1960 | |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 8 เมษายน ค.ศ. 1988 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1993 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
หัวหน้ารัฐบาล | หลี่ เผิง |
รองประธานาธิบดี | หวัง เจิ้น |
ผู้นำ | เติ้ง เสี่ยวผิง |
ก่อนหน้า | หลี่ เซียนเนี่ยน |
ถัดไป | เจียง เจ๋อหมิน |
รองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง | |
ดำรงตำแหน่ง แห่งประเทศ: 20 มิถุนายน ค.ศ. 1983 – 28 มีนาคม ค.ศ. 1993 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) แห่งพรรค: 12 กันยายน ค.ศ. 1982 – 19 ตุลาคม ค.ศ. 1992 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ประธาน | เติ้ง เสี่ยวผิง เจียง เจ๋อหมิน |
เลขาธิการคณะกรรมการการทหารส่วนกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่ง สิงหาคม ค.ศ. 1945 – พฤษจิกายน ค.ศ. 1956 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ถัดไป | หวง เค่อเฉิง |
ดำรงตำแหน่ง กรกฎาคม ค.ศ. 1981 – พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ก่อนหน้า | เกิ่ง เปียว |
ถัดไป | หยาง ไป่ปิง |
ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
ก่อนหน้า | หลี่ ฟู่ชุน |
ถัดไป | วัง ตงซิง |
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 ธันวาคม ค.ศ. 1964 – 13 มกราคม ค.ศ. 1975 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
เขตเลือกตั้ง | กองทัพปลดปล่อยประชาชน ทั้งเขต |
ดำรงตำแหน่ง 25 มีนาคม ค.ศ. 1988 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1993 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
เขตเลือกตั้ง | เสฉวน ทั้งเขต |
นายกเทศมนตรีกว่างโจว คนที่ 7 | |
ดำรงตำแหน่ง มีนาคม ค.ศ. 1979 – กันยายน ค.ศ. 1981 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้ปีคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ก่อนหน้า | เจียว หลินอี้ |
ถัดไป | เหลียง หลิงกวง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 สิงหาคม ค.ศ. 1907 ถงหนาน, ฉงชิ่ง, มณฑลเสฉวน, จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 14 กันยายน ค.ศ. 1998 ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน | (91 ปี)
เชื้อชาติ | จีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (ตั้งแต่ปี 1926) |
คู่สมรส | หลี่ ปั๋วจ้าว (สมรส 1929; 1985) |
บุตร | 3 |
ญาติ | หยาง ไป่ปิง |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้, มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น มอสโก |
หยาง ช่างคุน | |||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 杨尚昆 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 楊尚昆 | ||||||||||
|


หยาง ช่างคุน (จีน: 杨尚昆; พินอิน: Yáng Shàngkūn; 3 สิงหาคม ค.ศ. 1907[1] – 14 กันยายน ค.ศ. 1998) เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี ค.ศ. 1988 ถึง 1983 และเป็นหนึ่งในแปดผู้เฒ่า ซึ่งมีอำนาจควบคุมพรรคหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตง[2]
หยางเกิดในครอบครัวเจ้าของที่ดินฐานะร่ำรวย ศึกษาการเมืองที่มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ และศึกษาปรัชญาของลัทธิมากซ์ รวมถึงยุทธวิธีการปฏิวัติที่มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น มอสโก ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดภายใต้การปกครองของทั้งเหมา เจ๋อตง และต่อมาคือเติ้ง เสี่ยวผิง โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ถึง 1965 เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไป และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ถึง 1956 เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ในตำแหน่งเหล่านี้ หยางได้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการประจำวันของรัฐบาลและพรรคทั้งในทางการเมืองและการทหาร โดยสะสมอำนาจทางราชการไว้เป็นจำนวนมากด้วยการควบคุมสิ่งต่าง ๆ เช่น การไหลเวียนของเอกสาร การเก็บรักษาบันทึก และการอนุมัติและจัดสรรงบประมาณ[2] หยางถูกกวาดล้าง จับกุม และจำคุกในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 12 ปีก่อนจะกลับมาสร้างฐานะใหม่ในปี ค.ศ. 1978 และกลายเป็นพันธมิตรสำคัญของเติ้ง เสี่ยวผิง ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกว่างโจว (ค.ศ. 1979–81) และกลับเข้าสู่คณะกรรมการการทหารส่วนกลางในตำแหน่งเลขาธิการและรองประธาน (ค.ศ. 1981–89) ก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี[2]
หยางเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนรายแรก ๆ โดยเขาได้ให้เหตุผลสนับสนุนการปฏิรูปดังกล่าวโดยอ้างถึงวลาดิมีร์ เลนินและนโยบายเศรษฐกิจใหม่ ถึงกระนั้น เขาก็คัดค้านการปฏิรูปการเมืองทุกรูปแบบอย่างแข็งขัน และแม้จะประสบความทุกข์ยากในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เขาก็ยังคงปกป้องภาพลักษณ์และผลงานของเหมาอย่างแข็งขันเช่นกัน หยางร่วมกับพลเอกหยาง ไป่ปิง น้องชายต่างมารดา สามารถควบคุมกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดช่วงทศวรรษที่ 1980 แลงต้นทศวรรษที่ 1990 ถึงแม้จะมีความลังเลในตอนแรก แต่ต่อมาเขาก็ได้มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 1989 และยังเป็นผู้วางแผนและควบคุมปฏิบัติการเคลียร์พื้นที่จัตุรัสและถนนโดยรอบ การล่มสลายของหยางเกิดขึ้นในปีในปี ค.ศ. 1993 เมื่อความพยายามในการทำลายอำนาจของเจียง เจ๋อหมิน ผู้นำคนใหม่ และการรักษาอำนาจควบคุมกองทัพล้มเหลว ทำให้ถูกบังคับให้เกษียณอายุโดยกลุ่มผู้เฒ่าของพรรค รวมถึงเติ้งด้วย
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]หยางเกิดในครอบครัวเจ้าของที่ดิน[3] ในหมู่บ้านชวงเจียง อำเภอถงหนาน ใกล้เมืองฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน ศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงเฉิงตูและโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดระหว่างปี ค.ศ. 1920–25 ก่อนจะเดินทางกลับไปยังฉงชิ่ง พี่ชายของเขาคือหยาง หยินกง[4] เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์จีนในมณฑลเสฉวน และมีอิทธิพลต่อแนวคิดทางอุดมการณ์ของหยาง ช่างคุน ภายหลังจากเข้าร่วมสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1925 และพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 1926 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ และได้ศึกษาในสาขาวิชาการเมือง[5] ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1927 หยางได้เดินทางไปยังสหภาพโซเวียตและเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น มอสโก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีลัทธิมากซ์ รวมถึงหลักการและวิธีการในการจัดองค์กรและระดมพลทางการเมือง[2][3]
หยางเป็นสมาชิกกลุ่มนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาอยู่ในมอสโก และได้เดินทางกลับมายังประเทศจีนเพื่อเข้ามามีบทบาทสำคัญในการนำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งต่อมาจะเป็นที่รู้จักกันในนาม 28 บอลเชวิค[5] องค์การคอมมิวนิสต์สากลได้ส่งหยางกลับมายังประเทศจีน เพื่อให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่สนับสนุนองค์การฯ คนอื่น ๆ อาทิ ปั๋ว กู่ หวัง หมิง และจาง กั๋วเทา แต่หยางและกลุ่ม 28 บอลเชวิครวมถึงเย่ เจี้ยนอิง หวัง เจี้ยเสียง และจาง เหวินเทียนกลับให้การสนับสนุนเหมา เจ๋อตงแทน หลังจากการเดินทางกลับจากมอสโกในปี ค.ศ. 1931 หยางได้เริ่มต้นอาชีพทหารในกองทัพแดงจีน โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองของกองทัพแดงที่ 1 และได้ย้ายไปปฏิบัติงานในพื้นที่รบต่าง ๆ ภายใต้การบัญชาการของจู เต๋อและโจว เอินไหล ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1934 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการทางการเมืองของกองทัพแดงที่ 3 ซึ่งมีเผิง เต๋อหวยเป็นผู้บัญชาการ[6]
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามกลางเมืองจีน
[แก้]ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หยางดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนภาคเหนือ และได้ร่วมทำงานกับหลิว เช่าฉีในพื้นที่ที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1939 หยางได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานภาคเหนือของจีน และทำงานร่วมกับจู เต๋อและเผิง เต๋อหวยในการประสานงานปฏิบัติการทางทหารของกองทัพลู่ที่แปด รวมถึงการรุกร้อยกรมทหาร ในปี ค.ศ. 1941 หยางได้เดินทางกลับมายังเหยียนอานและทำงานเป็นผู้ช่วยส่วนตัวของเหมา ในปี ค.ศ. 1945 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ของพรรค พร้อมกันนั้นยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง โดยมีเหมาเป็นประธานคณะกรรมการฯ ในตำแหน่งเหล่านี้ เขามีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารงานด้านการทหารและการเมืองประจำวันของพรรคเป็นส่วนใหญ่ และปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี[2]
ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน หยางดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ "กองกำลังรักษาความปลอดภัยกลาง" มีหน้าที่ปกป้องศูนย์กลางของพรรค และในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่และเลขาธิการคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง หยางมีบทบาทสำคัญในการนำพาพรรคคอมมิวนิสต์จีนไปสู่ชัยชนะในที่สุด และการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949[3]
สาธารณรัฐประชาชน
[แก้]ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1949 จนถึงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปี ค.ศ. 1966 หยางเป็นหนึ่งในผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพียงไม่กี่คนที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับเหมา เจ๋อตงที่จงหนานไห่เป็นประจำ ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่และเลขาธิการคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง เขาทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานประจำวันของกิจกรรมพรรคและกิจการทหารเป็นส่วนใหญ่[3] ในช่วงก่อนการปฏิวัติทางวัฒนธรรม หยางถูกระบุว่าเป็นผู้สนับสนุนหลิว เช่าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิง และถูกขับออกจากพรรคในฐานะผู้ต่อต้านการปฏิวัติ[7] หลังถูกขับออกจากพรรคและปลดจากทุกตำแหน่ง หยางได้ถูกกลุ่มยุวชนแดงกดขี่ข่มเหง โดยถูกกล่าวหาว่าได้ลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังเพื่อสอดแนมเหมา ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาเดียวกับที่เติ้งถูกกล่าวหาเช่นกัน
หยางถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนกระทั่งเหมาถึงแก่อสัญกรรมและเติ้งขึ้นสู่อำนาจในปี ค.ศ. 1978 ภายหลังจากที่เติ้งสามารถควบคุมกองทัพได้แล้ว เขาได้เรียกตัวหยางกลับมา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายพล พร้อมมอบภารกิจให้หยางดำเนินการปฏิรูปกองทัพของจีน ซึ่งเติ้งมองว่ามีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ไม่ใช่ทางทหารมากเกินไป เติ้งเลื่อนตำแหน่งให้หยางเป็นรองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางเพื่อมอบอำนาจให้หยางดำเนินการปฏิรูปเหล่านี้ให้สำเร็จ (โดยเติ้งดำรงตำแหน่งประธาน) ในปี ค.ศ. 1982 หยางได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกเต็มตัวของคณะกรมการเมือง[8]
หยางมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเติ้งและมีวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจระยะยาวสอดคล้องกับเติ้งหลายประการ แต่เขามีความกระตือรือร้นน้อยกว่าในการผลักดันนโยบายการปฏิรูปการเมืองที่ผู้นำระดับสูงคนอื่น ๆ ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากเติ้ง อาทิ หู เย่าปัง จ้าว จื่อหยาง ว่าน หลี่ และหู ฉี่ลี่ได้ส่งเสริม หยางได้ให้เหตุผลสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยอ้างถึงวลาดิมีร์ เลนิน และนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) พร้อมเน้นย้ำว่าพรรคคอมมิวนิสต์ควรยังคงมีอำนาจควบคุมเศรษฐกิจโดยรวม แม้แต่ในธุรกิจเอกชน ผ่านระบบคณะกรรมาธิการพรรคในทุกองค์กร เขายังคงปกป้องเหมาในฐานะผู้นำที่ยิ่งใหญ่และมีประวัติศาสตร์มาโดยตลอด แม้ว่าตัวเขาเองจะต้องทนทุกข์ทรมานจากน้ำมือของกลุ่มลัทธิเหมาหัวรุนแรงก็ตาม
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 หยางได้ให้การสนับสนุนอย่างชัดแจ้งต่อความพยายามของแฮริสัน ซอลส์เบอรี นักประวัติศาสตร์ชาวต่างชาติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีนในการรวบรวมเรื่องราวของการเดินทัพทางไกล โดยการจัดให้มีการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการเดินทัพที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างละเอียด หนังสือที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลนี้คือ Long March: The Untold Story ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการจีนว่าเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปากจากแหล่งปฐมภูมิได้อย่างดีเยี่ยม ภายในประเทศจีน ทหารผ่านศึกชาวจีนจำนวนมากได้ตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงต้องรอให้ชาวต่างชาติเป็นผู้ผลิตหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา[9]
ประธานาธิบดี
[แก้]
ในปี ค.ศ. 1988 หยางได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนแทนที่หลี่ เซียนเนี่ยน ทำให้หยางเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมธิการสามัญประจำกรมการเมือง ภายใต้จารีตของรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1982 บทบาทของประธานาธิบดีส่วนใหญ่เป็นเชิงสัญลักษณ์[8] โดยอำนาจบริหารอย่างเป็นทางการนั้นเป็นของของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และนายกรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติ ผู้นำพรรคและประเทศยังคงให้ความสำคัญและเคารพต่อผู้นำสูงสุดเติ้ง เสี่ยวผิง อย่างไรก็ตาม เติ้งไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เนื่องจากเขายังคงต้องประนีประนอมในเรื่องนโยบายบางประการกับผู้อาวุโสของพรรคคนอื่น ๆ เช่น เฉิน ยฺหวิน และหลี่ เซียนเนี่ยน
บทบาทของหยางในระหว่างการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 1989 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองของจีน ในเบื้องต้น หยางแสดงความเห็นใจต่อนักศึกษาและเข้าข้างจ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรค ในการสนับสนุนนักศึกษา ในฐานะรองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง เขายังได้กล่าวชื่นชมท่าทีของจ้าวโดยระบุว่า "แนวคิดของจ้าวในการสงบขบวนการนักศึกษาโดยอาศัยหลักประชาธิปไตยและกฎหมายนั้นน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมและสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน" จุดยืนของจ้าวถูกคัดค้านจากหลี่ เผิง นายกรัฐมนตรี และหลี่ เซียนเนี่ยน ผู้อาวุโสของพรรค ซึ่งทั้งสองต้องการให้ใช้กำลังปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา และได้เข้าร่วมการชิงอำนาจภายในพรรคกับจ้าวเพื่อโน้มน้าวให้ผู้นำระดับสูงคนอื่น ๆ เห็นพ้องกับจุดยืนพวกเขา[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อฝ่ายหัวรุนแรงได้เปรียบ หยางก็ได้เปลี่ยนจุดยืนและสนับสนุนการใช้กำลังปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1989 หยางได้ปรากฏตัวทางโทรทัศน์ของจีน โดยกล่าวประณามการประท้วงของนักศึกษาว่าเป็น "อนาธิปไตย" และปกป้องการประกาศใช้กฎอัยการศึกในหลายพื้นที่ของกรุงปักกิ่งที่ได้รับผลกระทบจากการประท้วง ต่อมาหยางได้ระดมกำลังและวางแผนปราบปรามผู้ประท้วง ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่ส่งผลให้ผู้ประท้วงหลายร้อยคนเสียชีวิตในวันที่ 4 มิถุนายนและวันต่อ ๆ มา[8] หลานชายของหยางคือ หยาง เจี้ยนหฺวา เป็นผู้บัญชาการกองทัพกลุ่มที่ 27 ซึ่งถูกส่งเข้ามาในกรุงปักกิ่งจากมณฑลเหอเป่ย์เพื่อปราบปรามผู้ประท้วง

ตลอดทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษที่ 1990 หยางมีอิทธิพลอย่างมากต่อกองทัพปลดปล่อยประชาชน หยาง และหยาง ไป่ปิง น้องชายต่างมารดาของเขา ได้สั่งกวาดล้างเจ้าหน้าที่กองทัพทุกนายที่ไม่สนับสนุนการปราบปรามนักศึกษาอย่างรุนแรงของรัฐบาล ต่อมาหยางได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อแต่งตั้งผู้สนับสนุนของตนเข้าสู่ตำแหน่งระดับสูงในกองทัพให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ทำให้ความไม่พอใจในหมู่ผู้นำทหารรุ่นเก่าคนอื่น ๆ ที่กล่าวหาว่าหยางพยายามครอบงำกองทัพ และอาจท้าทายอำนาจของเติ้งโดยการสร้าง "กลุ่มตระกูลหยาง" ขึ้นมา เมื่อหยางแสดงการต่อต้านการขึ้นสู่อำนาจของเจียง เจ๋อหมิน ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำนครเซี่ยงไฮ้ และถูกเติ้งส่งเสริมให้สืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุด ผู้อาวุโสในพรรครวมถึงเติ้งเองก็ได้บังคับให้หยางเกษียณอายุในปี ค.ศ. 1993 พร้อมกับสมาชิกครอบครัวบางส่วน[7]
ชีวิตช่วงหลัง
[แก้]รายงานของวิทยุเสียงอเมริกา ก่อนที่หยางจะถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1998 ระบุว่าเขาได้บอกกับแพทย์ทหารเจี่ยง เยี่ยนหย่ง ว่าการปราบปรามประชาชนในวันที่ 4 มิถุนายนถือเป็นความผิดพลาดร้ายแรงที่สุดที่หลี่ เผิง และพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระทำในประวัติศาสตร์ของพรรค ซึ่งหยางเชื่อว่าตนไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าวได้ แต่เชื่อมั่นว่าในที่สุดแล้วมันจะได้รับการแก้ไข[10]
หยางถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1998 ขณะมีอายุได้ 91 ปี ในคำประกาศไว้อาลัยอย่างเป็นทางการได้กล่าวถึงเขาว่าเป็น "นักปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพผู้ยิ่งใหญ่ รัฐบุรุษ นักยุทธศาสตร์การทหาร มาร์กซิสต์ผู้เคร่งครัด ผู้นำที่โดดเด่นของพรรค ประเทศ และกองทัพประชาชน" ในปี ค.ศ. 2001 อัฐืหยางและภรรยาได้ถูกนำไปบรรจุไว้ที่สุสานที่ตั้งชื่อตามเขาในเขตถงหนาน เมืองฉงชิ่ง[7][11]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในปี ค.ศ. 1929 เขาได้สมรสกับนางหลี่ ปั๋วจ้าว ซึ่งเป็นสตรีผู้เข้าร่วมการเดินทัพทางไกลร่วมกับหยาง ทั้งสองมีบุตรชายด้วยกันสามคน[12]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "族谱帮大忙,确定杨尚昆诞辰日为8月3日--中国共产党新闻--中国共产党新闻-人民网". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 May 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Yang Shangkun (Yang Shang-kun) (1907-1998) in China at war: an Encyclopedia, edited by Xiaobing Li, pp. 512–514, ABC-CLIO, 2012.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Eckholm 1
- ↑ "Obituary: Yang Shangkun". The Independent. 15 September 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2022.
- ↑ 5.0 5.1 Xinhua
- ↑ Domes 113
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Eckholm 1–2
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Eckholm 2
- ↑ Teiwes 93–94
- ↑ (Chinese) 镇压六四主将、党内斗争牺牲品杨白冰病逝 Voice of America 2013-01-17
- ↑ "看完杨尚昆墓,再看看华国锋陵园,同样雄伟壮观,意义却各不相同". The Paper. 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
- ↑ "李伯钊(1911—1985)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2017. สืบค้นเมื่อ 15 September 2017.